เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม อาจจะดูเป็นเพียงกิจกรรมสังสรรค์ที่ไม่ได้มีความสำคัญอะไรต่อองค์กรหรืออาจจะดูไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในสังคม ตลอดจนหน่วยงานมากนักในความคิดของใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วเกมที่ดูจะเหมือนเป็นแค่กิจกรรมความบันเทิง ในช่วงเวลาหนึ่งของงานนั้น มีความสำคัญในเชิงของหลักจิตวิทยาและการเข้าสังคมเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครที่เข้าสังคมไม่เก่งและอาจจะเกร็ง ๆ เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำความรู้จักหรือเป็นจุดสนใจในวงสังคม การใช้ประโยชน์จากเกมง่าย ๆ และสนุกสนานอย่างเกมนันทนาการละลายพฤติกรรม จึงเป็นอะไรที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งในบทความนี้เราได้รวบรวมเกมเพื่อการกระชับความสัมพันธ์และช่วยในการเข้าสังคมมาแนะนำให้ได้ลองนำไปเล่นตามกันดูแล้ว
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรมคืออะไร
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม หรือการทำกิจกรรมเพื่อ Ice Breaking เป็นการทำกิจกรรมหรือบทสนาที่มีความสนุกสนาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยทะลายกำแพงของแต่ละบุคคล เพื่อสามารถทำให้บุคคลเหล่านั้นปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ตัวเองได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมยังเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดี ซึ่งจะทำให้แต่ละคนแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง (กล้าแสดงออก) ผ่อนคลายความตึงเครียด และมีความสนุกไปกับกิจกรรมของสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
โดยเกมนันทนาการละลายพฤติกรรม มักจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่จะต้องมีการทำความรู้จักกันของกลุ่มคนที่อาจจะไม่มีความรู้จักหรือคุ้นชินกันมาก่อน เช่น เมื่อต้องมีการรับน้องใหม่ชั้นปีการศึกษาแรกเมื่อต้องเข้ามหาวิทยาลัย วันปฐมนิเทศพนักงานของใหม่ การไปสัมนากับทีมงานที่อาจจะไม่เคยได้ทำความรู้จักกันมาก่อน เป็นต้น ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าวที่ได้ยกตัวอย่างมานั้นย่อมจะต้องมีคนบางกลุ่มที่รู้สึกไม่สบายใจ และทำตัวไม่ถูก เพราะฉะนั้นการใช้ประโยชน์จากเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมเข้ามาทำให้บรรยากาศที่แสนอึดอัดได้ผ่อนคลายลงมากก็เป็นสิ่งที่ดี และหลายองค์กรก็ให้ความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว
นอกจากนั้นในกลุ่มคนบางกลุ่มก็ยังมีอาการกลัวสังคม หรือกลัวการเข้าสังคม ซึ่งในระยะยาวอาจจะส่งกระทบกับการปรับตัวให้เข้ากับบุคลากรคนอื่น ๆ ได้นั่นเอง โดยอาการของผู้ที่กลัวการเข้าสังคมนั้นมักจะมีลักษณะอาการประหม่ามากกว่าคนทั่วไป รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัดใจ ตลอดจนรู้สึกกังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจมีผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง
ตัวอย่างอาการที่เห็นได้ชัดมากที่สุดของคนที่กลัวการเข้าสังคมก็ได้แก่ เมื่อคนเหล่านั้นจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย ต้องมีการกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือในสถานที่ที่มีกลุ่มคนจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดอาการที่ได้กล่าวไปด้านบน โดยความรุนแรงของอาการก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคล
โดยอาจจะรุนแรงถึงขั้นใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้ด้วยนั่นเอง ดังนั้นหากใครที่กำลังประสบปัญหากับอาการดังกล่าว นอกจากมันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และสุขภาพร่างกายในทางอ้อมได้แล้ว ก็ยังสามารถส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานตลอดจนการเข้าสังคมในระยะยาวได้ด้วย เพราะฉะนั้นการใช้ประโยชน์จากเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมจึงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้บ้างไม่มากก็น้อย
ทำไมต้องใช้เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม
อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วด้านบนว่าการใช้เกมนันทนาการละลายพฤติกรรมร่วมกับการจัดกิจกรรม หรือสอดแทรกเข้ามาระหว่างการจัดงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานรับน้องใหม่ งานต้อนรับพนักงาน งานสัมนา หรือการอบรมในโอกาสตามจุดประสงค์ขององค์กรนั้น ไม่ได้เป็นเพียงการสร้างความบันเทิงเพื่อผ่อนคลายความน่าเบื่อของกิจกรรมเท่านั้น แต่มันยังสามารถช่วยให้เกิดข้อดีระหว่างการจัดกิจกรรมได้อีกหลายด้าน ตัวอย่างเช่น
ผ่อนคลายความกังวล
เนื่องจากคนในสังคมนั้นประกอบไปด้วยคนหลากหลาย ซึ่งต่างคนต่างที่มา ต่างคนต่างก็มีลักษณะนิสัยส่วนตัวที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่เมื่อเรานำคนจำนวนมากมารวมอยู่ด้วยกันแล้ว มันจะสร้างความรู้สึกที่อึดอัดใจให้กับคนในบางกลุ่มคนได้ไม่มากก็น้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการนำเอาเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมมาเล่นกัน ก็จะทำให้ทุกคนเปิดใจและผ่อนคลายมากขึ้นได้
เปิดโอกาสให้ทุกคนทำความรู้จักกันได้ง่ายขึ้น
หลายครั้งที่ทุกคนอาจจะรู้สึกว่าการเข้าไปทำความรู้จัก หรือเริ่มต้นบทสนทนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์อะไรสักอย่างกับคนแปลกหน้าก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในบางกลุ่มที่อาจจะประสบกับภาวะกลัวการเข้าสังคม ที่เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมหรือสังคมใหม่ ๆ การจะเริ่มต้นออกจากกรอบความปลอดภัยของตัวเองก็อาจจะทำให้เกิดความเครียดที่มากขึ้นได้ แต่เกมนันทนาการละลายพฤติกรรมที่สอดแทรกความสนุกสนานเอาไว้ ก็จะช่วยให้ทุกคนหลงลืมความกังวลและเพลิดเพลินไปกับเกมต่าง ๆ ได้นั่นเอง
เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย
การต้องนั่งฟังกิจกรรมหรืออบรมสัมนาใด ๆ ก็ตามเป็นเวลานาน แน่นอนว่านอกจากสมองจะเกิดอาการล้าแล้ว ก็ยังทำให้ระดับของการจดจ่อกับเนื้อหาต่าง ๆ ที่ทางองค์กรหรือผู้จัดกิจกรรมลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ จนอาจจะส่งผลให้ท้ายที่สุดแล้วสารที่ต้องการจะส่งต่อไปยังผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่บรรลุได้ดีเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นการจัดเวลาพัก หรือเวลาที่คนเหล่านั้นได้ผ่อนคลายด้วยเกมสนุก ๆ ก็เป็นอะไรที่ควรจะทำเป็นอย่างมาก
ลดความตึงเครียด
ในบางครั้งนอกจากเนื้อหาในการจัดอบรม สัมนา หรือการจัดกิจกรรมอะไรก็ตาม มักจะมีเนื้อหาที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้สึกตึงเครียด และเกิดอาการที่ไม่สบายสมองมากนัก นอกจากนั้นสำหรับคนในบางกลุ่มยังรู้สึกว่าการต้องมาทำกิจกรรมดังกล่าวร่วมกับคนแปลกหน้า หรือคนที่ไม่ได้สนิทใจด้วยมากนักก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกเครียด และวิตกกังวล
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรมมีอะไรบ้าง
-
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม : ใบ้คำ
เกมใบ้คำไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตามจัดเป็นเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมที่ได้รับความนิยม ตลอดจนเป็นหนึ่งในเกมที่เล่นกันได้ง่ายมากที่สุด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมหรือต้องการละลายพฤติกรรมผู้ที่ร่วมกิจกรรมก็สามารถวางแผนให้มีการเล่นเกมดังกล่าวประกอบไปด้วยได้ โดยรายละเอียดของเกมนี้ได้แก่
- เริ่มแรกให้แบ่งผู้เล่นออกเป็นแถว โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนสมาชิกเท่าๆ กัน
- เลือกตัวแทนจำนวน 1 คนสำหรับให้เป็นคนที่รับคำใบ้ เพื่อส่งต่อให้กับคนในทีมที่รออยู่ โดยคนในทีมจะต้องหันหน้าไปในทิศทางตรงข้าม จนกว่าจะถึงตาของตนเอง โดยผู้ที่เป็นคนรับคำใบ้จะทำท่าทางตามคำที่ได้รับโดยห้ามพูดคำตอบเด็ดขาด
- ผู้เล่นหัวแถวจะทำท่าทางเพื่อส่งต่อให้กับผู้เล่นคนที่ 2 ต่อไป
- จากนัน้ผู้เล่นคนที่ 2 ก็จะทำท่าทางเพื่อใบ้คำที่ได้รับให้กับผู้เล่นคนต่อไป โดยส่งต่อท่าทางเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงหางแถว (ครบทุกคน)
- ผู้เล่นคนสุดท้ายที่ได้รับคำใบ้จะต้องรีบวิ่งมายังด้านหน้า หรือจุดที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ เพื่อพูดคำที่คิดว่าถูกต้อง จากนั้นทำการหยุดเวลาการแข่งขัน หากถูกต้องหรือเร็วที่สุดก็จะชนะไปนั่นเอง
-
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม : แนะนำชื่อประกอบจังหวะ
นอกจากความสนุกสนานที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความผ่อนคลาย และมีความบันเทิงมากขึ้นในขณะที่ต้องมาร่วมทำกิจกรรมในสังคมใหม่ ๆ อีกหนึ่งเป้าหมายของการเล่นเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมก็คือประโยชน์ในด้านของการสร้างความสัมพันธ์และทำความรู้จักกับคนในสังคมใหม่ ๆ เพราะฉะนั้นเกมแนะนำชื่อประกอบจังหวะนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้จักกับเพื่อน ๆ ใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้คนอื่นรู้จักชื่อเราได้มากขึ้น โดยรายละเอียดของเกมนี้ก็คือ
- จัดผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม ครึ่งวงกลม หรือนั่งหันหน้าเข้าหากัน ตามความสะดวกของพื้นที่ในการจัดกิจกรรม
- กำหนดการเล่นเกมโดยเริ่มจากใครก็ได้ แล้วให้ทำสัญญาณเพื่อเริ่มเกมดังกล่าว ประกอบกับจังหวะจนผู้เล่นทุกคนคุ้นชิน
- เมื่อเริ่มเกมผู้เล่นทุกคนจะต้องปรบมือเป็นจังหวะ 2 ครั้ง ขณะเดียวกันในจังหวะที่ 3 ให้ ผู้คนแรกชี้ตัวเอง จากนั้นบอกชื่อของตัวเองให้เสียงดังฟังชัด
- จากนั้นทุกคนที่ร่วมเล่นเกมจะทำการปรบมือเป็นจังหวะ 2 ครั้ง จังหวะที่ 3 ผู้เล่นคนต่อไปก็จะบอกชื่อของตัวเอง เช่นเดียวกับผู้เล่นคนแรกที่ได้ทำไปแล้ว โดยจะทำเช่นนี้วนไปจนทุกคนในวแนะนำตัวครบทุกคน เป็นอันเสร็จสิ้นเกมดังกล่าว
-
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม : เกมรวมเหรียญ
เกมรวมเหรียญก็จัดว่าเป็นอีกหนึ่งเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมที่นิยมนำมาใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานให้กับการจัดกิจกรรม และใช้เพื่อละลายพฤติกรรมในการเริ่มต้นการเข้าสังคมใหม่ในหลายองค์กร เนื่องจากเกมนี้จะเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ และรูปแบบของตัวเกมจะทำให้เราสามารถมีโอกาสได้พบเจอกับมิตรภาพใหม่ ๆ ได้มากกว่าเกมอื่น ๆ ที่ต้องจับกลุ่มเป็นทีมนั่นเอง โดยรายละเอียดของเกมนี้ก็ได้แก่
- เริ่มแรกให้ผู้เล่นจับกลุ่มเป็นวงกลมขนาดใหญ่ โดยเกมนี้จะไม่ได้มีการกำหนดตายตัวจะต้องจำกัดผู้เล่นที่กี่คน ดังนั้นจึงสามารถให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดเล่นเกมนี้ด้วยกันได้ และยิ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมเล่นเกมเยอะมากเท่าไหร่ เกมก็จะยิ่งมีความสนุก และมีโอกาสที่ทุกคนจะได้ทำความรู้จักหรือเห็นหน้าคร่าตาผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มากยิ่งขึ้น
- ผู้จัดงานหรือผู้ที่เป็นผู้นำในการเล่นเกมดังกล่าว จะทำการอธิบายกติกา ตลอดจนกำหนดค่าเงินให้กับแต่ละบุคคล (ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละบุคคล) เช่น ผู้หญิงให้มีค่าเท่ากับเหรียญ 1 บาท ผู้ชายมีค่าเท่ากับเหรียญ 5 บาท คนที่ใส่หมวกมีค่าเท่ากับ 10 บาท หรืออื่น ๆ ก็ได้เพื่อความสนุกสนาน
- เมื่อเริ่มเล่นผู้ที่รับหน้าที่เป็นพิธีกรก็จะต้องบอกค่าเงินที่ต้องการ เช่น 20 บาท 50 บาท หรืออื่น ๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเล่นเกมที่รู้ค่าของตัวเองอยู่แล้ว ทำการจับกลุ่มกับให้ได้เป็นจำนวนตามที่พิธีกรบอกเอาไว้ ซึ่งเมื่อเกมเข้มข้นขึ้นก็อาจจะกำหนดกติกาเพิ่มเติมเพื่อความสนุก เช่น จะต้องมีเหรียญ 5 อย่างน้อยหนึ่งเหรียญ หรือ ห้ามมีเหรียญบาทมากกว่า 5 เหรียญก็ได้ เป็นต้น
-
เกมนันทนาการละลายพฤติกรรม : เกมนับเลข
เกมนับเลขเป็นเกมง่าย ๆ ที่นิยมเล่นกันมากในรั้วโรงเรียน เนื่องจากเป็นเกมที่ไม่ต้องใช้สถานที่ในการจัดการแข่งขันทตลอดจนสามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นอีกหนึ่งเกมที่มีความสนุก และช่วยให้สมองที่เหนื่อยล้าตื่นตัวได้ดีมากขึ้น โดยรายละเอียดของเกมนี้ได้แก่
- กำหนดจำนวนผู้เล่นที่ต้องการจะเข้าร่วมเกมนับเลข ซึ่งสามารถเริ่มเล่นได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (หากมีจำนวนผู้เล่นมาก ก็สามารถปรับกติกาเพื่อไม่ให้ใช้เวลานานเกินไปได้ด้วย)
- จากนั้นห้ทำการกำหนดกติกาว่า ผู้เล่นสามารถนับเลขได้ตั้งแต่ 1 2 หรือ 3 จำนวน โดยห้ามพูดเลขต้องห้าม เช่น ผู้เล่นสามารถนับเลขได้มากสุก 3 จำนวน โดยห้ามพูดเลข 30 หรืออาจจะเพิ่มความสนุกสนานเข้าไปว่าหากจะต้องพูดเลขดังกล่าวเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงก็ให้ทำการเต้นทางได้ด้วยนั่นเอง
- เริ่มเล่นเกมโดยให้ผู้เล่นคนแรกเริ่มนับก่อน จากนั้นวนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่งที่พูดเลขต้องห้ามออกมานั่นเอง หากใครที่แพ้ก็ทำการคัดออกจนกว่าจะเหลือผู้ชนะ
ยังมีเกมนันทนาการละลายพฤติกรรมอีกจำนวนมากที่มีการคิดค้นและออกแบบมา เพื่อทำให้การทำกิจกรรมหรือการเข้าสังคมใหม่ ๆ ของคนในองค์กรมีความสนุก ความบันเทิง และสามารถละลายพฤติกรรมของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถช่วยให้คนที่อาจจะมีอาการกลัวการเข้าสังคม สามารถทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นได้ด้วย ดังนั้นใครที่อาจจะกำลังมองหารูปแบบของการจัดงาน หรือกลัวว่างานจะกร่อย ก็สามารถเอาตัวอย่างเกมที่เรานำมาแบ่งปันนี้ไปเล่นกันดูก็ได้นั่นเอง