พรบ คอม หรือชื่อเต็ม ๆ เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ควรทราบก่อนที่จะโพสต์ หรือกดเข้าไปคอมเม้นต์อะไรบนโลกโซเชียล ก็จะต้องวิเคราะห์ให้มีความละเอียดรอบคอบมากที่สุด เนื่องจากอะไร ก็เพราะมีพระราชบัญญัติ พรบ คอม ที่ได้มีการว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ไว้ยังไงล่ะ และขอกระซิบบอกเลยนะว่ามีผลบังคับใช้แล้วด้วย ซึ่งถ้าหากมีการติดตามข่าวดารา ที่ได้มีการโพสต์ด่ากันไปมา หรือได้มีการโพสต์ว่าบูลลี่คนอื่น ก็จะโดนฟ้องเอาได้ ดังนั้นทางเราก็ไม่พลาดที่จะรวบรวม ข้อควรรู้เกี่ยวกับ พรบ คอม มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หากพร้อมแล้วก็สามารถตามมาดูกันได้เลยว่า ข้อ พรบ คอม มีอะไรบ้าง แน่นอนข้อมูลละเอียดครบถ้วนแน่นแบบสุด ๆ
ตามมาส่อง ข้อ พรบ คอม ที่ควรเข้ามาศึกษาก่อนโพสต์
เตรียมตัวเข้ามาส่อง ข้อ พรบ คอม เพื่อที่จะเข้ามาใช้งานระบบออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย เรียกได้ว่าเป็นเนื้อหาสาระที่หลายคนควรพึ่งระวังมากที่สุด ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 2 โดยจะมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ทริคเด็ด ๆ จำง่าย ๆ ไม่มีข้อกฎหมายเยอะ อ่านให้ครบแน่นอนเข้าใจอย่างท่องแท้
1. พรบ คอม การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น บนโลกโซเชียล
การเข้าไปโพสต์ด่าผู้อื่น บนโลกโซเชียล เชื่อว่าหลายคนก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีกฎหมายอาญารองรับ ซึ่งการที่เข้ามาโพสต์โดยไม่มีข้อมูลที่แท้จริง หรือข้อมูลได้มีการถูกตัดต่อมา ผู้ที่ถูกกล่าวหาก็สามารถที่จะเอาความผิดกับผู้โพสต์ได้ และผู้โพสต์จะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และจะมีการปรับไม่เกิน 200,000 บาท ใครที่เป็นผู้ชอบโพสต์ ชอบวิจารณ์ดาราแบบแรง ๆ โดยไม่มีข้อมูลที่เป็นจริง ก็ควรระวัง ดังนั้นการเสพข่าวอย่างมีสติ และไม่วิจารณ์ใครมั่ว ๆ ซั่ว ๆ ก็จะหลุดพ้นขอบังคับนี้อย่างแน่นอน
2. ไม่เผยแผร่ ข้อมูลผู้เสียชีวิต เด็ดขาด
ไม่ควรเข้าไปเผยแพร่ข้อมูลของผู้เสียชีวิตไม่ว่าจะเสียชีวิตในกรณีใด ๆ ก็ตาม ซึ่งถ้าหากจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือเป็นข้อมูลของผู้เสียชีวิตที่ไม่ใช่มีการดูถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ไม่ฉะนั้น ทางญาติของผู้เสียชีวิตก็สามารถที่จะฟ้องได้ตามกฎหมาย อาทิเช่น ข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง แล้วมีคนนำไปเผยแพร่ หรือนำรูปศพไปโพสต์ ไม่ได้เด็ดขาด จะถือว่าสามารถเอาผิดตามกฎหมายได้ ดังนั้นเคยเผลอกดแชร์ก็อาจจะมีส่วนร่วมได้เช่นเดียวกัน
3. พบเจอข้อมูลผิดกฎหมาย บนโลกโซเชียล
หากได้มีการตรวจพบเจอข้อมูลที่มีความผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของท่าน แต่ข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่เจ้าของคอมพิวเตอร์ได้กระทำเอง ท่านก็สามารถที่จะแจ้งไปยังหน่วยงาน หากแจ้งแล้ว ก็สามารถที่จะลบข้อมูลออกจากเจ้าของโดยจะไม่มีความผิดตามกฎหมาย อาทิเช่น หากพบเจอความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงช่องทางบนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram ก็ตาม ที่สามารถให้แสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งหากพบว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ผิดกฎหมาย ก็สามารถแจ้งไปทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะลบได้ทันที ซึ่งทางเจ้าของระบบเว็บไซต์ก็จะไม่มีความผิดด้วยเช่นเดียวกัน
4. แอดมินเพจ ก็ต้องคอยสอดส่อง ลูกเพจ ให้ดี
การเป็นแอดมิน Pages ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ซึ่งถ้าหากลูก Pagesของท่านได้มีการเข้ามาแสดงความคิดเห็นที่ผิดตามข้อกฎหมาย พรบ คอม เมื่อผู้ที่เป็นแอดมินได้เข้าไปพบเห็น และได้มีการลบความคิดเห็นออกจากพื้นที่ หรือออกจาก Pages ที่ตนเองดูแล ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นจากความผิดทางกฎหมาย ดังนั้นหากใครเป็นแอดมินเพจก็จะต้องคอยสอดส่องดูแลลูก Pages ของตัวเองให้เป็นอย่างดี ไม่ฉะนั้นก็อาจจะมีความผิดติดตัวแบบไม่รู้ตัวเลยก็เป็นไปได้ ซึ่งแนะนำว่าถ้าลูกเพจมีการแสดงความคิดเห็นในแบบที่ผิดบ่อย ๆ การบล็อคเพื่อหลีกเลี่ยงนับว่าเป็นทางเลือกในการป้องกันได้ดีที่สุด
5. กด Share บนโลกโซเชียล แบบไม่พึงระวัง ก็มีความผิดได้
การกดแชร์บนโลกโซเชียล เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรระมัดระวังมากที่สุด ซึ่งการที่เข้ามากดแชร์หากท่านได้มีการกดแชร์ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย โดยไม่รู้เท่าถึงการณ์ ไม่คิดไตร่ตรองก่อนที่จะเผยแพร่ให้คนอื่นดูต่อไป ซึ่งการที่ท่านได้กดแชร์ไปมีผลกระทบต่อผู้อื่น หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่สาม ก็เข้าข่ายความผิด พรบ คอม ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะแชร์ก็ควรที่จะคิด และพิจารณาทุกครั้ง ว่าสิ่งที่ได้เสพมีโทษอย่างไรหากได้ปล่อยออกไป หรือทำให้กระทบในเชิงลบ ๆ ต่อใครได้บ้าง ถ้าตรงนี้มีคำตอบแนะนำว่าหลีกเลี่ยงการกฎแชร์จะเป็นการดีที่สุด
6. เข้ามากด Like บนโลกโซเชียล ควรระวังให้มาก
การกด Like สามารถกดได้โดยไม่ผิด พรบ คอม แต่จะมีการยกเว้นการกด Like ฐานข้อมูล หรือการเข้ามากด Like ข้อมูลที่มีผลกระทบในวงกว้าง อย่างเช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง ความเสี่ยงหรืออันตรายวงกว้าง หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ได้มีการเข้ามากด Like ที่เข้าข่ายความผิดมาตราที่ 122 หรือที่เรียกได้ว่ามีความผิดร่วม ดังนั้นการที่จะเข้ามากด Like โพสต์อะไรสักโพสต์ ก็ควรพึงระวัง และจะต้องวิเคราะห์ดูก่อนทุกครั้งเวลาที่ได้เสพโพสต์นั้น ๆ ไม่ฉะนั้นจะกลายเป็นว่า ผู้ที่กด Like ก็เห็นด้วยกับผู้โพสต์เช่นเดียวกัน จึงเข้าข่ายมีความผิดร่วมกัน
7. ไม่ควรเผยแพร่ สิ่งลามกอนาจาร บนโลกโซเชียล
ไม่ควรเข้ามาโพสต์สิ่งที่ลามกอนาจาร ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชนได้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิดข้อกฎหมาย พรบ คอม อย่างรุนแรง โดยลามกอนาจารจะสามารถเกิดได้ในทั้งการโพสต์ต่าง ๆ การคอมเมนต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการแชร์คอนเทนต์เหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งจุดนี้อาจรวมถึงการเชิญชวนให้ใช้บริการได้อีกด้วย ดังนั้นการที่จะโพสต์อะไรลงไปบนโลกโซเชียลก็ควรที่จะคิดทุกครั้งก่อนโพสต์ หรือหลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลที่เป็นเชิงลามกอนาจาร
8. โพสต์สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็ก ลงโลกโซเชียล ต้องพึงระวัง
การเข้าไปโพสต์สิ่งต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็ก ลงโลกโซเชียล เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรระวังไม่แพ้กัน เนื่องจากการโพสต์ข้อความ หรือรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน หากเป็นข้อความ หรือรูปภาพที่ไม่ได้รับการให้เผยแพร่ จากเด็กก็จะต้องมีการปิดบังใบหน้า เพื่อไม่ให้จำได้ว่าเป็นใคร ซึ่งแน่นอนคนเป็นพ่อเป็นแม่ หรือบุคคลใกล้ชิดก็ควรจะระวังในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน หรือถ้าเป็นคนนอกที่มีการโพสต์ก็อาจโดนฟ้องร้องได้ (ยกเว้นเป็นการโพสต์ที่เชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ และเป็นโพสต์ที่ส่งผลดีแก่เด็ก)
9. การละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น บนโลกโซเชียล ผิด พรบ คอม
ตาม พรบ คอม ไม่ควรที่จะเข้าไปทำการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นข้อความ เพลงต่างๆ รูปภาพ หรือแม้แต่วิดีโอก็ตาม อาทิเช่น การละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นโดยการเอาเพลง หรือการนำเอารูปภาพของผู้อื่นมาโพสต์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้ที่โดนละเมิดลิขสิทธิ์ ก็สามารถที่จะฟ้องได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่จะเอาอะไรของผู้อื่นมาก็ควรระมัดระวัง แน่นอนว่าในส่วนนี้ยังหมายถึงรูปภาพของบุคคลสาธารณะ ที่หากไม่ได้รับการอนุญาตในการเผยแพร่ หรือเผยแพร่ในเชิงการค้าโดยไม่ได้รับอนุมัติ ก็มีสิทธิที่จะโดนฟ้องได้เช่นกันเดียว
10. การส่งรูปภาพ แบบต่อ ๆ กันเป็นห่วงโซ่ บนโลกโซเชียล
การส่งรูปภาพ หรือการเข้ามาแชร์รูปภาพของผู้อื่น อาทิเช่น สวัสดี คำอวยพร ซึ่งการเข้ามาแชร์รูปภาพที่ไม่ผิดกฎหมาย ก็คือการที่ไม่นำรูปภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือเพื่อนำไปหารายได้ ดังนั้นการที่เข้ามาแชร์ต่อรูปภาพ ก็ไม่ควรที่จะนำไปแชร์ต่อเพื่อหารายได้ หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นอันขาด นอกเสียจากเจ้าของภาพได้อนุญาตสามารถเผยแพร่ได้ฟรี ดังนั้นก็สามารถแชร์ได้ตามใจชอบได้เลย
11. การฝากร้าน ที่ส่งผลกระทบ หรือรบกวนผู้อื่น
การเข้าไปฝากร้าน โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ก็ถือว่าเป็นการเข้าไปรบกวนผู้อื่น ซึ่งการที่ท่านเข้ามาฝากร้านโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ได้มีการคิดไตร่ตรองที่ดี ไม่ว่าจะเข้ามาฝากร้านในช่องทาง Facebook, IG ถือว่าเป็นข้อความสแปม ดังนั้นจะมีการปรับจำนวนเงิน 200,000 บาท เพราะฉะนั้นการที่เข้ามาฝากร้านก็ควรเข้าไปฝากในพื้นที่ ที่เจ้าของร้านอนุญาตให้ฝากเท่านั้น ในจุดนี้จะต้องดูให้ดีว่าช่องทางไหนที่เป็นเจ้าของสามารถฝากได้ด้วย โดยส่วนใหญ่จะมีระบุว่าฝากร้านได้ ถ้ามีการระบุชัดเจนก็สามารถกดฝากรัว ๆ ได้เลย
12. การส่งข้อความอีเมล เพื่อขายของผิดข้อ พรบ คอม
การที่เข้าไปส่ง Email เพื่อทำการขายของ ก็ถือว่าเป็นข้อความสแปมเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากท่านได้เผลอกดส่งไป ก็จะมีการปรับจำนวนเงิน 200,000 บาท ดังนี้การส่งอีเมลที่เกี่ยวกับการขายต่าง ๆ โดยที่เจ้าของเมลไม่ได้มีการยินยอมในการส่งตั้งแต่แรก ก็ควรพึ่งระวังให้มากที่สุด เผลอกดขายของไป 200,000 บาทหายไปกับตาไม่รู้ด้วยนะ แต่ก็จะมีบางกรณีที่เจ้าของ E-mail เต็มใจที่จะให้ร้านขายของร้านนั้น ๆ สามารถส่งมาได้เป็นรายเดือนอันนี้นับว่าเป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่สามารถใช้มาตรฐานเหมือนกันได้
13. ส่ง SMS โฆษณาบนโลกโซเชียล โดยผู้รับปฏิเสธไม่ได้
การส่งข้อความ SMS ต่าง ๆ เพื่อที่จะโฆษณา โดยถ้าหากว่าเป็นข้อความที่ไม่ได้ระบุว่าให้ผู้รับสามารถที่จะปฏิเสธการรับข้อความ หรือปฏิเสธการรับข้อมูลนั้นได้ ก็ถือว่าเป็นข้อความสแปม ซึ่งจะมีการปรับจำนวนเงิน 200,000 บาท เป็นข้อที่ควรพึงระวังมากที่สุด ดังนั้นหากได้รับข้อความแปลก ๆ ก็ควรจะที่แจ้งว่าเป็นสแปม เพื่อป้องกันข้อมูลของตัวเองรั่วไหลได้อีกด้วย เพราะในจุดนี้มีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายในอนาคตได้
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ต้องรู้ก่อนโดนฟ้อง!!
เรียกได้ว่าที่เราได้รวบรวมมาให้ท่านได้เข้ามาศึกษาเบื้องต้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของ พรบ คอม ที่ได้มีผลการบังคับใช้แล้ว และยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่มีผลกระทบต่อการใช้งานบนสื่อโซเชียลสังคมออนไลน์อีกมากมาย ดังนั้นการที่เข้ามาเล่นโซเชียลก็ควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อนเบื้องต้น สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดตามกฎหมายได้ ทางที่ดีอาจต้องเริ่มจากการปรับความคิด ว่าการจะคิดอะไรทำอะไรกระทบกับผู้อื่นแค่ไหน กระทบกับผู้อื่นร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเราวิเคราะห์ในส่วนนี้ได้ จะใจเย็นลงในการโพสต์ได้ดียิ่งขึ้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://ilog.ai/2021/09/15/summary-and-compare-thai-computer-crime-act/
- https://www.sbpolice.go.th/news/สรุ�%
- https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/6000
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ICT
- https://www.admissionpremium.com/business/news/3699
- https://www.thairath.co.th/business/economics/1213843
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม