สำหรับใครที่เตรียมพร้อมกำลังจะเป็นครูผู้สอน หรือ เดินตามเส้นทางวิชาชีพครูอยู่แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้ไม่แพ้วิชาชีพที่ร่ำเรียนมาเลยก็คือ จรรยาบรรณวิชาชีพครูนั้นเอง แน่นอนว่าทุกอาชีพย่อมมีจรรยาบรรณที่เป็นสิ่งยืนยันถึงข้อปฏิบัติและให้ผู้ประกอบอาชีพได้ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน นอกจากจะช่วยรักษาในเรื่องของความคู่ควรในการทำงานในสายอาชีพนั้นๆแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของความเหมาะสมที่ควรปฏิบัติกันอีกด้วย โดยจรรยาบรรณวิชาชีพครูนั้นจะถูกบัญญัติไว้ใน ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 จรรยาบรรณวืชาชีพครู5ด้าน9ข้อ จะมีข้อไหนเป็นยังไงกันบ้างไปดูกันได้เลย
รวมจรรยาบรรณวิชาชีพครู ที่ควรรู้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนสอน
หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
“ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ”
ข้อแรก ของจรรยาบรรณวิชาชีพครู พูดถึงการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับวิชาชีพครูทั้งในเรื่องของศาสตร์วิชาที่สอน ไปจนถึงบุคลิกภาพ ทั้งยังหมายถึงการใช้ทักษะความรู้เผยแพร่ความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิทยาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสื่อการสอน หรือเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมไปจนถึงการเมืองที่ควรจะเรียนรู้หาข้อมูลอยู่เสมอนั้นเอง
หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
“ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ”
เมื่อพูดถึง จรรยาบรรณวิชาชีพครูล่าสุด เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตแล้ว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ว่าจะประกอบอาชีพไหนๆ ก็ควรมีสิ่งเหล่านี้ นอกจากความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ความรักและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกันหลายครั้งที่อาจจะมีข่าวออกมาว่า มีครูเปิดสอนพิเศษและได้นำข้อสอบที่จะสอบไปสอนเฉพาะเด็กที่ลงคอร์สเรียนพิเศษกับตัวเองเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งเคสตัวอย่างที่ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตอย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นการหารายได้ โดยไม่ยุติธรรมกับเด็กกลุ่มอื่นนั้นเอง ข้อนี้จึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่ครูผู้สอนพึงปฏิบัติตามเป็นอย่างมากเลยล่ะ
หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
“ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า”
ความรัก ความเมตตาและความเอาใจใส่ต่อนักเรียน ก็ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ครูบาอาจารย์จะต้องมีต่อศิษย์เช่นกัน หลายครั้งที่หลายๆคนมักจะเคยได้ยินเรื่องราวของคุณครูที่คอยช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องของทุนการศึกษาไปจนถึงเรื่องปัญหาต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนด้วย แต่บางครั้งก็มักจะมีข่าวการลงโทษนักเรียนที่อาจจะดูแล้วเกินกว่าเหตุ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน กระทบสิทธิเด็กๆ จึงอาจจะทำให้ครูคนดังกล่าวดูเหมือนจะปราศจาก ความรัก ความเมตตาที่มีต่อศิษย์ตามจรรยาบรรณข้อนี้ได้ การลงโทษจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำให้ใครอับอาย หากหวังดี หรือ เมตตาก็ควรที่จะใช้วิธีลงโทษที่สร้างสรรค์ก็น่าจะเพียงพอต่อการลงโทษแล้วล่ะ
“ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ”
การสอนความรู้ รวมถึงนิสัยที่ดีงามก็ถือเป็นหน้าที่ของคุณบาอาจารย์โดยตรง เพราะครูบาอาจารย์ก็มีหน้าที่สั่งสอนอบรมศิษย์ หรือ ผู้ใช้บริการอยู่แล้วนั้นเอง
“ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ”
ในเรื่องของการวางตัว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการะเทศะ ก็ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีในทุกๆสถานการณ์และทุกๆอาชีพอยู่แล้วนั้นเอง การวางตัวดีนอกจากจะทำให้ผู้คนเคารพนับถือแล้ว ก็ยังเป็นการแสดงออกอย่างเป็นมิตรด้วยล่ะ
“ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ”
สรุปจรรยาบรรณวิชาชีพครู ข้อ6 การใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหาไม่ใช่ทางออกที่ดี แม้ว่าในบางเรื่องศิษย์ หรือ ผู้รับบริการจะไม่สามารถทำตามคำชี้แนะของครูบาอาจารย์ได้ แต่ครูบาอาจารย์เองก็ไม่ควรที่จะถือโทษโกรธและหาวิธีลงโทษ หรือ แสดงออกเป็นปฏิปักษ์ต่อศิษย์อย่างเห็นได้ชัดนั้นเอง
“ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ”
การเรียนรับประโยชน์ในข้อดีก็เปรียบเสมือนกับการรับสินบนของเจ้าหน้าที่อื่นๆที่ต้องปฏิบัติงานอย่างยุติธรรม ครูก็ควรที่จะบริการในสายงานอาชีพตัวเองด้วยความเสมอภาค ไม่ควรเรียกรับ หรือ ยอมรับผลประโยชน์ต่างๆที่ได้มาโดยไม่ถูกต้องนั้นเอง
หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
“ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ”
การช่วยเหลือกันระหว่างครูผู้สอนก็นับเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะได้แบ่งปันความรู้และการดูแลเด็ก หรือ ผู้รับบริการแล้ว ก็ยังสามารถวางแผนการสอนร่วมกันได้อีกด้วยล่ะ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรค่าแก่การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสายวิชาชีพศึกษากันเป็นอย่างมากเลยล่ะ
หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
“ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “
เพื่อสังคมที่น่าอยู่ไม่ใช่แค่อาชีพครูเท่านั้นที่จะควรค่าแก่การประพฤติทำตามข้อดี แต่ทุกคนในสังคมก็ควรที่จะทำตามเช่นกันล่ะ
สำหรับจรรยาบรรณวิชาชีพครูที่นำมาแนะอธิบายให้กับเพื่อนๆที่กำลังเป็นครู หรือ เลือกเรียนวิชาชีพนี้กัน ก็ถือเป็นอีกสิ่งที่ควรรู้เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ถูกต้องและดีขึ้นกว่าเดิมได้ง่ายๆ จรรยาบรรณไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากๆเลยล่ะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎