วันปิยมหาราช หรือ Chulalongkorn Day หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “วันเลิกทาส” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งวันนี้นับว่าเป็นวันสำคัญอีกวัน ที่จะให้ประชาชนได้ระลึกถึงวันสำคัญนี้ และที่สำคัญก็ยังเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์อีกด้วย แต่เชื่อว่าน้อยคนนักอาจจะรู้ว่าความจริงแล้วประวัติความเป็นมาของ ๆ วันนี้เป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นวันที่สำคัญ ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยก็ยังมีวัน ๆ นี้อยู่ในปฏิทินเสมอ ๆ เอาเป็นว่าทุกคนอ่านไปพร้อม ๆ กับข้าวตังกันเลยดีกว่า
ประวัติความเป็นมาของ วันปิยมหาราช
ประวัติความเป็นมาของ วันปิยมหาราช คือเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต และด้วยสิ่งที่พระองค์ได้ทำไว้เพื่อพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ ทำให้ รัชกาลที่ 5 เป็นที่รักของประชาชนทำให้เกิดความเศร้าโศกในการจากไปกันทั่วประเทศ
และต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ทางรัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ รัชกาลที่ 5 กลายมาเป็น วันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ เพื่อเป็นการน้อมลำลึกถึงความดีที่พระองค์ได้ทำให้ประเทศและประชาชน รวมถึงเป็นการแสดงความไว้อาลัยอีกด้วย แน่นอนว่ารัชกาลที่ 5 พระราชกรณียกิจหลาย ๆ อย่างก็คงตราตรึงสำหรับคนไทยอยู่เสมอ
ความสำคัญของ วันปิยมหาราช ที่ควรต้องรู้
ความสำคัญของ วันปิยมหาราช นั่นก็คือเป็นวันที่คล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่ง วันปิยมหาราช จะตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี โดยในวันนี้นั้น หน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน หรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะร่วมกันน้อมระลึกถึงคุณงามความดีของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และร่วมกันแสดงความไว้อาลัย โดยการวางพวงมาลาดอกไม้ หรือดอกไม้ต่าง ๆ ในบริเวณของพระบรมรูปทรงม้า แม้แต่ประชาชนบางส่วนก็ยังมาวางพวงมาลาด้วยเช่นกัน
ทำไมถึงเรียกว่า วันปิยมหาราช
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีถูกรียกว่า วันปิยมหาราช ก็เป็นเพราะว่าในวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ รัชกาลที่ 5 และด้วยพระองค์เป็นที่รักของประชาชน ทำให้พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” โดยมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” และเพื่อเป็นการรำลึกถึงสิ่งที่ รัชกาลที่ 5 ได้ทำเอาไว้ ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันปิยมหาราช นั่นเอง
วันปิยมหาราช ครั้งแรกคือเมื่อใด
โดย วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงของในหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งในงานครั้งนั้นในหลวง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงออกบวช และเสด็จถวายพวงมาลา จุดธูปเทียนและเครื่องสักการะเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยแก่ในหลวง รัชกาลที่ 5
กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน วันปิยมหาราช ของทุกปี
ซึ่งกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อถึงวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีหรือก็คือ “วันปิยมหาราช” นั่นก็คือการที่หน่วยงานต่าง ๆ ของทางราชการ (และหน่วยงานเอกชนที่มีความเกี่ยวข้อง) จะร่วมถวายพวงมาลาดอกไม้สักการะ และทำความเคารพที่หน้าพระบรมรูปทรงม้าของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
รวมถึงในสถานที่ของหน่วยราชการในต่างจังหวัด รวมถึงโรงเรียนของทางรัฐบาล ก็จะมีการจัดกิจกรรม วันปิยมหาราช ขึ้นเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (รวมถึงเด็กนักเรียน) ทำการวางดอกไม้เพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยจะทำการวางบริเวณหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เหตุผลที่ทำให้ประชาชนทรงให้สมัญญานาม รัชกาลที่ 5 ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช”
ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ประชาชนทรงเรียกท่านว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” จนต่อมากลายมาเป็นวันสำคัญของประเทศไทยอย่าง วันปิยมหาราช มีอยู่ด้วยกันหลายข้อดังนี้
- การเลิกทาส
เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รับสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” เพราะเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น โดยมีความหมายโดยสรุปว่า ลูกที่เกิดจากทาสให้นายทาสลดค่าไถ่ตัวลงทุกปีจนกว่าจะหมด หรือเมื่ออายุครบ 21 ปีก็ให้พ้นสถานะทาสในทันที
จนต่อมาในปีพ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ขึ้นโดยมีความหมายโดยสรุปดังนี้ เด็กที่เกิดจากทาสไม่จำเป็นต้องเป็นทาสอีกต่อไป คนที่เป็นทาสอยู่แล้วให้ลดค่าไถ่ตัวลงเดือนละ 4 บาทจนกว่าจะหมด และผู้ใดที่ทำการซื้อขายทาสจะถือว่ามีความผิดอาญาในทันที และด้วยพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 จึงทำให้ทาสภายในประเทศไทยหมดไปภายในระยะเวลาเพียงแค่ 30 ปีเท่านั้น
- การปฏิรูประบบการทำงานของราชการในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบบราชการจากรูปแบบเดิมมาเป็นในรูปแบบกระทรวงต่าง ๆ ทั้งหมด 10 กระทรวงที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
- การปฏิรูปสาธารณูปโภค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปสาธารณูปโภค ทั้งการประปา การคมนาคม การไปรษณีย์ และการไฟฟ้า ภายในประเทศไทย ซึ่งรถไฟสายแรกภายในประเทศไทยก็เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์
- การปฏิรูปการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกษา เพราะจากการเสด็จประพาสของพระองค์ ทำให้ได้ทราบถึงความสำคัญของการศึกษา จึงได้ทรงสร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในชื่อ “โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก”
- การปกป้องประเทศจากสงครามและการเสียดินแดน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความเก่งกาจในเรื่องการทูตจึงทำให้ในยุคการล่าอาณานิคมที่ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยต่างก็เสียเอกราช แต่ไม่ใช่กับประเทศไทย เพราะเราใช้การทูตในการเจรจาจนเสียเพียงแค่ดินแดนบางแห่ง แต่ยังคงสามารถรักษาเอกราชเอาไว้ได้
และด้วยสิ่งที่ รัชกาลที่ 5 ได้ทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย จึงทำให้ท่านได้รับสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” จนต่อมากลายมาเป็นวันสำคัญของประเทศไทยอย่าง วันปิยมหาราช ทั้งนี้หลาย ๆ อย่างก็เกิดจากการที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 สนับสนุนในการให้ชาวต่างชาติมายังประเทศ และศึกษาวัฒนธรรมจากประเทศต่าง ๆ ที่มีความศรีวิไล จึงทำให้รัชกาลที่ 5 จัดการเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ทำให้ประเทศไทยนั้น มีทิศทางที่ดีและเท่าทันวัฒนธรรมในโลก ณ ตอนนั้นได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
หากอยากสักการะ รัชกาลที่ 5 ใน วันปิยมหาราช ต้องทำอย่างไร
อันดับแรกคือการไปสักการะท่านที่พระบรมรูปทรงม้าใน วันปิยมหาราช โดยผู้ชายต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยสวมรองเท้าผ้าใบ และผู้หญิงต้องแต่งตัวสุภาพไม่ใส่กางเกง/กระโปงที่สั้นจนเกินงาม ไม่ใส่เสื้อสายเดี่ยวหรือเสื้อรัดรูป และสวมใส่รองเท้าหุ้มส้นเช่นเดียวกัน โดยท่านสามารถไปสักการะด้วยการถวายพวงมาลาดอกไม้ หรือเพียงแค่ดอกไม้อย่างเดียวก็ได้ ทั้งนี้ปกติทุกปีจะมีบริการรองรับให้กับคนไทยได้มาไหว้ที่พระรูปทรงมาอยู่แล้ว
ความประทับใจของชาวต่างชาติที่มีต่อ วันปิยมหาราช
ถึงแม้ว่าวัน วันปิยมหาราช จะเป็นวันที่พวกเราชาวไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะว่ามีการจัดขึ้นเป็นประจำในทุก ๆ ปีตั้งแต่ที่เราเกิด ทำให้หลาย ๆ คนอาจจะมองไม่เห็นถึงความสวยงามหรือว่าคุณค่าของ วันปิยมหาราช แต่นั่นไม่ใช่สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้เดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย
เพราะในวัน วันปิยมหาราช ที่เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของ รัชกาลที่ 5 ที่ได้ทำให้แก่ประเทศไทยและประชาชน ทำให้ทางหน่วยงานของรัฐบาลหรือประชาชนทั่วไป ออกมาร่วมแสดงความไว้อาลัยถึงการจากไปของ รัชกาลที่ 5 ซึ่งเราจะสามารถพบเห็นได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้า หรือตามสถานที่สำคัญที่ได้มีการนำเอาพระบรมฉายาลักษณ์ของ รัชกาลที่ 5 มาวางเพื่อรำลึกถึงการจากไปของพระองค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะในแถบยุโรปที่เขาจะมีวันรำลึกถึงการจากไปของบุคคลสำคัญกันเป็นเรื่องปกติ
ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการบูชา รัชกาลที่ 5
ซึ่งในประเทศศไทยถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ วันปิยมหาราช ก็ยังคงมีการสร้างแบบหล่อหรือสร้อยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขึ้นมาเพื่อบูชา จนกระทั่งมีคาถาสำหรับการสวดเพื่อขอพร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะพระองค์ได้ทำสิ่งต่าง ๆ ให้กับประเทศชาติมามากพอแล้ว พวกเราไม่ควรที่จะต้องไปเพิ่มภาระให้กับพระองค์ ด้วยการกราบไหว้เพื่อขอพร แต่การกราบไหว้พระองค์ควรทำเพื่อเป็นการน้อมถึงความดีที่พระองค์ได้ทำให้กับประเทศไทย
และที่สำคัญก็คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับพวกเรา เพราะฉะนั้นการไปขอพรกับท่านก็ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรกระทำสักเท่าไหร่ ใครที่ยังขอพรกับท่านอยู่ก็ขอให้คิดดูอีกทีว่าเป็นการกระทำที่เหมาสมหรือไม่
สรุปแล้วเวลาจะระลึกถึงรัชกาลที่ 5 ก็จะเป็นวันที่ 23 ตุลาคม ในทุก ๆ ปี ซึ่งในจุดนี้ ถือว่าเป็นการรำลึกการจากไปของรัชกาลที่ 5 อีกทั้งประชาชนคนไทยได้ย้อนรอยพระราชกรณียกิจที่แสนสำคัญมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของคนไทยเป็นอย่างมาก และยังเสริมส่งจนมาถึงปัจจุบันอีกด้วย ดังนั้นหากใครเคารพรัชกาลที่ 5 หรือมีพระองค์ท่านอยู่ในใจเสมอ ก็ไม่ควรพลาดกับการนำพวงมาลามถวาย ณ วันที่ 23 ตุลาคม เป็นอันขาด
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://www.choengnoen.go.th/news/detail/1457/
- https://www.bru.ac.th/วันปิยมหาราช/
- https://www.songkhlacity.go.th/2020/news/detail/9691
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pexels.com/th-th/photo/132414/
- https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว#/media/ไฟล์:King_Chulalongkorn_as_Field_Marshal.jpg
- https://unsplash.com/photos/k9tUQNeOfx0?utm_source=unsplash&utm_medium=referral&utm_content=creditCopyText
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม