วันนี้คุณรู้ความหมายประโยคที่แท้จริงหรือไม่ ? ประโยค หมายถึงหน่วยหนึ่งของภาษา ที่มีความสมบูรณ์โดยเป็นการแทนความหมายของสภาพ จะประกอบด้วยสองส่วนเป็นอย่างน้อย คือภาคประธานและภาคแสดง การประกอบจะประกอบคำซึ่งมีสองคำหลักทำหน้าที่เป็นคำนามในภาคประธาน และคำกริยาในภาคแสดง โดยมากจะยึดหลักที่ว่า ประโยคสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยกริยาแท้อย่างน้อยหนึ่งตัว เช่น ฝนตกหนัก ฉันไปทำงาน เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของประโยคก็มีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของประโยคสามัญกัน ว่ามีลักษณะอย่างไร หมายถึงอะไร และการใช้งานเป็นอย่างไรกันแน่
ความหมายของ ประโยคสามัญที่ควรรู้
ประโยคสามัญ แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย
ประโยคสามัญหรือพื้นฐาน คือประโยคที่ประกอบด้วย นามวลีทำหน้าที่ประธาน กับกริยาวลีทำหน้าที่ภาคแสดงประโยคพื้นฐานต้องไม่มีส่วนขยายใด ๆ เป็นอนุประโยค ในการสื่อสารประธานหรือบางส่วนของประธานอาจไม่ปรากฏได้ ประโยคพื้นฐานแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ประโยคพื้นฐานที่มีกริยาวลีเดียว กับประโยคพื้นฐานที่มีหลายกริยาวลี แต่ต้องไม่มีคำเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น โดยประโยคสามัญมี 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
- ประโยคพื้นฐานชนิดที่มีกริยาวลีเดียว เช่น เด็กหญิงสุนันท์นั่งในห้องเรียน เด็กผู้หญิง ๓ – ๔ คนกำลังเล่นต้องเตอยู่หน้าบ้าน น้องถูกดุ กฎหมายได้รับการพิจารณา เครื่องหมายที่พักริมทางตามถนนหลวงถูกลบเสียแล้ว ปุ๊กลุกอ้วนมากตอนเล็ก ๆ บ้านสีครีมหลังนั้นสวย นายเที่ยงเป็นครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัด วันที่ ๑ มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ นิสัยวารุณีเหมือนคุณพ่อ คนไทยต้องรู้จักตนเอง อุบลกำลังกินส้มตำซุปหน่อไม้และหมูน้ำตำ ลักษณะให้ของขวัญสุวรรณีทุกปี พ่อกำลังรดน้ำต้นไม้ อาจารย์เพิ่มขายหนังสืออ่านนอกเวลานักศึกษาปีที่ ๑ ผู้จัดการเคยแจกโบนัสลูกน้องทุกปี ปรีชาเพิ่งเป็นหัวหน้าห้อง ๒๐๖ ไม่ต้องไปงานกาชาดแล้ว ง่วงเหลือเกิน กินขนมซิ รีบ ๆ เข้า รักกันไว้เถิด หิวจังเลย เดี๋ยวตีนะ
- ประโยคพื้นฐานที่มีกริยาวลีหลายกริยาวลี (ประโยคกริยาเรียง) ประโยคพื้นฐานชนิดนี้มีกริยาวลี หลายวลี กริยาวลีเหล่านั้นจะเป็นภาคแสดงของประธานเดียวกันหรือเป็นภาคแสดงของประธานต่างกันก็ได้ แต่ต้องไม่มีคำเชื่อมเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น กริยาวลีในประโยคอาจแสดงเหตุการณ์ที่เกิดพร้อมกัน
การแบ่งประเภทของประโยคสามารถ 3 ประเภท
สำหรับการแบ่งประเภทของประโยคสามัญ ซึ่งนอกจจากจะมีส่วนประกอบของประโยค ประโยคมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ภาคประธาน คือ ส่วนของผู้ทำอาการ หรือบทประธาน อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้ คำที่ทำหน้าที่ผู้กระทำอาการ ได้แก่ คำนาม หรือคำสรรพนาม เช่น พี่ร้องเพลงได้ไพเราะ ครูต้องอบรมให้นักเรียนเป็นคนดีและ ภาคแสดง คือ ส่วนที่แสดงอาการหรือบอกการกระทำของประธาน คำที่แสดงอาการ ได้แก่ คำกริยา และต้องประกอบด้วยบทอื่น ๆ เช่น บทกรรม บทประกอบกริยาหรือส่วนเติมเต็ม อาจมีส่วนขยายหรือไม่มีก็ได้ ยังสามารถแบ่งประเภทของประโยคได้ 3 ประเภทดังนี้
1.ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความเดียว มีประธานบทเดียว และกริยาเดียว เช่น
- กล้าเล่นฟุตบอลที่สนามโรงเรียน
- คุณแม่ไปซื้อของที่ตลาด
- ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
ข้อสังเกต คำสันธานที่ใช้เชื่อมเป็นการเชื่อมระหว่างคำ
2.ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยใช้สันธานเเชื่อมประโยค เช่น
- ดาทำการบ้านและดูทีวีไปด้วย
- อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
- ฉันอยากไปเที่ยวแต่พ่ออยากอยู่บ้าน
- เธอจะทานของคาวหรือของหวาน
ข้อสังเกต คำสันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค
3.ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความหลักประโยคหนึ่งและอีกประโยคหนึ่งเป็นประโยคย่อย มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ของประโยคความช้อนมีน้ำหนักไม่เท่ากัน
ลักษณะของประโยคความซ้อน เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว 2 ประโยคไว้ด้วยกัน และใช้คำสันธานเป็นเครื่องเชื่อม เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากันโดยประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย ประโยคย่อยทำหน้าที่ต่อไปนี้
– ประธานของประโยค
– กรรมของประโยค
– วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค
– วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม
ตัวอย่างของประโยคความซ้อน
- คุณลุงเอ็นดูหลานซึ่งเป็นกำพร้าตั้งแต่อายุ ๗ ปี
- คุณปู่ฟังเพลงไทยเดิมมันมีลีลาเนิบนาบ
- คุณตารับประทานยาที่ได้มาจากโรงพยาบาล
เพิ่มเติมความรู้ที่มาจากประโยคสามัญ
ประโยคซับซ้อน เกิดจาก ประโยคสามัญ ที่แบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคสามัญดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย คือ การนำรูปประโยค ทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวมและประโยคความซ้อนมาขยายความให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นทำหน้าที่ขยายส่วนใด ส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เช่น
- ที่คุณพูดเป็นเรื่องเข้าใจผิด
- ท่านประธานบริษัทบอกว่าให้พนักงานทุกคนตั้งใจทำงาน
- คุณแม่ให้ฉันรดน้ำตนไม้
ข้อสังเกต : ประโยคซ้อนที่มีวิเศษณานุประโยค จะใช้คำเชื่อมประโยค ก็ จึง เลย ถึง เมื่อ ขณะที่ ก่อน หลัง หลังจากที่ ตั้งแต่ เพราะ เนื่องจาก จน จนกระทั่ง เพื่อ ถ้า หากว่า ถ้าหากว่า แม้ แม้ว่า แม้นว่า ทั้งที่ เป็นต้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม