สุดยอดยันต์ชั้นครูโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณอยู่ยงคงกระพัน ยิ่งสักกับกระเกจิอาจารย์ที่ได้ศึกษาวิชาอาคมมาอย่างลึกซึ้งจะส่งผลให้ลายสักนั้นเต็มไปด้วยมนต์ขลัง พลังอำนาจส่งเสริมให้ผู้บูชาหรือลูกศิษย์ได้มากทีเดียว ซึ่งเกจิอาจารย์ 2 ท่านที่ถือว่าเป็นที่เคารพ ศรัทธาของเหล่าลูกศิษย์ มีชื่อเสียงอย่างมากในการสัก ยันต์ 9 ยอด คือ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระและหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ไปดูกันว่าทั้งสองท่านนั้นมีความเป็นมาอย่างไร
เกจิอาจารย์ท่านที่ 1 หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สุดยอดผู้เรืองวิชาวิทยาคม
สำหรับหลวงพ่อเปิ่นยอดเกจิอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังในวงการไสยศาสตร์ ผู้เรืองวิชาวิทยาอาคม เพราะท่านสนใจมาตั้งแต่ยังเล็ก ได้ศึกษาเล่าเรียนมาเป็นเวลานาน จึงทำให้ท่านเป็นที่ศรัทธาของเหล่าลูกศิษย์จำนวนมาก เครื่องรางต่าง ๆ ของ่ทานทรงคุณวิเศษแก่กล้า ย้อนกลับไปในช่วงวัยเด็กต้องบอกเลยว่า แม้ว่าครอบครัวของท่านจะต้องย้ายถิ่นฐานไปที่สุพรรณบุรี จากตอนแรกบ้านติดวัดบางพระ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านชื่นชอบวิยาอาคม แต่กระนั้นท่านก็ยังคงเข้าเรียนอย่างต่อเนื่องโดยการที่ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง แห่งวัดทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เกจิอีกหนึ่งท่านที่มีชื่อเสียงในวงการเครื่องรางของขลัง ซึ่งตัวของหลวงพ่อเปิ่นได้รับการถ่ายทอดวิชาหลายแขนง
การเดินทางเรียนวิทยาคมของหลวงพ่อเปิ่น
ในเวลาต่อมาหลวงพ่อเปิ่นก็ต้องย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดจังหวัดนครปฐมอีกครั้ง เพราะอายุครบเกณฑ์ทหาร แต่ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่นานตำแหน่งที่ท่านทำก็มีการประกาศยกเลิก จึงออกมาทำนานช่วยพ่อแม่เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ก็ยังคงเรียนวิชาการสักยันต์จากพระอาจารย์หิ่ม อินทโชโต วัดบางพระ พอเมื่ออายุ 20 ปี ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ด้วยความที่หลวงพ่อเปิ่นคอยอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์หิ่ม จึงทำให้ท่านอาจารย์หิ่มเมตตา จึงได้ถ่ายทอดอักขระโบราณ เป็นรูปแบบยันต์ต่าง ๆ แต่เพเยงเวลา 4 ปีที่หลวงพ่อเปิ่นดูแลปรนนิบัติระอาจารย์หิ่ม ก็ได้มรณภาพลง จากนั้นท่านจึงตัดสินใจออกจาริกธุดงควัตร พร้อมกับไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อโอภาสี ได้ศึกษาวิทยาคมอีก 1 ปี และเดินทางไปออกธุดงค์ต่อไปยังภาคใต้ เพื่อบำเพ็ญเพียรฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานและสรรพวิชา ด้วยความตั้งใจของท่านจึงทำให้มีจนมีความเชี่ยวชาญกล้าแข็งวิชาอาคมและสมาธิจิตอย่างแกร่งกล้า
ที่มาเครื่องรางชิ้นแรกของหลวงพ่อเปิ่น
พ.ศ.2504 หลวงพ่อเปิ่นเดินทางธุดงจนมาถึงชายทุ่งนาก็ได้ปักกลดใกล้วัดทุ่งนางหลอก อ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ด้วยความที่ท่านมีความรู้เรื่องสมุนไพร ยารักษาโรค จึงช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วย จนชาวบ้านนิมนต์ให้มาช่วยพัฒนาวัดทุ่งนางหลอก แต่ท่านล้มป่วยกะทันหัน จึงกลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ เมื่อท่านหายดีตั้งใจว่าจะเดินทางธุดงค์ต่อ แต่ชาวบ้านก็ขอร้องให้พัฒนาวัดโคกเขมา ท่านก็ไปตามคำขอและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ
3 ปีผ่านไป เมื่อ พ.ศ.2509 ตัวของหลวงพ่อเปิ่นก็ได้สร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อเปิ่นรุ่นแรก ถือเป็นเครื่องรางชิ้นแรกของท่าน ต่อมาก็ได้จัดทำมาหลายรุ่นเรื่อย ๆ เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าหาบูชา เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัด สำหรับเครื่องรางชิ้นนี้ปัจจุบันพระเครื่องวัดโคกเขมาหายากมาก ๆ
จากเรื่องราวประวัติทั้งหมดของหลวงพ่อเปิ่นคงทำให้หลายคนได้ทราบว่าทำไมเครื่องรางของหลวงพ่อต่างเป็นที่ต้องการและอยากมีไว้ครอบครอง เพราะอยางที่บอกว่าหากเกจิอาจารย์ท่านนั้นมีความรู้เรื่องวิทยาอาคมอย่างแกล่งกล้าจะทำให้ของชิ้นนั้น ทรงพลังอำนาจ อย่างรอยสักของ ยันต์ 9 ยอด เป็นที่เลืองชื่อว่ามีคพุทธคุณสูง
เกจิอาจารย์ท่านที่ 2 หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลอง ศิษย์รุ่นสุดท้ายหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า “หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง” เก่งไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะ”จิ้งจก” สุดยอดแห่งมหาเมตตา
หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของรอยสัก “จิ้งจก” ถือเป็นสุดยอดแห่งมหาเมตตา ท่านได้รับความเลื่อมใสศรัทธามาและมีชื่อเสียงในด้านการสักยันต์มายาวนาน สมัยนั้นเกือบแทบทุกคนที่อยุธยาจะต้องมีรอยสักของท่านบนเรือนร่างเกือบแทบทุกคน โดยเฉพาะยันต์จิ้งจก อย่างที่กล่าวไปว่ามีความโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม ผู้ใดส่งเสริมได้ดีนักแล
ในช่วงที่อายุ 12 ปี หลวงพ่อหน่ายได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านแจ้ง โดยมีท่านพระครูพัด เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาธรรมวินัย ด้วยความที่หลวงพ่อเปิ่นอายุยังน้อยจึงถ่ายทอดวิทยาคมให้บ้างเล็กน้อย กระทั่งอายุครบ 22 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อเปิ่นท่านก็ได้ออกเดินทางธุดงหลังอุปสมบทพรรษาแรก ธุดงค์เข้าป่าที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ดุร้าย แต่ท่านได้หาเกรงกลัวไม่ ซึ่งตัวท่านเองเมื่อธุดงค์จนพอใจแล้ว ก็ได้เดินทากลับไปยังวัดแจ้งอยู่ได้เพียง 3 เดือน ก็ต้องเดินทางไปศึกษาวิทยาคมกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะนั้นเองท่านก็ได้พบกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์และศึกษาวิชากับท่านบ้าง แต่จะเน้นหลักไปเรียนกับหลวงปู่ศุข แต่เรียนได้เพียงแค่ 1 ปี ท่านก็มรภาพไปเสียก่อน แต่ก็ต้องบอกว่าในช่วงที่หลวงพ่อสุขมีชีวิต หลวงพ่อหน่ายก็ได้ฝึกฝนทบทวนสรรพวิชาต่าง ๆ อย่างเข้มข้น ท่านจึงถือเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุข
ต่อเนื่องหลวงพ่อหน่ายก็ได้ก็ศึกษาวิชาเครื่องรางของขลังและวิทยาคมกับศิษย์เอกของหลวงพ่อศุขคืออาจารย์ย่ามแดง จากนั้นก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านแจ้ง ซึ่งขณะนั้นมี พระครูอนุวัติสังฆกิจ (เคลือบ) เป็นเจ้าอาวาส โดยตัวของท่านจำพรรษาอยู่ในป่าช้านานถึง 20 ปี เพราะเป็นพื้นที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตัวของหลวงพ่อหน่ายก็เห็นเช่นนั้นจึงได้ช่วยพระครูสังฆกิจ (เคลือบ) พัฒนาวัดบ้านแจ้งจนสำเร็จมีทั้งอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ แต่ไม่นานพระครูสังฆกิจมรณภาพไป หลวงพ่อหน่ายจึงเป็นเจ้าอาวาสแทนตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ช่วงนั้นท่านมีอายุ 71 ปี ขณะที่มีอายุได้ 71 ปี แต่กระนั้นท่านก็ไม่ยอมรับสมณศักดิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับหลวงพ่หน่ายละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ค. 2531 รวมอายุ 86 ปี พรรษา 74
เป็นอย่างไรกันบ้างกับการศึกษาประวัติของกจิอาจารย์ดังที่เป็นที่รู้จักอย่างมากในวงการไสยศาสตร์ ท่านทั้งสองต่างศึกษาวิทยาอาคมอย่างลึกซึ่ง จึงทำให้เครื่องรางของขลังและรายสัก ยันต์ 9 ยอด มีพลังแก่กล้า ไม่ว่าใครก็อยากจะให้ท่านเป็นผู้ลงอาคมให้ แม้ว่าท่าจจะมรณภาพไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในผู้ที่ศรัทธาหรือลูกศิษย์
ยันต์ 9 ยอด พุทธคุณแรงเสริมด้วยข้อห้าม
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคายหรือด่าพ่อแม่ ครูอาจารย์
- ห้ามถ่มน้ำลายลงส้วม
- ห้ามร่วมเพศขณะฝ่ายหญิงมีประจำเดือน เพราะช่วงนั้นมีเลือดจากอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นของต่ำ
- ห้ามร่วมเพศโดยใช้ปาก
- ห้ามผิดลูกผิดเมีหรือเป็นชู้กับสามีผู้อื่น
- ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกประเภท
- ห้ามกินฟัก แฟง บวบ
- ห้ามลอดราวตากผ้า เพราะไม่ต่างจากการรอดใต้ขาผู้อื่น
- ห้ามกินชะอมเด็ดขาด
แม้ว่าคนธรรมดาอย่างเราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติกรรมฐานอย่างพระเกจิทั้งสองท่าน แต่สิ่งหนึ่งที่พึงปฏิบัติคือข้อห้าม เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้รอยสักหรือเครื่องรางที่บูชาเกิดพุทธานุภาพ หากทำไม่ได้ก็จะทำให้ ยันต์ 9 ยอด นั้นเป็นเพียงงานศิลปะบนเรือนร่างเท่านั้น ฉะนั้นมีเพียงความศรัทธายังคงไม่พอหากผู้นั้นไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมและข้อห้ามต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม