สำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายถือเป็นหนึ่งในมรดกของชาติไทยที่มีความล้ำค่าและจำเป็นจะต้องรักษาเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาตลอดจนวิถีชีวิตของคนในอดีตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราทุกคนจะสามารถเห็นหลักสูตรวิชาที่นำเอาสุภาษิตไทยมากมายเหล่านี้ไปสอนให้กับนักเรียน ซึ่งก็จะได้ประโยชน์ทั้งในด้านของการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทย ได้ซึบซับถึงพัฒนาการตลอดจนความสวยงามของภาษาไทย
ตลอดจนสอดได้เรียนรู้หลักการใช้ชีวิตซึ่งมักจะมีการแทรกข้อคิดต่าง ๆ มากมายผ่านประโยคสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีด้วย เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมองหาสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้กับนักเรียน ลูกหลานของตนเอง หรือต้องการที่จะศึกษาเรื่องราวความหมายอันลึกซึ้งที่ซ่อนเอาไว้ในสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายต้องห้ามพลาดบทความนี้เลยนั่นเอง
ความสำคัญของสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมาย
ประเทศไทยของเราเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่มีความงดงามล้ำค่าในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมรดกทางธรรมชาติที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก หรือจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากมายที่ถูกรักษาเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายเองก็เป็นหนึ่งในมรดกทางภูมิปัญญาที่ทำให้ประเทศไทยรวมไปถึงภาษาไทยมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากด้วยนั่นเอง โดยความสำคัญของสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายก็มีอยู่หลายด้าน เช่น
- มรดกทางภาษาที่ทรงคุณค่าของคนไทย
- เป็นแง่คิดที่สอนคนเราได้เป็นอย่างดี
- แสดงให้เห็นความล้ำค่าและภูมิปัญญาทางภาษาที่น่าภาคภูมิใจ
- เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำนวนไทยคืออะไร
ก่อนที่เราจะไปอ่านความหมายดี ๆ ของสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายมากมายที่เราได้คัดมาให้ทุกคนแบบจัดเต็มแล้วกว่า 150 ประโยค เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับความแตกต่างของสำนวนไทย สุภาษิตไทย และคำพังเพยกันก่อนเลยว่าลักษณะของประโยครวมถึงคำในแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร และมักจะนำมาใช้กันในโอกาสไหนได้บ้าง ซึ่งในหัวข้อแรกนี้เราจะมาศึกษาความหมายของสำนวนไทยกันก่อนว่าคืออะไร ซึ่งความหมายของสำนวนไทยคือถ้อยคำหรือข้อความที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ในสมัยอดีต ซึ่งก็จะมีทั้งในรูปแบบที่มีความหมายตรงตัว และในรูปแบบที่อาจจะเป็นถ้อยคำในเชิงอุปมาอุปไมยซึ่งมีความหมายเพื่อสอนใจแฝงอยู่ด้วยก็ได้
ซึ่งถ้าพิจารณากันให้จริงจังแล้วเราทุกคนก็จะสามารถเห็นจุดเด่นหลัก ๆ ของสำนวนไทยกันได้เลยว่ามันมักจะเป็นกลุ่มคำที่ไม่ได้ยาวมากนัก ทั้งยังไม่ได้มีความสละสลวยเหมือนกับกาพย์กลอนต่าง ๆ แต่มักจะเป็นกลุ่มคำซึ่งมีความคมคายแยบยล และนิยมใช้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาเพื่ออธิบายตลอดจนใช้สิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันมาเพื่อสอนใจคนทั่วไปแทน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของสัตว์ พฤติกรรมของมนุษย์ หรือธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการใช้สำนวนไทยจึงกล่าวได้ว่ามันเป็นกลุ่มคำที่ทำให้เราจินตนาการไปถึงความเป็นไปของสิ่งนั้น ๆ และตีความหมายของคำให้ออกมาเป็นความหมายที่แผงเอาไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจเลยทีเดียว
สุภาษิตคืออะไร
หลังจากที่เราได้รู้จักกันไปแล้วว่าสำนวนไทยคืออะไร ในหัวข้อต่อมานี้เราจะมาทำความรู้จักกับสุภาษิตไทยพร้อมแนะนำสุภาษิตพร้อมความหมายที่น่าสนใจให้ทุกคนได้อ่านกันด้วย โดยสุภาษิตไทยตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิตยสภานั้นมีความหมายว่า คำกล่าวที่เป็นคติคำสอนให้ประพฤติหรือไม่ประพฤติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลักษณะของสุภาษิตไทยมักจะเป็นถ้อยคำที่ต้องตีความเพื่อเรียนรู้ความหมายรวมถึงคำสอนที่แท้จริงซึ่งซ่อนอยู่ในถ้อยคำเหล่านั้น แต่ก็จะมีสุภาษิตบางคำที่สามารถเข้าใจสารที่ซ่อนเอาไว้ได้ทันทีโดยไม่ต้องตีความนั่นเอง เป็นสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายที่คนส่วนใหญ่นิยมหยิบยกเอามาใช้เพื่อสอนให้กับเด็ก ๆ รวมถึงมีการนำเอาสุภาษิตมาใช้เป็น ‘สุภาษิตสอนหญิง’ เพื่อสอนคนเรามาตั้งแต่ในอดีต
คำพังเพยคืออะไร
คำพังเพยตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้มีการอธิบายเอาไว้ว่ามันคือถ้อยคำที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อชวนให้คิดตาม มักจะถูกนำเอามาใช้เพื่อสร้างอรรถรสตลอดจนเพิ่มความเข้าใจในบริบทที่กำลังสนทนากันให้ดีมากยิ่งขึ้น มีการคาดเดาว่าคำพังเพยนั้นอาจจะเป็นคำติดปากของคนในสมัยโบราณที่นำเอามาพูดเปรียบเปรยหรือใช้เป็นคติสอนใจแบบง่าย ๆ ของคนในสมัยนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วคำพังเพยจะเป็นคำที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่ายแต่แฝงข้อคิดที่เจ็บแสบเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมาย
- โกรธเป็นไฟไหม้ป่า หมายถึง โกรธมาก รู้สึกโมโหจนลุกลามใหญ่โต
- กินน้ำใต้ศอก หมายถึง จําต้องยอมเป็นรองคนอื่น (มักถูกนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องยอมถูกเอาเปรียบ หรือใช้ในกรณีที่ต้องแอบไปเป็นชู้กับคนอื่น)
- กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- กระดังงาลนไฟ หมายถึง การเปรียบเทียบว่าผู้หญิงซึ่งผ่านการแต่งงานมาก่อนแล้ว ย่อมมีประสบการณ์ในการสร้างครอบครัวหรือดูแลสามี
- กินปูนร้อนท้อง หมายถึง คนที่ทำความผิดและแสดงอาการพิรุธออกมา
- กระต่ายตื่นตูม หมายถึง ตื่นตกใจกับสถานการณ์หรือสิ่งที่รับรู้มาในทันที โดยไม่ได้มีการพิจารณาเหตุการณ์ให้ถี่ถ้วนก่อน
- กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง คนที่ได้รับลาภยศ อำนาจ หรือเงินทองเพียงเล็กน้อยก็คิดหยิ่งผยองวางตนเหนือคนอื่น
- กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานในความคิดของตน ยืนยันหนักแน่นว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ได้ทำความผิด
- กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ผู้ชายที่ชื่นชอบหรือหมายปองหญิงสาวที่มีฐานะตลอดจนสูงศักดิ์กว่าตนเอง
- กิ่งทองใบหยก หมายถึง คู่แต่งงานหรือคู่สามีภรรยาที่มีความเหมาะสมกันเป็นอย่างมาก
- ไกลปืนเที่ยง หมายถึง ห่างไกลความเจริญ
- ไก่ได้พลอย หมายถึง ไม่รู้คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่
- กระโถนท้องพระโรง หมายถึง คนที่ต้องรับผิดหรือแบกรับความผิดทุกอย่างที่เกิดขึ้น
- แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง ชอบนำพาตนเองให้ต้องไปเจอกับความเดือดร้อน หรือยุ่งเรื่องของคนอื่นจนทำให้ตนเองต้องเดือดร้อน
- กินน้ำพริกถ้วยเก่า หมายถึง ชื่นชอบที่จะอยู่กับสิ่งเดิม ๆ มักใช้ในบริบทที่อธิบายถึงสามีที่ชื่นชอบจะอยู่กับภรรยาคนเดิม
- กินข้าวหม้อเดียวกัน หมายถึง คนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน เติบโตมาด้วยกัน หรือเป็นครอบครัวเดียวกัน
- ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ หมายถึง ต่างฝ่ายต่างล่วงรู้ความลับของกันและกัน
- กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง คนที่เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เดิมทีมักจะใช้เป็นสำนวนไทยในเชิงบวก เพื่ออธิบายถึงบุคคลใดก็ตามที่ปรับปรุงตนเองให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น
- กินน้ำเห็นปลิง หมายถึง รู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกตะขิดตะขวงใจเมื่อต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เห็นแล้วว่ามีสิ่งผิดปกติ
- ใกล้เกลือกินด่าง หมายถึง คนที่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แต่มักจะขวนขวายหาสิ่งที่ไม่มีคุณค่ามาแทนอย่างน่าเสียดาย
- กงเกวียนกำเกวียน หมายถึง การกระทำใดที่ผู้กระทำได้ทำมา ย่อมส่งผลต่อบุคคลผู้นั้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
- กำขี้ดีกว่ากำตด หมายถึง อย่างน้อยได้สิ่งใดกลับมาบ้างก็ดีกว่าไม่ได้อะไรกลับมาเลย
- กรวดน้ำคว่ำขัน หมายถึง ตัดขาด และจะไม่ติดต่อคบค้าสมาคมด้วยอีกแล้ว มักใช้เมื่อความสัมพันธ์แตกหักหรือไม่ต้องการจะพบกับอีกฝ่ายอย่างเด็ดขาด
- เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง การเก็บเลกผสมน้อย หรือหมั่นทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ จนประสบความสำเร็จ มักจะใช้เพื่อสอนว่าถึงแม้ว่าเบี้ยเล็กน้อยที่ตกอยู่อาจจะไม่ได้มีค่ามากมาย แต่ถ้าเก็บสะสมเอาไว้ด้วยความพยายามมันก็สามารถสร้างมูลค่าได้เช่นกัน
- กระเชอก้นรั่ว หมายถึง เป็นสำนวนไทยที่เปรียบเทียนถึงสิ่งที่ไม่สามารถกักเก็บอะไรไว้ได้เลย มักจะใช้เพื่อเปรียบเทียบคนที่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่รู้คุณค่า
- กำแพงมีหู ประตูมีช่อง หมายถึง ไม่มีความลับใดในโลก ดังนั้นการจะพูดหรือกระทำอะไรจึงจำเป็นจะต้องระมัดระวังอยู่เสมอ
- ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วส่งผลกระทบต่อตัวเอง มักจะใช้ในบริบทที่เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อตัวเอง
- ขนทรายเข้าวัด หมายถึง เป็นประเพณีที่นิยมทำในวันสงกรานต์ เพื่อประโยชน์ทางด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อเราเดินทางเข้าไปในวัดก็มักจะนำเอาเศษทรายติดเท้าออกมาด้วย ดังนั้นในปัจจุบันจึงสามารถนำเอามาใช้เพื่อสื่อถึงการตอบแทนบุญคุณได้ด้วย
- ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละสิ่งหนึ่งเพื่อรักษาสิ่งหนึ่งเอาไว้
- ขวานฝ่าซาก หมายถึง พูดจาหรือมีการกระทำตรง ๆ ไม่อ่อนน้อม ไม่เห็นใจใคร
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปมาก แต่ได้ผลประโยชน์กลับมาเพียงเล็กน้อย ไม่คุ้มค่า
- เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง มีความมานะบากบั่น และอดทนพยายามทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้ว่ามันจะยากลำบาก
- เข้าตามตรอก ออกตามประตู หมายถึง ทำตามขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่นอกลู่นอกทาง
- ขมิ้นกับปูน หมายถึง ไม่ถูกกันหรือเข้ากันไม่ได้ มักจะใช้เปรียบเทียบบุคคลที่มักจะมีการทะเลาะกันบ่อย ๆ หรือบุคคลที่ไม่ค่อยจะถูกกัน
- ขุดบ่อล่อปลา หมายถึง วางแผนหรือวางกลอุบายเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการ เป็นการกระทำที่หวังผลประโยชน์จากสิ่งนั้น ๆ
- เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ใช้กลอุบายหรือแสดงสิ่งที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเกรงกลัว
- ขึ้นคาน หมายถึง การเปรียบเทียบผู้หญิงที่มีอายุมากแล้วแต่ยังไม่ได้แต่งงาน ในอดีตเป็นคำที่มีความหมายในเชิงลบ แต่ในปัจจุบันผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกไม่ดีกับสำนวนไทยคำนี้กันแล้ว เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตและค่านิยมในเรื่องการแต่งงานที่ต่างออกไป
- เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอยู่
- คนหลังเขา หมายถึง คำที่ใช้เปรียบเทียบคนที่ไม่ค่อยรู้สถานการณ์ในสังคม หรือไม่ค่อยทันกระแสของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น รวมถึงคนที่ไม่ค่อยทันสมัย
- ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก หมายถึง การที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายหรือปัญหาสิ่งหนึ่งอยู่ ยังไม่ทันจะแก้ไขสถานการณ์ได้ก็เกิดมีปัญหาใหม่เข้ามาอีก
- คลื่นกระทบฝั่ง หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะจางหายไปเป็นธรรมดา
- คาหนังคาเขา หมายถึง พบคนกระทำผิดหรือพบหลักฐานอยู่ต่อหน้าอย่างชัดเจน มักจะใช้เมื่อสามารถจับผู้กระทำผิดได้อย่างอยู่หมัดแบบไม่สามารถหลบหลีกได้เลย
- คบสองหนองแหลก หมายถึง หากสิ่งไหนที่ได้เล่าสู่คนอื่นแล้ว มันย่อมไม่ใช่ความลับอีกต่อไป เพราะฉะนั้นหากมีความลับอะไรที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ก็ไม่ควรจะนำเอาไปบอกหรือเล่าให้กับใครฟัง
- คางคกขึ้นวอ หมายถึง โอ้อวด ลืมตัว
- โคมลอย หมายถึง สิ่งที่ล่องลอยไม่มีหลักแหล่ง มักจะใช้เปรียบเทียบสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์หรือหาต้นตอได้ มักจะใช้ในบริบทของ ‘ข่าวโคมลอย’ หรือเมื่อเกิดข่าวลือต่าง ๆ
- คลื่นใต้น้ำ หมายถึง ภายใต้สถานการณ์ที่ดูเงียบสงบหรือดูไม่น่าจะมีอะไรเกิดขึ้น อาจกำลังมีความวุ่นวายซ่อนอยู่ หรือมีสถานการณ์บางอย่างกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้ก็ได้
- คว่ำบาตร หมายถึง ไม่อยากคบค้าสมาคม และไม่ต้องการที่จะติดต่อ เจรจา หรือคบหาด้วย
- ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด หมายถึง การเปรียบเทียบบุคคลที่มีความรู้มากมายแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นได้เลย หรือไม่สามารถนำเอาความรู้เหล่านั้นไปสร้างประโยชน์ได้เลย
- คอหอยกับลูกกระเดือก หมายถึง คนที่มีความคิดการกระทำหรือลักษณะนิสัยที่เข้ากันได้ดีเป็นอย่างมาก
- ฆ่าช้างเอางา หมายถึง ลงทุนทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่ได้ประโยชน์กลับมาไม่คุ้มค่า
- งมเข็มในมหาสมุทร หมายถึง ตามหาสิ่งที่ยากและมีโอกาสสำเร็จน้อย
- ใจปลาซิว หมายถึง คนที่ไม่มีความกล้าหาญ เป็นคนหวาดกลัว หวาดระแวง ใจเสาะ และมักจะกลัวอะไรไปก่อนทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นยังไม่ทันจะเกิดขึ้น
- จมปลัก หมายถึง ติดอยู่ที่เดิมหรือความคิดเดิม ๆ ไม่สามารถก้าวหน้าไปยังจุดที่ดีกว่าเดิมได้เลย
- เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หรือไม่ได้มีสังกัดอย่างแน่นอน
- จับเสือมือเปล่า หมายถึง คิดกระทำการใหญ่หรือหวังผลประโยชน์ที่มากโดยไม่คิดจะลงทุนอะไรเลย
- จับแพะชนแกะ หมายถึง ทำอะไรด้วยความไม่ใส่ใจ ทำแบบขอไปที
- โจรห้าร้อย หมายถึง คำที่ใช้เรียกมิจฉาชีพหรือโจรผู้ร้าย
- จับงูข้างหาง หมายถึง คนที่ทำสิ่งอันตราย
- ชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง คนที่นำพาสิ่งที่อันตรายหรือนำพาความเดือนร้อนมายังบ้านเมืองหรือองค์กรของตนเอง
- ชักใบให้เรือเสีย หมายถึง พูดหรือทำให้เสียบรรยากาศ เสียการใหญ่
- ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายถึง ขัดสน มีรายได้ไม่พอใช้จ่าย
- เชื้อไม่ทิ้งแถว หมายถึง มีความเหมือนกับบุคคลผู้เป็นเชื้อสาย หรือเหมือนกับคนในครอบครัวไม่ผิดเพี้ยน
- ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด หมายถึง ความผิดที่ไม่สามารถปกปิดได้ทั้งหมด
- ชีพจรลงเท้า หมายถึง คนใดคนหนึ่งที่มีโชคในการเดินทาง มักจะมีการเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ไม่ค่อยได้อยู่กับที่สักเท่าไหร่
- ชั่วเคี้ยวหมากจืด หมายถึง การเปรียบเทียบระยะเวลาโดยอ้างอิงจากการเคี้ยวหมากของคนในสมัยโบราณ มักใช้เพื่อบอกระยะเวลาโดยประมาณ
- ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อมหรือกาเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ มาเพื่อให้คนอื่นคล้อยตามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้
- ชุบมือเปิบ หมายถึง บุคคลที่ชอบฉกฉวยเอาประโยชน์จากคนอื่นไปโดยที่ไม่ได้ลงมือทำ หรือไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย
- ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน หมายถึง คนซื่อสัตย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง แต่คนคดโกงไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหนย่อมต้องเกิดความผิดพลาด เดือดร้อน
- เด็ดบัวไม่ไว้ใย หมายถึง ตัดขาดกันโดยไม่ลังเล ไม่เหลือความอาลัยอาวรณ์ต่อกันอีก
- ดีแต่เปลือก หมายถึง มีดีแค่ภายนอก แต่เมื่อพิจารณาไปถึงภายในแล้วกลับไม่ได้มีอะไรที่ดีหรือน่าสนใจเลย มักใช้เพื่อเปรียบเทียบคนที่ดูดีแต่นิสัยใจคอกลับตรงกันข้าม
- ได้คืบจะเอาศอก หมายถึง ได้สิ่งหนึ่งมาแล้วแต่ก็ยังไม่พอใจ อยากจะได้เพิ่มมากขึ้นอีก เป็นคำที่ค่อนข้างมีความหมายในเชิงลบเพื่อเปรียบเทียบคนที่ไม่รู้จักพอ
- ได้ทีขี่แพะไล่ หมายถึง การกระทำที่ไปเยาะเย้ย หรือซ้ำเติมคนอื่นที่ทำพลาด
- ดินพอกหางหมู หมายถึง การสะสมพอกพูนหรือดองงานเอาไว้ไม่ยอมทำ จนทำให้ภาระงานถมสูงขึ้นจนยากที่จะสะสางให้สำเร็จ
- ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขอสนใจอีกต่อไป
- ตืเรือทั้งโกลน หมายถึง การติเตียนหรือวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จหรือยังไม่ทันจะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง
- เตี้ยอุ้มค่อม หมายถึง คนที่แค่ดูแลตัวเองก็ลำบากแล้ว แต่ยังคิดจะเลี้ยงดูหรือให้ความช่วยเหลือดูแลคนอื่นอีก
- ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หมายถึง ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์อันตรายหรือยากลำบากแค่ไหน ก็ไม่สามารถสร้างความเสียหายต่อตนเองได้ มักจะใช้เพื่อสื่อถึงคนที่มีความโชคดี หรือคนประพฤติดีซึ่งได้รับความคุ้มครองให้รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
- ตบมือข้างเดียวไม่ดัง หมายถึง การทำอะไรอยู่ฝ่ายเดียวย่อมไม่เกิดผล หรือไม่ประสบความสำเร็จ
- ตกกะไดพลอยโจน หมายถึง จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่ตั้งใจ
- ถังแตก หมายถึง ไม่มีเงิน ขัดสน
- ถอนหงอก หมายถึง ไม่ให้ความเคารพหรือไม่ให้เกียรติผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า
- ถอดเขี้ยวเล็บ หมายถึง ละวางอำนาจ ปล่อยวาง
- ถอยหลังเข้าคลอง หมายถึง ไม่ก้าวหน้า กระทำแต่สิ่งที่ล้าหลัง
- ถึงพริกถึงขิง หมายถึง เผ็ดร้อน ดุเดือด รุนแรง
- ที่เท่าแมวดิ้นตาย หมายถึง การเปรียบเทียบความกว้างของที่ดินว่ามีเพียงเล็กน้อย
- น้ำตาตกใน หมายถึง เศร้าเสียใจแต่ไม่แสดงอาการออกมาให้ใครรู้
- นกไร้ไม้โหด หมายถึง การเปรียบเทียบบุคคลที่หมดสิ้นซึ่งบุญวาสนา ไม่สามารถเป็นที่พึ่งหรือให้ความช่วยเหลือใครได้อีกแล้ว
- น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง รายรับที่มีเข้ามาเรื่อย ๆ
- น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง เมื่อโอกาสมาถึงแล้ว อย่ารั้งรอที่จะรีบฉวยโอกาสนั้นเอาไว้
- บ้าหอบฟาง หมายถึง อาการคลั่งหรือชื่นชอบในทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของต่าง ๆ อยากจะครอบครองหรือถือครองเอาไว้ทั้งหมด
- น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง การพูดเรื่อยเปื่อย แต่หาสาระอะไรไม่ได้
- ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำดีโดยที่ไม่มีใครเห็น
- บอกเล่าเก้าสิบ หมายถึง การเล่าหรือนำเรื่องราวไปบอกต่อให้คนอื่นรู้
- ปลูกเรือนแต่พอตัว หมายถึง การจะทำสิ่งใดจะต้องมีการประมาณตนเองให้พอดี ไม่ควรทำอะไรให้เกินตัว
- ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง คนที่มีอำนาจหรือมีตำแหน่งสูงกว่า แต่กลับรังแกคนที่ด้อยกว่า
- ปากว่าตาขยิบ หมายถึง ปากกับใจไม่ตรงกัน
- ผ้าขี้ริ้วห่อทอง หมายถึง ภายนอกอาจจะดูไม่ดีหรือไร้ค่า แต่ในความเป็นจริงซ่อนคุณค่ารวมถึงข้อดีเอาไว้มากมาย
- ผีเข้าผีออก หมายถึง คนที่มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่แน่นอน
- ฝนทั่งให้เป็นเข็ม หมายถึง การใช้ความอดทนกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ
- พูดเป็นต่อยหอย หมายถึง พูดมาก พูดไม่หยุด
- แพะรับบาป หมายถึง คนที่ไม่ได้มีความผิดแต่ต้องมารับผิดแทน
- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง การเปรียบเทียบถึงสถานการณ์ที่ต่อให้พูดอะไรออกไป ก็ไม่ได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้นมา
- ฟังหูไว้หู หมายถึง การพิจารณาในทุกสิ่งที่ได้ฟังมา ไม่ควรเชื่อในถ้อยคำเหล่านั้นจนขาดการไตร่ตรอง
- ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด หมายถึง ฟังไม่ได้ความหรือยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟัว แต่ก็นำเอาไปบอกต่อหรือตีความไปเองเสียก่อนแล้ว
- ไม่ดูตาม้าตาเรือ หมายถึง กระทำการสิ่งใดด้วยความไม่ระมัดระวัง
- มัดมือชก หมายถึง การบีบบังคับให้อีกฝ่ายตกอยู่ในสถานการณ์จำยอม
- โยนกลอง หมายถึง ปัดความรับผิดชอบ โยนความรับชอบของตนเองไปให้คนอื่น
- ยกตนข่มท่าน หมายถึง แสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราเหนือกว่า
- ยกภูเขาออกจากอก หมายถึง โล่งอก
- รวบหัวรวบหาง หมายถึง ทำให้สำเร็จด้วยความรวดเร็ว
- ล่มหัวจมท้าย หมายถึง ร่วมชะตากรรมเดียวกัน กลายเป็นพวกเดียวกัน
- ลางเนื้อชอบลางยา หมายถึง สิ่งของเดียวกันอาจจะเหมาะกับคนหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง
- เลือดข้นกว่าน้ำ หมายถึง คนในครอบครัวย่อมสำคัญกว่าคนนอก
- วันพระไม่มีหนเดียว หมายถึง โอกาสในการประสบความสำเร็จหรือกระทำการใด ๆ ก็ตามถึงจะไม่สำเร็จวันนี้แต่ก็ยังคงมีโอกาสได้อีก
- เส้นผมบังภูเขา หมายถึง มองข้ามเรื่องง่าย ๆ ไป
- สาวไส้ให้กากิน หมายถึง เอาความลับหรือผลประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้องของตนเอง ไปบอกกับอีกฝ่ายหนึ่ง
- สิบเบี้ยใกล้มือ หมายถึง สิ่งที่อาจจะมีค่าน้อย แต่เป็นสิ่งที่ได้มาโดยง่าย
- สุกเอาเผากิน หมายถึง ทำสิ่งใดให้พอเสร็จไปแบบลวก ๆ
- สอนจระเข้ว่ายน้ำ หมายถึง การพยายามไปสอนในสิ่งที่ผู้อื่นรู้หรือเชี่ยวชาญอยู่แล้ว
- หนีเสือปะจระเข้ หมายถึง สถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับอันตรายหลายอย่างพร้อม ๆ กัน
- หว่านพืชใดได้ผลอย่างนั้น หมายถึง ทำสิ่งใดก็มักจะได้ผลตามนั้น
- หนามยอกเอาหนามบ่ง หมายถึง เอาคืนหรือตอบโต้ด้วยวิธีการเดียวกัน
- หอกข้างแคร่ หมายถึง คนใกล้ตัวที่จะคอยสร้างความเดือดร้อน หรือขัดขวางตนเองอยู่เสมอ
- หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว หมายถึง การประชดอีกฝ่ายด้วยสิ่งที่อีกฝ่ายไม่รู้สึกได้ประโยชน์
- หมาเห่าใบตองแห้ง หมายถึง คนที่โอ้อวดตนเอง แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงคนที่ขี้ขลาด
- หัวแก้วหัวแหวน หมายถึง มีความรักใคร่เอ็นดูมาก
- เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ หมายถึง คนที่ไม่มีความจริงจัง ไม่ว่าทำสิ่งใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ
- อาบน้ำร้อนมาก่อน หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน
- เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึง การไปต่อสู้หรือเผชิญหน้ากับผู้ที่มีอำนาจมากกว่าตนเอง
- เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง ทำเป็นไม่รับรู้ ไม่สนใจ
ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของสำนวนไทยสุภาษิตคำพังเพยพร้อมความหมายที่เราได้คัดมาให้ทุกคนได้มาทำความรู้จักกัน ซึ่งในความเป็นจริงยังคงมีสำนวนไทย สุภาษิตพร้อมความหมาย ตลอดจนคำพังเพยความหมายดี ๆ ที่ช่วยสร้างประโยชน์ และใช้เพื่อสอนใจให้กับตนเองและเหล่าเด็กน้อยในวัยกำลังเรียนรู้ได้อีกมากมาย ถ้าใครที่สนจเรื่องราวดี ๆ ในรูปแบบนี้ก็อย่าลืมติดตามบทความอีกมากมายในเว็บไซต์ของเรากันด้วยนะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2025843
- http://legacy.orst.go.th/?knowledges=สุภาษิต-๒๕-สิงหาคม-๒๕๕๐
- file:///C:/Users/seo/Downloads/สำนวนไทย.pdf