สำหรับกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนหลาย ๆ คนอาจกำลังจะเผชิญกับปัญหาที่คิดไม่ตกเกี่ยวกับไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเหล่านักเรียนที่เพิ่งเริ่มต้นการศึกษาหลายคนอาจจะกำลังสมองตีบตันอยู่ว่า เราควรจะนำวัสดุใดหรือนำเทคโนโลยีนวัตกรรมเรื่องใดมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้งานของเรานั้นมีความน่าสนใจมีมูลค่าและโดดเด่นกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ
ขอบอกเลยว่าเพื่อน ๆ มาถูกทางแล้ว เพราะวันนี้เราได้คัดสรรและรวบรวมไอเดียต่าง ๆ ที่บอกได้คำเดียวเลยว่าเก๋กู๊ดสุดปังไอเดียไหนดีไอเดียไหนเด็ด เราได้หยิบยกมาไว้ให้หมดแบบเต็มคาราเบล ไม่เหลือไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ดี ๆ ใดไว้ให้กลุ่มคู่แข่งอย่างแน่นอน! ว่าแต่จะมีไอเดียดีไอเดียเด็ดอะไรบ้างนั้นเรามาดูไปพร้อมกันเลยค่า!
1. ถุงมือโรบอทจากกระดาษ
2. ปั้มน้ำจากมอเตอร์
3. แขนกลหยิบจับสิ่งของ ด้วยพลังงานไฮโดรลิค
4. พลังงานไฟฟ้าจากกังหันจำลอง
5. ระบบน้ำวน จากขวดน้ำ 3ขวด
https://www.youtube.com/watch?v=APyffPC7VP8&ab_channel=38Crafts
6. พัดลมพกพา พลังงานแรงหมุนจากมือ
7. ลูกโป่งเต้นอัตโนมัติโดยไม่ใช้ไฟฟ้า
8. เครื่องกรองน้ำ เปลี่ยนจากน้ำเสียเป็นน้ำสะอาด
9. จำลองภูเขาไฟระเบิด ด้วยผงฟู่
10. เครื่องดูดฝุ่นจากขวดน้ำ พลังงานมอเตอร์
สิ่งที่ห้ามขาด! หากอยากเป็นนักคิดไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์สุดเท่!
หากจะพูดถึงไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่าเมื่อเราจะหยิบเอาความเป็นสายวิทยาศาสตร์เข้ามาผสมผสานอยู่ในชิ้นงานนี้ สมาชิกในกลุ่มควรจะต้องมีกระบวนการทางความคิดวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างแรกเลยที่จะต้องคำนึงถึงนั่นก็คือความเหมาะสมของภูมิความรู้ต่าง ๆ ที่จะหยิบยกหรือนำมาใช้กับชิ้นงาน ซึ่งจะต้องมีความถูกต้องและมีความยากง่ายที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับวัยวุฒิและคุณวุฒิที่กำลังศึกษาอยู่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน โดยเราควรที่จะคิดริเริ่มพื้นฐานไอเดียจากวัสดุต่าง ๆ รอบตัวที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงค่อยนำมาต่อยอดไอเดียอื่น ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าหรือความน่าสนใจให้กับวัสดุนั้น ๆ
วัสดุยอดนิยมที่หลายคนมักจะเลือกใช้นั่งก็คือวัสดุจากธรรมชาติ อาจจะเป็นต้นหญ้า ใบไม้ หรือแม้แต่จะเป็นเศษวัสดุเหลือใช้อย่างไม้ไอศกรีม เศษผ้า ขวดน้ำ กล่องกระดาษ หลอด ซึ่งจะเลือกใช้เป็นวัสดุอะไรก็ได้รอบ ๆ ตัวที่เราสามารถนำมาทำการทดลองหรือประดิษฐ์ประดอยได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องไปหาซื้อให้ต้องลำบากเลยแม้แต่น้อย ซึ่งแน่นอนว่าการนำวัสดุมาต่อยอดทางความคิดนั้น ปัจจัยการเลือกวัสดุให้มีความเหมาะสมจึงถือเป็นโจทย์สำคัญที่เรานักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทุกคนจะต้องคำนึงถึงก่อนเป็นประการแรก ๆ โดยเราอาจจะเลือกสรรวัสดุในใจเอาไว้ซักสองถึงสามอย่างก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาพิจารณาในภายหลังถึงความเหมาะสมในการใส่ไอเดียและทฤษฎีต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปว่าวัสดุชิ้นใดจะเหมาะสมที่จะเป็นไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์มากที่สุด
ประการที่สอง ที่ควรจะพิจารณาเป็นลำดับถัดมานั่นก็คือหากไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เรากำลังคิดและตัดสินใจอยู่นั้น มีการประดิษฐ์สิ่งของหรือมีการขึ้นรูปร่างของตัวอย่างชิ้นงานเพิ่มเติม อาจจะต้องมีการประกอบชิ้นงานหรือมีการยึดติดบางส่วนของชิ้นงาน เพื่อให้เราสามารถมองเห็นความเป็นรูปเป็นร่างของสิ่งประดิษฐ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรจะต้องมองหาวัสดุประสานระหว่างสิ่งของทั้งสองชิ้นควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นกาว เข็ม สก๊อตเทป ตีนตุ๊กแก เชือก เป็นต้น
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะประดิษฐ์ชิ้นงานในลักษณะใดก็สามารถเริ่มลงมือในการประกอบรูปร่างของวัสดุตามแบบที่เราได้วางแผนเอาไว้ได้ทันที เพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงจากการลงมือทำว่า ชิ้นงานจากไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์นี้เหมาะสมเพียงพอที่จะไปต่อหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าแม้ว่าการทดลองจะล้มเหลวแต่เราก็ยังมีวัสดุประเภทอื่น ๆ ที่เป็นวัสดุสำรองที่ถูกคิดเอาไว้ในครั้งแรก โดยเราสามารถหยิบยกวัสดุประเภทอื่นมาประกอบในลักษณะเดียวกัน เพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดและลงตัวกับไอเดียของเรานั่นเอง
ภายหลังจากการทดลองนำวัสดุชนิดต่าง ๆ มาแมทช์กันจนเป็นที่พอใจ เราจะได้ชิ้นงานประดิษฐ์ที่เป็นรูปเป็นร่างในระดับเบสิค เพื่อให้เราได้พิจารณาและต่อยอดไอเดียที่มีความแอดวานซ์เพิ่มมากขึ้นกับชิ้นงานนี้ โดยอาจจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของชิ้นงานว่า สิ่งประดิษฐ์ของโครงงานนี้จะมีส่วนช่วยและเป็นประโยชน์กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร โดยอาจจะคำนึงในเรื่องของการใช้งานเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการคิดต่อยอดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดขั้นตอนการดำเนินชีวิตให้มันมีความเรียบง่ายมากขึ้นหรือช่วยลดเวลาในการกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งในชีวิตประจำวันให้มีการสูญเสียระยะเวลามี่น้อยลง หรืออาจมุ่งเน้นในเรื่องของความสวยงามของดีไซน์หรือรูปลักษณ์ชิ้นงานก็ถือว่าเป็นการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ได้ดีทีเดียว
หรือแม้กระทั่งไอเดียจะสร้างจุดเด่นใส่ความสุดโต่งในเรื่องของความแปลกประหลาดน่าจดจำไปเลยก็ช่วยส่งเสริมจินตนาการความคิดนอกกรอบตามแบบคนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งไอเดียทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการแจกจ่ายแบ่งส่วนของงานและระดมความคิดไอเดียกันภายในกลุ่มอย่างจริงจัง หากเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในระดับโรงเรียนอาจจะคิดต่อยอดในแบบที่ไม่ต้องมีความซับซ้อนมากนัก แต่เน้นความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของสมาชิกภายในกลุ่มเป็นสำคัญ แต่หากเป็นชิ้นงานวิทยาศาสตร์ของเหล่านักศึกษาระดับมหาลัยการมีโครงงานโปรเจคใหญ่ ๆ แบบนี้อาจจะต้องมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้งานได้จริง ความคงทนแข็งแรงของอุปกรณ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทำต่าง ๆ เข้ามาประกอบการคิดไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย โดยจะต้องอยู่ในช่วงราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสาขาวิชาที่กำลังศึกษาเล่าเรียนให้มากที่สุดนั่นเอง
ประโยชน์ที่สำคัญของการทำงานกลุ่มร่วมกันของวัยรุ่นวัยเรียน!
หากจะนึกถึงประโยชน์ของการใช้ไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์นี้ นอกจากจะมีข้อดีในเรื่องของการร่วมมือร่วมใจในการระดมสมอง ช่วยกันคิดและถกเถียงประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานระหว่างกันและกันในกลุ่มแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เยาวชนในสังคมมีกระบวนการทางความคิดที่มีวิธีการ ฝึกใช้ทักษะการสังเกตหรือการตั้งสมมุติฐานในการคาดคะเนความน่าจะเป็น รวมทั้งยังได้ทดลองและลงมือทำปฏิบัติจริงจนนำไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายของการทำโครงงานครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญและเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความรู้ทางวิชาการของนักเรียนนักศึกษาให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับงานให้ได้มากที่สุด
ตัวอย่างไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ สำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังครุ่นคิดอยู่นั้นสามารถหาได้อย่างง่ายดายเพียงแค่สังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ
ตัวเอง เช่น การสร้างน้ำหมึกสำหรับเขียนด้วยวัสดุเหลือใช้จากผลไม้ที่รับประทานเข้าไป หรืออาจจะเป็นสิ่งของใกล้ตัวที่มากขึ้นไปกว่านี้อีก เช่น การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถกำจัดหรือไล่ปัญหาการบุกรุกของแมลงต่าง ๆ เช่น ยุง แมลงสาบ หรือไม้แต่กระทั้งสัตว์มีพิษต่าง ๆ ก็ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลเสียก่อน เพื่อลดการทดลองที่อาจผิดพลาดได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้ใช้จินตนาการกระตุ้นทีกษะความคิดสร้างสรร์ในด้านของการตกแต่งให้มีความสวยงามเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้ชิ้นงานมีความสมบูรณ์แบบและตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างลงตัว เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ครบเครื่องสามารถช่วยกระตุ้นศักยภาพของมนุษย์ในสังคมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในมนุษย์กลุ่มที่อยู่ในวัยศึกษาหาความรู้อย่างนักเรียนนักศึกษาแล้วนั้น ถือว่าการใช้ไอเดียโครงงานวิทยาศาสตร์นี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนที่ขาดไม่ได้เลยนั่นเอง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://kawtung.com/fact/สิ่งประดิษฐ์-งาน-diy/สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร/
- https://www.dek-d.com/education/32191/
- https://www.facebook.com/scimath/posts/947400995342073/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://images.pexels.com/photos/3735709/pexels-photo-3735709.jpeg
- https://www.pexels.com/th-th/photo/4033148/
- https://www.pexels.com/th-th/photo/287227/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม