รวมความรู้ เรื่อง ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน หมายถึง ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ประโยคเป็นประโยคหลัก แล้วมีประโยคความเดียวอื่นมาเสริม มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
รู้หรือไม่ว่า ประโยคคืออะไร ?
มาลองทำความรู้จักกันก่อนว่าประโยคคืออะไร หมายถึงหน่วยหนึ่งของภาษา ที่มีความสมบูรณ์โดยเป็นการแทนความหมายของสภาพ จะประกอบด้วยสองส่วนเป็นอย่างน้อย คือภาคประธานและภาคแสดง การประกอบจะประกอบคำซึ่งมีสองคำหลักทำหน้าที่เป็นคำนามในภาคประธาน และคำกริยาในภาคแสดง โดยมากจะยึดหลักที่ว่า ประโยคสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยกริยาแท้อย่างน้อยหนึ่งตัว ประโยคที่สมบูรณ์ จะประกอบไปด้วยภาคประธานและภาคแสดง โดยที่ภาคประธาน จะหมายถึงผู้กระทำเป็นส่วนสำคัญของประโยค อาจมีบทขยายมาทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนภาคแสดงจะประกอบไปด้วยกริยา กรรม และส่วนเติมเต็ม ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือผู้ถูกกระทำของภาคประธาน ทำให้ประโยคมีความสมบูรณ์มากขึ้น
ลักษณะของประโยคความซ้อน
- เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว 2 ประโยคไว้ด้วยกัน และมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
- เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย
- ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค กรรมของประโยค วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม
รูปประโยค ตัวอย่างของประโยคความซ้อน
- คุณลุงเอ็นดูหลานซึ่งเป็นกำพร้าตั้งแต่อายุ 7 ปี
- คุณปู่ฟังเพลงไทยเดิมมันมีลีลาเนิบนาบ
- คุณตารับประทานยาที่ได้มาจากโรงพยาบาล
ประโยคความซ้อนมี 3 ประเภท ดังนี้
- ประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม (นามานุประโยค) เช่น
- ฉันไม่ชอบคนรับประทานอาหารมูมมาม (กรรม)
- คนขาดมารยาทเป็นคนน่ารังเกียจ (ประธาน)
- ฉันไม่ได้บอกเธอว่าเขาเป็นคนฉลาดมาก (กรรม)
- คนไม่ทำงานเป็นคนเอาเปรียบผู้อื่น (ประธาน)
- คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน (ประธาน)
- ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น (กรรม)
- ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยทำหน้าที่คล้ายคำวิเศษณ์ขยายคำนามหรือขยายสรรพนาม และมีสันธาน ที่ ซึ่ง อัน เป็นเครื่องเชื่อม เช่น
- ท่านที่ร้องเพลงอวยพรโปรดมารับรางวัล
- เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
- ฉันเห็นภูเขาซึ่งมีน้ำขังอยู่ข้างใต้
- ครูที่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากย่อมทราบอุปนิสัยของนักเรียน
- คนที่ประพฤติดีย่อมมีความเจริญในชีวิต
- ก้อยคอยไล่นกกระจอกที่มาขโมยข้าว
- พวกที่ออกมาตีนกอีลุ้มได้นำเรือเข้ามาหลบฝน
- ประโยคความซ้อนที่มีประโยคหลักและประโยคย่อย และประโยคย่อยนั้น ๆ อาจทำหน้าที่เหมือนคำนามก็ได้ ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ก็ได้ จะมีสันธาน เมื่อ, จน, เพราะ, ตาม, ราวกับ, ให้, ทว่า, ระหว่างที่, เพราะเหตุว่า, เหมือน, ดุจดัง, เสมือน, ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
- เพื่อน ๆ กลับไปเมื่องานเลิกแล้ว
- ปลัดอำเภอทำงานหนักจนป่วยไปหลายวัน
- เธอนอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน
- คนป่วยกินยาตามหมอสั่ง
เทคนิคการสังเกต ประโยคความซ้อน ที่ช่วยให้จำง่าย
การสังเกตประโยคอย่างง่าย คือต้องมองข้อแตกต่างให้ออก เมื่อรู้แล้วว่าแต่ละประโยคแตกต่างกันอย่างไรก็จะทำให้แยกประโยคออกและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น มาดูข้อแตกต่างของประโยคต่าง ๆ กันค่ะว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ประโยคซ้อนและประโยคความรวมมีสองประโยครวมอยู่ในประโยคเดียวเหมือนกัน แต่ประโยคความซ้อนจะมีประโยคหนึ่งไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องมีประโยคหลักมาช่วยประโยคย่อย ประโยคจึงจะมีใจความสำคัญ ในขณะที่ประโยความรวมมาจากประโยคความเดียวนำมารวมกัน ทำให้แต่ละประโยคที่ถูกรวมมีความหมายและใจความสำคัญในตัวเอง
- ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ “ว่า” อยู่ในประโยค เรียกว่า นามานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า “ที่” “ซึ่ง” “อัน” อยู่หน้าประโยค เรียกว่า คุณานุประโยค
- ถ้าอนุประโยคมีคำว่า “เมื่อ” “เพราะ” “แม้ว่า” อยู่หน้าประโยค
ความสำคัญของภาษา ที่ใช้ในการสื่อสาร
ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ฉะนั้นการใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลงการสื่อสาร ก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ผิดแผกไปจากเจตนาหรือไม่สามารถสื่อสารได้ ภาษาเขียน มีลักษณะเคร่งครัดในหลักภาษา มีทั้งระดับเคร่งครัดมาก เรียกว่า ภาษาแบบแผน เช่น การเขียนภาษาเป็นทางการดังกล่าวในข้อ 1.1 ระดับเคร่งครัดไม่มากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ ดังกล่าวในข้อ 1..2 ในวรรณกรรมมีการใช้ภาษาเขียน 3 แบบ คือ ภาษาเขียนแบบจินตนาการ เช่น ภาษาการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นต้น ภาษาเขียนแบบแสดงข้อเท็จจริง เช่น การเขียนบทความ สารคดี เป็นต้น และภาษาเขียนแบบประชาสัมพันธ์ เช่น การเขียนคำโฆษณา หรือคำขวัญ เป็นต้น
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม