มาที่หน้าเทศกาลการแต่งงานซึ่งหลายๆคู่มักจะมองหาฤกษ์งามยามดีก่อนที่จะมองหาลำดับพิธีงานแต่งในขั้นตอนต่อไป โดยมักจะหาร้านลองตัดชุด ถ่ายพรีเวดดิ้ง และเลือกสถานที่จัดไปจนถึงธีมงานต่างๆกับทางร้าน โดยส่วนใหญ่ในช่วงฤกษ์สวยๆก็มักจะมีมาพร้อมกันอยู่เสมอ หากเพื่อนๆคนไหนกำลังจะเป็นเจ้าบ่าว เจ้าสาว หรือ ช่วยเตรียมงามเพื่อนๆคนในครอบครัว และอยากรู้ว่าลำดับพิธีงานแต่งแบบไทยพุทธ จะมีลำดับขั้นตอนพิธีในงานแต่งยังไงกันบ้างก็ไปดูลำดับพิธีงานแต่งที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญกันได้เลย
ลำดับพิธีงานแต่ง แบบไทยพุทธ
สำหรับลำดับพิธีงานแต่ง แบบไทยพุทธซึ่งถือเป็นศาสนาที่เพื่อนๆในบ้านเรามักจะนับถือกันมากที่สุด หลายๆคนก็อาจจะเคยได้ไปร่วมงานแต่งงานของบรรดาคนที่รู้จัก จนเห็นบรรยากาศของงานและรู้พิธีงานแต่งงานแบบเรียบง่ายกันคร่าวๆแล้ว แต่สำหรับใครที่อยากรู้ลึกรู้จริง และอยากรู้รายละเอียดยิบย่อยมากกว่านี้ก็ไปดูลำดับพิธีงานแต่งแบบไทยพุทธกันได้เลย
พิธีแห่ขันหมาก และตั้งกระบวนขันหมากงานแต่ง
พิธีแห่ขันหมาก และตั้งกระบวนขันหมากในช่วงเช้า หรือจะจัดหลังพิธีสงฆ์ก็ได้แล้วแต่ความชอบและถนัดของแต่ล่ะคู่ คือ พิธีแต่งงานแบบไทย ง่ายๆขบวนขันหมากจะเป็นของฝ่ายชาย นอกจากจะมีของในพิธีครบแล้ว ก็ยังจะต้องมีลำดับการเรียงแถวที่เรียกว่าขบวนขันหมากเอก และ ขบวนขันหมากโทด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- มีต้นกล้วยและต้นอ้อย ให้ญาติฝ่ายชาย หรือ เพื่อนฝ่ายชายถือ มักจะเป็นประเพณีในภาคกลาง รวมทั้งบางจังหวัดแต่ก็เป็นที่แพร่หลายไปในหลายจังหวัดด้วย
- เจ้าบ่าว ถือพานธูปเทียน
- พ่อ แม่ของเจ้าบ่าวถือพานขันหมากเอก พานสิดสอด (เงิน หรือเครื่องประดับต่างๆ) พานดังกล่าวอาจเปลี่ยนให้ญาติผู้ใหญ่ถือแทนก็ได้
- ญาติผู้ใหญ่ หรือ เฒ่าแก่ ที่เป็นตัวแทนฝ่ายเจ้าบ่าวในการสู่ขอ โดยจะเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวที่ได้รับความเคารพนับถือ ให้เป็นผู้เดินนำขบวนขันหมาก
- พานทอง พานแหวน หรือ พานสิดสอดอื่นๆ จะมอบให้ญาติพี่น้องถือ ในขบวนขันหมากเอกก็ได้
- ญาติพี่น้อง เพื่อนและคนรู้จักอื่นๆของฝ่ายเจ้าบ่าว ถือขบวนขันหมากโท และมักจะจัดแป็นเลขคู่เพื่อสิริมงคลในงานแต่ง ทั้งนี้พิธีกรรมและของที่ต้องเตรียมอาจจะแตกต่างกันไปตามประเพณีในแต่ล่ะท้องทิ้งด้วย
- เตรียมฤกษ์งามยามดีไว้ เมื่อถือฤกษ์ที่เตรียมไว้แล้วขบวนขันหมากก็จะส่งเสียงร้อง “โห่ ฮี โห่ ฮี โห…. ฮิ้ว” สามครั้งก่อนที่จะออกเดินไปสู่ขอเจ้าสาวเข้าพิธีงาน ในกระบวนขันหมากสามารถเปิดเพลงประกอบ หรือ จะแห่กลองยาวเพิ่มสีสันด้วยก็สามารถทำได้
- ประตูเงิน ประตูทองและประตูนาก ฝ่ายเจ้าสาวจะให้เด็กซึ่งเป็นลูก หลาน หรือ คนรู้จักฝ่ายเจ้าสาว หรืออาจจะเป็นเพื่อนเจ้าสาวเองก็ได้ มากั้นประตูทั้งสามประตู ฝ่ายชายก็อาจจะเตรียมของ หรือ อาจจะทำตามสิ่งที่ผู้กั้นประตูขอก็ได้ โดยประตูทั้งสามจะประกอบด้วย ประตูนาก ประตูเงิน และประตูทองนั้นเอง
พิธีสงฆ์
พิธีสงฆ์ เป็นอีกพิธีสำคัญสำหรับคู่บ่าวสาวที่นับถือศาสนาพุทธ พิธีสงฆ์งานแต่งที่บ้าน หรือ ที่ไหนๆ โดยจะต้องทำพิธีทางศาสนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของคู่บ่าวสาว โดยพิธีสงฆ์สามารถเลือกทำช่วงเช้า หรือช่วงใกล้เที่ยง 11 โมงและเลี้ยงพระฉันท์เพลเลยก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤกษ์ที่เพื่อนๆจัดเตรียมมาด้วย ส่วนขั้นตอนพิธีสงฆ์ทางพระพุทธศาสนามีดังนี้
- พิธีจุดธูปเทียนไหว้พระที่โต๊ะบูชา เมื่อพระสงฆ์มาที่อาสนะของสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ให้คู่บ่าวสาวจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา ให้จุดเทียนสองเล่มและธูปคนล่ะสามดอก จากนั้นก็กราบพระพร้อมกัน 3 ครั้ง และหันไปกราบพระสงฆ์ก่อนที่จะประเคน มงคลแฝด แป้งเจิม ขันน้ำมนต์ ที่เตรียมไว้แด่พระสงฆ์ เพื่อเข้าสู่พิธี
- จากนั้นก็จะมีพิธีกรนำกล่าว บูชาพระรัตนตรัย รวมทั้งอาราธนาศีล และพระสงฆ์จะให้ศีล และเริ่มพิธีเจริญพระพุทธมนต์
- พิธีกรเริ่มนำอาราธนาพระปริตร
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์บทมงคลสูตร
- เจ้าบ่าว เจ้าสาวจุดเทียนน้ำมนต์ จากนั้นพระสงฆ์ก็จะสวดบทพาหุง
- เจ้าบ่าวเจ้าสาวตักบาตรร่วมกัน ถือเป็นพิธีที่เชื่อว่าชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นคู่กันอีกครั้ง ทั้งยังเป็นพิธีที่ช่วยเพิ่มสิริมงคลให้กับชีวิตคู่ด้วย
- เจ้าภาพทำการถวายภัตตาหาร เจ้าบ่าวเจ้าสาวประเคนอาหารแด่พระสงฆ์ หลังพระสงฆ์ฉันเสร็จหากมีเครื่องไทยธรรม ก็สามารถประเคนได้ทันที
- จากนั้นก็ทำการกรวดน้ำ และพรมน้ำมนต์ เจิมหน้าผากเจ้าบ่าว ส่วนเจ้าบ่าวก็เจิมให้กับเจ้าสาวต่อเป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์
พิธีสู่ขอและพิธีปูเรียงสินสอด
- เมื่อฝ่ายเจ้าสาวรับขบวนฝ่ายเจ้าบ่าวเรียบร้อยแล้ว หรืออาจจะผ่านพิธีพระพุทธมนต์แล้ว พิธีต่อมาก็จะเป็นการสู่ขอ และพิธีปูเรียงสินสอด
- โดยจะจัดวางสินสอดที่ฝ่ายชายยกให้แก่ฝ่ายหญิง ที่เตรียมใส่พาน วางไว้บนผ้าแดง หรือ ผ้าเงินและทองให้เรียบร้อย
- จากนั้นก็จะมีญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชาย หรือที่เรียกว่าเฒ่าแก่เป็นผู้เจรจาสู่ขอ
- เมื่อตกลงยินยอมกันเรียบร้อยแล้ว ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงก็จะทำการเปิดพานเพื่อตรวจดูสินสอด ซึ่งจะต้องทำทีเป็นเปิดดูตามธรรมเนียม
- จากนั้นผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็จะทำการโปรยถั่ว งา ข้าวเปลือก ข้าวตอก ดอกไม้และใบเงินใบทองที่เตรียมไว้ในพานขันหมากเอกโรยบนสินสอด
- พ่อแม่ฝ่ายหญิงรวบผ้าห่อสินสอดและเอ่ยคำอวยพรตามประเพณี
พิธีสวมแหวนหมั้น
เมื่อเจรจาและเข้าสู่พิธีสู่ขอพร้อมกับพิธีมอบสินสอดทองหมั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงพิธีสวมแหวนหมั้นซึ่งจะมีแขกในงานช่วยเป็นสักขีพยานของคู่บ่าวสาวจากนั้นเจ้าบ่าวก็จะสวมแหวนให้กับเจ้าสาวก่อน ก่อนที่เจ้าสาวจะสวมแหวนให้กับเจ้าบ่าวตอบ จากนั้นคู่บ่าวสาวก็จะก้มกราบพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย
พิธีรับไหว้ หรือ พิธีไหว้ผู้ใหญ่
พิธีรับไหว้ หรือ พิธีไหว้ผู้ใหญ่ จะมีผู้ใหญ่ของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายสาวขึ้นมาบนเวที พิธีรับไหว้ หรือ ไหว้ผู้ใหญ่มีขึ้นเพื่อให้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง รวมทั้งคู่บ่าวสาวได้กราบไหว้แสดงความเคารพ และอวยพรซึ่งกันและกัน โดยการกราบไหว้ หากเป็นพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ให้คู่บ่าวสาวทั้งสองกราบสามครั้ง และหากเป็นญาติผู้ใหญ่ท่านอื่นให้กราบครั้งเดียวไม่แบมือ เมื่อกราบเสร็จญาติผู้ใหญ่ก็อาจจะมีการมอบของมีค่าให้บนพาน จากนั้นก็จะทำการผูกข้อไม้ข้อมือด้วยก็ได้
การเจิมหน้าผาก และสวมมงคล
เมื่อเข้าสู่พิธีไหว้และรับไหว้ผู้ใหญ่เรียบร้อยแล้ว ถัดมาก็จะเป็นพิธีการเจิมหน้าผากและสวมมงคลเพื่อเข้าสู่พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และปราสาทพร โดยจะมีการจุดธูปเทียนกราบพระบูชาพระศรีรัตนตรัย จากนั้นก็ให้คู่บ่าวสาวประจำที่นั่งเพื่อจะรดน้ำสังข์ โดยเจ้าสาวจะต้องนั่งฝั่งซ้ายมือของเจ้าบ่าว จากนั้นก็จะมีประธาน หรือ ญาติผู้ใหญ่มาทำการเจิมหน้าผากให้คู่บ่าวสาวพร้อมกับคล้องพวงมาลัยให้เรียบร้อย หรือ ถ้าหากเป็นประธานสงฆ์เจิมให้ก็จะเริ่มเจิมให้เจ้าบ่าวก่อน จากนั้นเจ้าบ่าวก็จะเจิมให้เจ้าสาวต่อ เพียงเท่านี้ก็เสร็จพิธีการเจิมหน้าผากและสวมมงคลแล้วล่ะ
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และปราสาทพร
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และปราสาทพร ประธานจะเป็นฝ่ายหลั่งน้ำอวยพรคู่บ่าวสาวก่อน จากนั้นก็จะตามด้วยพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว ญาติผู้ใหญ่และเพื่อนตามลำดับ โดยส่วนใหญ่คนที่รสน้ำสังข์ให้พรมักจะเป็นผู้ใหญ่และสมรสมาแล้ว เด็กๆมักจะไม่รดน้ำอวยพรกัน แต่หากเป็นเพื่อนๆในปัจจุบันก็สามารถทำได้เช่นกันเลยล่ะ
พิธีเรียงหมอน หรือ พิธีปูนอน
หากได้ฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาวเข้าสู่เรือนหอแล้ว ขั้นตอนพิธีแต่งงานเย็นก็จะเป็นการทำพิธีเรียงหมอน หรือ พิธีปูนอน โดยจะมีผู้ทำพิธีซึ่งมักจะเลือกญาติผู้ใหญ่ที่สมรสแล้วและครอบครัวมีความสุข รักหมั่นกลมเกลียวกันมาทำพิธี ซึ่งจะต้องเตรียม ข้าวตอก ดอกไม้รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆเพื่อทำพิธีก่อนส่งเจ้าสาวเข้าสู่เรือนหอ โดยญาติผู้ใหญ่ที่ทำพิธีจะทำการโรยข้าวตอก ดอกไม้ พืชมงคลต่างๆลงบนเตียง และอวยพรให้คู่บ่าวสาวต่างๆนาๆ จากนั้นก็ให้ทั้งคู่นอนบนเตียงและแกล้งหลับไป พร้อมกับตื่นขึ้นมาอีกครั้งและพูดคำอวยพรสิ่งดีๆอีกครั้ง ก่อนที่จะปล่อยให้คู่บ่าวสาวได้เข้าเรือนหอและนอนด้วยกันพร้อมตื่นมาใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในวันรุ่งขึ้น ก็ถือเป็นอันสำเร็จพิธีแต่งงานในศาสนาพุทธแล้วล่ะ
สรุปลำดับงานแต่งงาน
สำหรับลำดับพิธีแต่งงานของศาสนาพุทธก็จะมีพิธีที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามแถมคู่บ่าวสาวยังแต่งชุดไทยสวยๆ รวมทั้งแขกที่เข้าร่วมงานด้วย ถือเป็นพิธีสมรสที่มีพิธีสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เลยทีเดียวล่ะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.chansanga.com/category/19/พิธีงานมงคลสมรส-8-พิธีการ/2-พิธีแห่ขันหมาก
- https://happywedding.in.th/th/tips/wedding-wiki/engagement/41869
- https://www.aboutyouvenue.com/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม