เชื่อว่าหลายคนเองก็คงจะเคยมีอาการที่เรียกว่า ‘ฟันคุด’ กันมาแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าเสียงลือเสียงเล่าอ้างในเรื่องของความน่ากลัวของลักษณะฟันคุดนั้นก็ดูจะแตกออกเป็นสองฝั่งอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นการบอกว่าฟันคุดนั้นเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะกว่าจะรักษาได้แต่ละครั้งนั้นจะต้องทนกับความเจ็บปวดจากบาดแผล และอาจจะทำให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตไปอีกสักระยะหนึ่งเลย ในขณะที่บางคนก็บอกว่าการรักษาฟันคุดนั้นเป็นเรื่องชิล ๆ รักษาเสร็จก็ทานยาแก้ปวดไม่นานก็หายแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้นหลายคนเองก็อาจจะยังไม่เคยเป็นฟันคุดมาก่อน ทำให้เกิดการถกเถียงกันมาตลอดว่าแท้จริงแล้วฟันคุดนั้นคืออะไรกันแน่และมันเป็นสิ่งที่น่ากลัวจริงหรือไม่ รวมไปถึงคำถามจากคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าฟันคุดมีทุกคนไหม ดังนั้นเพื่อเป็นการไขข้อข้องใจให้กับทุกคน วันนี้เราจึงนำเอาสาระความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวฟันคุดมาแบ่งกันให้ทุกคนได้อ่าน พร้อมบอกวิธีการดูแลตัวเองหลังจากเป็นฟันคุดกันด้วย เพราะคงไม่มีใครสามารถการันตีได้เลยว่าวันหนึ่งคุณเองจะไม่ได้กลายมาเป็นคนที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยอาการฟันคุดนั่นเอง
ฟันคุดคืออะไร
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าฟันคุดคืออะไร เราจะมาตอบคำถามให้ทุกคนได้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย ๆ ซึ่งฟันคุดหรือ Impacted Tooth, Wisdom Tooth ก็เป็นหนึ่งในฟันที่สามารถขึ้นได้ในช่องปากของเราโดยปกติทั่วไป จึงไม่แปลกที่สุดท้ายแล้วอาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าลักษณะของฟันที่เกิดขึ้นมานั้นคือฟันปกติหรือฟันคุด จนเกิดการถกเถียงกันต่อมาว่าฟันคุดมีทุกคนไหม
โดยรูปแบบของฟันคุดนั้นอาจจะมีได้ทั้งในแบบที่ดูเหมือนฟันปกติ ฟันคุดที่มีความเอียงหรือฝังตัวอยู่ในขากรรไกรก็ได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่แล้วฟันคุดจะเกิดขึ้นมากสุดบริเวณด้านในสุดของช่องปาก หรือบริเวณฟันกรามทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งไม่เพียงพอจะให้ฟันคุดแทงตัวขึ้นมาได้ และหากต้องการจะบอกว่าฟันคุดขึ้นตอนอายุเท่าไหร่ก็สามารถตอบได้เลยว่าโดยปกติแล้วฟันในลักษณะนี้จะสามารถเกิดขึ้นมาได้เมื่ออายุประมาณ 16-25 ปี นอกจากนั้นเรายังสามารถจำแนกลักษณะของฟันคุดที่เกิดได้ทั่วไป ดังนี้
-
ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม (Soft Tissue Impaction)
สำหรับลักษณะของฟันคุดในลักษณะแรกเรียกได้ว่าเป็นฟันคุดแบบไหนไม่ต้องผ่าเนื่องจากยังพอสามารถรักษาด้วยวิธีการถอนออกมาได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นมันจึงลักษณะของฟันคุดที่ทำให้ไม่ต้องใช้เวลาในการรักษาบาดแผลนาน และสามารถใช้ชีวิตได้ปกติหลังถอนฟัน โดยฟันคุดประเภทนี้ไม่ได้ฝังตัวอยู่ในขากรรไกร แต่ยังคงแตกต่างจากฟันปกติทั่วไปเนื่องจากยังไม่สามารถโผล่ทะลุเหงือกขึ้นมาได้นั่นเอง
-
ฟันคุดที่อยู่ภายใต้กระดูกขากรรไกร (Bony impaction)
และสำหรับลักษณะของฟันคุดในลักษณะต่อมาก็คือฟันคุดที่ฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกร โดยจะสามารถแบ่งออกเป็นฟันคุดซึ่งมีบางส่วนฝังตัวอยู่ในกระดูก (Partial Bony Impaction) และฟันคุดที่ฝังตัวอยู่ภายใต้กระดูกทั้งซี่ (Complete Bone Impaction) ซึ่งฟันคุดแบบนี้จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้นเนื่องจากชิ้นส่วนของฟันยังไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาได้จึงไม่สามารถถอนได้นั่นเอง
โดยการผ่าตัดฟันคุดหรือ Surgical Removal Of Impacted Tooth จัดได้ว่าเป็นวิธีการรักษาด้วยการ ‘ผ่าตัดเล็ก’ ซึ่งจะต้องมีการเอ็กซเรย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ประสบปัญหาของการเป็นฟันคุดแล้วจะได้รับการผ่าตัดทุกคน อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าฟันคุดก็มีหลายลักษณะทั้งในรูปแบบที่ถอนได้และถอนไม่ได้นั่นเอง และโดยส่วนมากผู้ที่จะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจะต้องประคบเย็นบริเวณแก้มใน 48 ชั่วโมงแรกของการผ่าตัด และไม่ควรบ้วนน้ำลายเนื่องจากจะทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
ฟันคุดมีทุกคนไหม
หลังจากที่ทุกคนอ่านเรื่องราวของฟันคุดมาอย่างยืดยาวก็ได้เวลาไขข้อข้องใจสำหรับหลายคนว่า ‘ฟันคุดมีทุกคนไหม’ ซึ่งอย่างที่ได้รู้กันไปแล้วว่าฟันคุดเกิดมาจากการที่ฟันในบริเวณกรามด้านในสุดไม่สามารถโผล่พ้นขึ้นมาในลักษณะของฟันปกติได้ เพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่ทุกคนจะเกิดอาการของฟันคุด ในขณะเดียวกันสำหรับบางคนก็อาจจะไม่เกิดฟันคุดก็ได้เช่นเดียวกันหรืออาจจะเกิดฟันคุดแต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่ได้สร้างความเจ็บปวดจนตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคือฟันคุดนั่นเอง เนื่องจากมันเป็นปัจจัยในเรื่องของสรีระช่องปาง และการวางตัวของซี่ฟันเองที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ ไม่เพียงเท่านั้นในกลุ่มผู้คนที่เป็นฟันคุดเองก็ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนอีกว่าทุกคนจะเจอฟันคุดในลักษณะที่รุนแรงหรือไม่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าฟันคุดมีทุกคนไหมนั้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับทุกคนนั่นเอง
จะรู้ได้ไงว่ามีฟันคุด
มาต่อกันที่คำถามยอดฮิตอย่างที่คนทั่วไปอยากรู้มากที่สุดนอกเหนือจากคำถามที่ว่าฟันคุดมีทุกคนไหม นั่นก็คือ ‘จะรู้ได้ไงว่ามีฟันคุด’ โดยในความเป็นจริงลักษณะของฟันที่มีความเป้นฟันคุดในช่องปากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เว้นเสียแต่ว่าฟันนั้นจะมีลักษณะของฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม (Soft Tissue Impaction) หรือฟันคุดซึ่งมีบางส่วนฝังตัวอยู่ในกระดูก (Partial Bony Impaction) เพราะฉะนั้นการจะรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นฟันคุดหรือไม่จึงจำเป็นต้องใช้การเอกซเรย์เข้ามาช่วยนั่นเอง
แต่ในสำหรับบางท่านที่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของฟันที่ฝังตัวอยู่ในกรามด้านในก็อาจจะเริ่มเข้าไปปรึกษาทันตแพทย์ด้วยตัวเองได้เลย ไม่เพียงเท่านั้นหลายคนเองก็อาจจะไม่ได้สนใจการรักษาฟันคุด เนื่องจากในระยะเริ่มต้นมันก็ยังจะไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอะไรมากมายนัก แต่เมื่อผ่านไปนานวันเข้าก็จะเริ่มมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดฟัน มีอาการอักเสบของเหงือ แก้มบวม หรือในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นบวมและติดเชื้อได้ด้วยเลยทีเดียว
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเข้ารับการผ่าตัดฟันคุด
ในหัวข้อสุดท้ายหลังจากที่รู้ไปแล้วว่าฟันคุดมีทุกคนไหม เราจะพาทุกคนมาศึกษาและเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัดฟันคุด เนื่องจากหลายคนที่เข้ารับการรักษาอาจจะเคยเจอกับอาการปวดและอักเสบรุนแรงเพราะไม่ได้มีการดูแลตัวเองและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องมากพอ ถึงแม้ว่าการผ่าตัดฟันคุดอาจจะไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ซึ่งจะต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ตาม เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังจะเข้ารับการรักษาหรือเพิ่งจะไปผ่าตัดฟันคุดมา ก็อย่าลืมปฏิบัติตัวตามวิธีการง่าย ๆ ที่เราแนะนำให้ด้านล่างนี้ได้เลย
- หลังจากที่ทำการผ่าตัดเสร็จสิ้นทางทันตแพทย์หรือพยาบาลผู้ให้บริการจะมีการแนะนำให้ผู้เข้ารับการรักษากัดผ้าก็อซให้ ‘แน่น’ เพื่อเป็นการหยุดเลือดจากแผลผ่าตัด โดยจะมีการกำหนดเวลาเอาไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
- ในช่วงวันแรกของการผ่าตัด ภายในช่องปากจะมีเลือดออกอยู่แทบจะตลอดเวลา เพราะฉะนั้นผู้เข้ารับการรักษาจึงไม่ควรบ้วนเลือดหรือน้ำลายทิ้ง เพราะมันจะส่งผลให้เลือดไม่หยุดไหลนั่นเอง
- ในผู้เข้ารับการรักษาที่มีอาการปวดบวมค่อนข้างมาก ให้หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบาดแผล เช่น ไม่ควรแปรงฟันแรงหรือเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากแทนก็ได้
- ใช้การประคบเย็นสลับกับการประคบอุ่น
- หลังเข้ารับการรักษาจะต้องเลือกทานอาหารอ่อน และไม่ควรทานอาหารที่จะต้องใช้การเคี้ยวด้วยแรงเยอะมาก เช่น เนื้อชิ้นใหญ่, หมูกรอบ, ข้าวเหนียว, หรือหลีกเลี่ยงการเคี้ยวน้ำแข็ง
- หากมีอาการปวดมากสามารถทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์สั่งได้ ไม่ควรซื้อยามาทานด้วยตัวเอง
- สังเกตอาการของตัวเองหากเกิดหารอักเสบหรือมีไข้ขึ้นสูง ให้รีบเข้าไปพบแพทย์ในทันที
- ควรมาตัดไหมตามวันเวลาที่ทันตแพทย์ทำการนัดหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนัดหลังจากเข้ารับการรักษาประมาณ 7 – 10 วัน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/wisdom-teeth
- https://www.sikarin.com/health/dental/ฟันคุด-ไม่ผ่าได้ไหม