ใครที่ยังสงสัยว่าห่วงโซ่อาหารคืออะไร? สามารถเข้ามาศึกษาจากบทความที่เรานำมาฝากก่อนได้ เราได้รวมเรื่องราวที่น่ารู้ทุกอย่างมาให้ เริ่มต้นตั้งแต่ห่วงโซ่อาหารคืออะไร พร้อมตัวอย่าง การแบ่งแยกห่วงโซ่อาหารในแต่ละแบบ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาที่มากยิ่งขึ้น หากศึกษาในห้องเรียนแล้วยังไม่เข้าใจ ลองมาอ่านเกร็ดความรู้ในประเด็นต่าง ๆ จากบทความของเรา อาจช่วยให้คุณรู้จักและเข้าใจในเรื่องห่วงโซ่อาหารมากยิ่งขึ้นก็ได้ หากอยากรู้ว่ามีเกร็ดความรู้อะไรมาฝากบ้างเกี่ยวกับเรื่องห่วงโซ่อาหารก็ไปติดตามในบทความของเราได้เลย
ทำความรู้จักห่วงโซ่อาหารคืออะไร? พร้อมเจาะลึกทุกประเด็นน่ารู้
ห่วงโซ่อาหารคือ การถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศน์ โดยจะมีการจัดลำดับห่วงโซ่อาหารเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ผลิต ซึ่งจะถูกกินและส่งต่อไปสู่ผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคบางอย่างก็เป็นผู้ผลิตได้เช่นเดียวกัน การถ่ายโอนพลังงานจากสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ห่วงโซ่อาหาร” ซึ่งจะเป็นแบบที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก หรืออธิบายให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ก็คือ ห่วงโซ่อาหารคือการกินกันแบบทอด ๆ ใครที่สงสัยว่าห่วงโซ่อาหารมีกี่ระดับ เดี๋ยวเราจะพาไปเจาะลึกห่วงโซ่อาหารในระดับต่าง ๆ กันว่ามีอะไรบ้าง
- ผู้ผลิต
ผู้ผลิต (Producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นมาเองได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชชนิดต่าง ๆ เช่น สาหร่ายสีเขียมแกมน้ำเงิน ต้นส้ม ต้นถั่ว พืชเหล่านี้จะสามารถสร้างอาหารขึ้นมาเองได้จากการสังเคราะห์แสงอาทิตย์ และทำการผลิตน้ำตาลมากักเก็บเอาไว้
- ผู้บริโภค
ผู้บริโภค (Consumer) การแบ่งผู้บริโภคจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร ซึ่งเรียกว่า Herbivore, สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร ซึ่งเรียกว่า Carnivore และสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเรียกว่า Omnivore โดยเจาะลึกรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
- สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร หรือ Herbivore เป็นผู้บริโภคอันดับที่ 1 ที่กินผู้ผลิต แต่ก็มักจะเป็นเหยื่อที่ถูกผู้บริโภคลำดับอื่นกินต่อ เช่น กวาง ปลา นก ม้า หนู เป็นต้น
- สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร หรือ Carnivore สำหรับสิ่งมีชีวิตประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์นักล่า เช่น เสือ สิงโต งู หมาป่า ฉลาม เต่าทะเล และไฮยีน่า
- สิ่งมีชีวิตที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ หรือ Omnivore ถ้าอธิบายให้เห็นภาพชัดที่สุดก็คือ มนุษย์
ถัดมาเราจะพากันไปดูกันว่าห่วงโซ่อาหารมีกี่แบบเพื่อให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น โดยห่วงโซ่อาหารจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 แบบดังต่อไปนี้
แบบที่ 1 ห่วงโซ่อาหารแบบผู้ล่า ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การเป็นผู้ผลิตแล้วตามด้วยผู้บริโภคในลำดับถัดไป ซึ่งจะเรียกว่าเป็นผู้ล่ากับเหยื่อ
แบบที่ 2 ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต สำหรับแบบนี้จะใช้เรียกว่าเป็นผู้ถูกอาศัยกับปรสิต และส่งต่อไปยังปรสิตที่มีอันดับที่สูงกว่า
แบบที่ 3 ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ แบบนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่ซากพืช ซากสัตว์ หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต ถูกส่งต่อไปยังผู้ที่บริโภคสัตว์
แบบที่ 4 ห่วงโซ่อาหารแบบผสม คือ การถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ประเภททั้งแบบที่เป็นผู้ล่าและแบบที่เป็นปรสิต
ตัวอย่างของห่วงโซ่อาหาร
สำหรับใครที่นึกภาพไม่ออกว่าห่วงโซ่อาหารเป็นแบบไหน เราก็มีตัวอย่างของห่วงโซ่อาหารมาฝากด้วย โดยจะเริ่มต้นจากผู้ผลิต คือ ข้าวโพด ถัดมาคือ หนู ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชและนับว่าเป็นผู้บริโภคอันดับที่ 1 ซึ่งกินข้าวโพดเข้าไป ตามด้วยงู ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกันและนับเป็นผู้บริโภคอันดับที่ 2 ต่อมาคือ นกฮูก ที่เป็นสัตว์ซึ่งกินสัตว์ด้วยกันและถูกนับเป็นผู้บริโภคอันดับ 3 โดยงูหรือนกฮูกอาจจะเป็นพลังงานให้ผู้ย่อยสลายเพราะอาจตายด้วยสาเหตุอื่นนอกจากการถูกกินสัตว์ด้วยกันกินก็ได้
เปรียบเทียบความต่างระหว่างห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร
ห่วงโซ่อาหารคืออะไรทุกคนคงพอที่จะรู้กันแล้ว แต่อาจไม่รู้ว่าระหว่างห่วงโซ่อาหารกับสายใยอาหารมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราต้องอธิบายก่อนว่าหากเป็นความสัมพันธ์แบบที่ผู้บริโภคสามารถเลือกกินได้มากกว่า 1 อย่าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับระหว่าง 2 ห่วงโซ่อาหารเป็นต้นไปจะเรียกว่าเป็นสายใยอาหาร ซึ่งลักษณะความเกี่ยวโยงกันจะเป็นรูปใยแมงมุม หนึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะกินแบบไหน เช่น กระต่ายเลือกได้ว่าจะกินหญ้าหรือว่าจะกินแครอท
ตัวอย่างของสายใยอาหาร
สำหรับสายใยอาหารจะมีห่วงโซ่อาหารที่แตกต่างจากปกติ เพราะมีหลายห่วงโซ่อาหารที่เกี่ยวเนื่องกัน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกกินมากกว่า 1 อย่าง เช่น กระต่ายสามารถกินหญ้าหรือกินแครอทก็ได้ หรือ นกฮูกก็ไม่จำเป็นต้องเลือกกินแค่หนูเท่านั้น แต่สามารถกินได้ทั้งหนูและตั๊กแตน จึงแสดงให้เห็นว่าตามสายในอาหารไม่ได้จำกัดให้สิ่งมีชีวิตสามารถเลือกกินได้เพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้น
เรื่องของห่วงโซ่อาหารไม่ใช่เรื่องที่ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ที่บางคนไม่เข้าใจว่าห่วงโซ่อาหารคืออะไร เพราะอาจมีบางตำราที่อธิบายด้วยคำศัพท์ที่ค่อนข้างเฉพาะ จนทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องยากได้ สิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารสามารถเป็นหลายอย่างในตัวเดียวได้ เพียงแค่อยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกันเท่านั้น อย่างเช่น งู ที่เป็นได้ทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า หากคุณทำความเข้าใจจากตัวอย่างที่เราได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารมากขึ้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://th.theasianparent.com/food-chain-and-food-web
- https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68140/-blo-scibio-sci-
- https://www.pangpond.com/ห่วงโซ่อาหาร
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://mammothmemory.net/images/user/base/uncategorised/1.21.78 Food chain diagram.jpg
- https://static.vecteezy.com/system/resources/previews/002/384/316/non_2x/diagram-showing-food-chain-free-vector.jpg
- https://www.vedantu.com/question-sets/26172bb1-93e4-4168-a413-5c90d9873e926032331049118992776.png