อย่างที่ทุกคนรู้และทราบกันดีว่าบรรดาคำในภาษาไทยนั้นมีหลากหลายชนิด มีเยอะจนแทบจะนับไม่ถ้วน ส่วนคำพ้องความหมายเอง ก็เป็นคำอีกหนึ่งชนิดที่ใช้นิยามคำจำพวกหนึ่งที่พ้องความหมายกันนั้นเอง เพื่อนๆอาจจะมักคุ้น หรือ เคยได้ยิน คำพ้องความหมาย คือ นิยามที่บ่งบอกคำจำพวกหนึ่งกันดีอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจ หรือ สำหรับใครที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีคำพวกนี้อยู่บนโลกใบนี้ด้วย ก็จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จัก คำพ้องความหมาย นิยามกลุ่มคำในภาษาไทย พร้อมวิธีใช้กันเลย
คำ พ้องความหมาย คือ อะไร ?
คำพ้องความหมาย เป็นคำนิยามใช้เรียกกลุ่มคำจำพวกหนึ่ง ที่มีรูปสระ พยัญชนะ หรือ วรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน หรือเรียกง่ายๆว่า อ่านออกเสียง หรือ เขียนไม่เหมือนกันนั้นเอง แต่ความเกี่ยวข้องเกาะเกี่ยวที่คำเหล่านั้นถูกแบ่งแยก จำเพาะเรียกเป็นคำพ้องความหมาย ก็เพราะคำพวกนั้นมีความหมายที่เหมือนกัน ถึงแม้การเขียน หรือ การเปล่งเสียงออกมาจะแตกต่างกันก็ไม่ทำให้ความหมายนั้นเปลี่ยนแปลง หรือ แตกต่างกันไปได้
ซึ่งนอกจากจะเป็นชนิดคำที่มีความพิเศษกว่าคำทั่วไปแล้ว คำพ้องความหมาย ยังมีกลุ่มคำอีกหนึ่งชนิดที่ให้ความหมายตรงกันข้ามกันด้วยก็คือ คำพ้องเสียง ซึ่งคำพ้องเสียง จะออกเสียงเหมือนกัน หรืออาจจะมีรูป พยัญชนะ สระ รวมไปถึงวรรณยุกต์ที่เหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกัน หรือ ไม่เหมือนกันนั้นเอง เรียกได้ว่านิยามของคำสองจำพวกนี้จะมีความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างเห็นได้ชัดเลยล่ะ
ส่วนเหตุผลที่ภาษาไทยบ้านเรานั้นมักจะมีคำพ้องความหมายที่หลากหลายและเยอะกว่าบางภาษาก็เพราะ ภาษาไทยในบ้านเรา หากใช้ในการสื่อสาร ก็มักจะมีระดับภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาราชการ ภาษาธรรมดา หรือ ภาษากึ่งราชการที่จะต้องใช้คำสุภาพ หรือ ระดับภาษาที่แตกต่างกันออกไป คำพ้องความหมายจึงเป็น คำที่จำเป็นอย่างมากเลยล่ะ และอีกเหตุผลก็เป็นในเรื่องของการแต่งวรรณกรรมต่างๆที่จะต้องเล่นคำ เล่นเสียง และต้องการคำพ้องความหมายมาใช้สื่อความหมายให้มีความไพเราะมากขึ้น จึงทำให้มีการนำคำพ้องความหมายมาใช้ในการแต่งวรรณกรรมต่างๆกันนั้นเอง นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เราในบ้านเรามีคำพ้องความหมายเยอะกว่าบางภาษาด้วยล่ะ
คำพ้องความหมาย แตกต่างจากคำพ้องเสียงยังไง ?
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า คำพ้องความหมาย และ คำพ้องเสียงนั้นจะมีความหมายที่ตรงกันข้ามกันที่นิยามคำสองจำพวกนี้ ให้เห็นภาพแตกต่างกันได้ชัดเจน
คำพ้องความหมาย ก็จะหมายถึง คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่จะเขียน และอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน
ส่วนคำพ้องเสียงก็คือ คำที่มีความหมายแตกต่างกัน แต่เขียนและอ่านออกเสียงเหมือนกันนั้นเอง ความแตกต่างระหว่างคำสองจำพวกนี้จะเห็นได้ว่าคำทั้งสองแบบ จะมีความหมายที่ตรงกันข้ามกันอย่างชัดเจน แถมการใช้ยังแตกต่างกันในเรื่องของการสื่อความหมายอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย ตัวอย่างของคำพ้องความหมาย เช่น ควาย:กระบือ,โค:วัว, ม้า:อาชา,ป่า:ดง,งาม:สวย,ดอกไม้:บุปผา,กิน:รับประทาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าคำพ้องความหมายจะเขียนและอ่านออกเสียงแตกต่างกันแต่ก็จะมีความหมายเดียวกันนั้นเอง
ส่วนตัวอย่างของคำพ้องเสียง เช่น มัน ที่หมายความได้ทั้ง คำสรรพนามทีใช้เรียกสัตว์ และยังหมายถึง ความมันของรสชาติอาหารเช่น มะพร้าวมีรสชาติหวานมันได้อีกด้วย เรียกได้ว่าสามารถใช้ทำหน้าที่เป็นคำสรรพนามใช้เรียกกล่าวถึงสัตว์ต่างๆ และยังใช้เป็นคำวิเศษณ์ไว้ขยายความหมาย หรือ บ่งบอกรสชาติของอาหารได้อีกด้วยล่ะ
อีกตัวอย่างเช่นคำว่ากัน เขาทำงานด้วยกัน , เขาโดนตำรวจกันออกจากที่พัก ซึ่งประโยคสองประโยคมีคำว่ากันเหมือนกัน แต่ความหมายของคำว่ากันนั้นจะแตกต่างกัน ในประโยคแรก กัน คือ ใช้บอกว่าทำงานด้วยกัน ส่วนอีกประโยค กัน คือ คำกิริยาที่แปลว่า กันออกจากสถานที่ หรือ กันไม่ให้เข้าไปในที่ต่างๆนั้นเอง คำพ้องเสียงก็จะออกเสียงเหมือนกัน และอาจจะเขียนเหมือนกันแต่มีความหมายที่แตกต่างกันออกไปนั้นเองล่ะ
ถือว่าคำพ้องความหมาย และคำพ้องเสียงมีข้อแตกต่างให้สังเกตอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว แถมยังถือเป็นคำในภาษาไทยที่ควรค่าแก่การรู้ไว้อีกด้วย ยิ่งใครที่ชื่นชอบภาษาวรรณกรรมการเขียนต่างๆ การใช้คำพวกนี้ก็จำเป็น เป็นอย่างมากเลยทีเดียวล่ะ แม้จะมีความหมายที่แตกต่างกันไปตามคำนิยามแต่ก็เป็นคำที่ใช้ในชีวิตจริงกันอยู่แล้ว ก็สามารถทำความเข้าใจได้แบบไม่ยากเลยล่ะ
ประโยชน์ของคำพ้องความหมาย
ประโยชน์ของคำพ้องความหมาย สามารถใช้สื่อความหมายในการเขียนข้อความต่างๆให้ตรงกับระดับภาษาต่างๆได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังสามารถทำให้วรรณกรรมเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านทางภาษา ถูกเขียนออกมาได้อย่างสละสลวยสวยงาม ทำให้ผู้อ่านเพลิดเพลินและเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้อย่างง่ายดาย แถมคำพ้องความหมายมักจะมีประโยชน์ในการแต่งวรรณกรรมพวกร้อยแก้ว ร้อยกรอง บทกลอนต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของภาษาไทยที่มีคำให้เลือกใช้อย่างหลากหลายเลยล่ะ คำพ้องความหมายจึงถือเป็นคำอีกประเภท ที่เหมาะจะเรียนรู้และนำไปใช้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
เพื่อนๆน่าจะเห็นว่า คำพ้องความหมาย ถือเป็นคำอีกประเภทในภาษาไทยที่น่าสนใจทั้งการใช้และการทำความรู้จักของคำประเภทนี้ ถือเป็นคำอีกประเภทที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆเลยล่ะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://sites.google.com/site/krujeanky/hlak-phasa/kha-phxng/kha-phxng-khwam-hmay
- https://www.wordyguru.com/article/คำพ้องความหมาย-คืออะไร
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม