คาถามหาจักรพรรดิ ผู้ที่ทำการแต่งคาถาบทนี้ขึ้นมาคือ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแกและหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก ชมพูปติสูตร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อทำการกำราบความโอหังและแสดงธรรมแก่พญาชมพูบดี หลวงปู่ดู่ได้บอกบทสวดคาถามหาจักรพรรดิแก่ลูกศิษย์เพื่อให้นำไปสวดบูชาพระ จนกระทั่งหลวงตาม้า แห่งวัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่ ผู้เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ดู่ นำไปเผยแผ่ จนเป็นที่รู้จักกันในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
คาถามหาจักรพรรดิ ควรสวดอย่างไรและควรสวดเมื่อไหร่
คาถามหาจักรพรรดินั้นสวดได้ทุกเวลา หาได้มีข้อจำกัดว่าควรสวดเวลาใด แต่หากสวดในช่วงค่ำ เวลาที่คนนิยมสวดคาถามหาจักรพรรดิมากที่สุดคือเวลา 20.30 น. เพราะเป็นเวลาที่ทั้ง 3 แดนโลกธาตุ สวรรค์ มนุษย์ นรก และภพต่าง ๆ ได้เชื่อมถึงกัน ซึ่งเมื่อมีผู้สวดมากเท่าไหร่ก็จะมีกำลังมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สะดวก ก็สามารถเลือกสวดในเวลาที่สะดวกได้
หากสวดในช่วงเช้า เที่ยง และเย็น มักสวดบทสั้น ๆ ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดคาถามหาจักรพรรดิ 9 จบ หรือ 108 จบ แต่ถ้าสวดช่วงค่ำ จะสวดคาถามหาจักรพรรดิบทยาวและสวดตามวัน วันอาทิตย์สวด 6 จบ วันจันทร์สวด 15 จบ วันอังคารสวด 8 จบ วันพุธสวด 17 จบ วันพฤหัสสวด 19 จบ วันศุกร์สวด 21 จบ และวันเสาร์สวด 10 จบ
บทสวดคาถามหาจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
ก่อนที่จะทำการสวดคาถามหาจักรพรรดิ ผู้สวดต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ ทำการตั้งจิตบูชาพระ ตั้งนะโม 3 จบ สำหรับผู้สวดบางท่านจะทำการสวดคาถาหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดกับคาถาของหลวงปู่ดู่ควบคู่กับคาถามหาจักรพรรดิ ไปด้วย ดังนี้
พุทธัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ ธัมมัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ สังฆัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
นะโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สวดไตรสรณคมน์ สมาทานศีล 5
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
สมาทานศีลห้า
ปาณาติปาตา เวระมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ
(ของดเว้น จากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยตนเองและไม่ใช้ผู้อื่นทำให้)
อทินนาทานา เวระมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ
(ของดเว้น จากการลักทรัพย์ของผู้อื่นและไม่ใช้ผู้อื่นทำให้)
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ
(ของดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม)
มุสาวาทา เวรมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ
(ของดเว้น จากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง คำลวงต่อผู้อื่น)
สุราเมระยะมัชชะปมาทัฎฐานา เวระมณีสิกขาปทัง สมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าของดเว้น จากการดื่มสุราเมรับ และเครื่องดองของมึนเมาต่าง ๆ )
บทสวดบูชาหลวงปู่ทวด
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
บทสวดบูชาหลวงปู่ดู่
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
นะโม โพธิสัตโต พรหมะปัญโญ
คาถามหาจักรพรรดิ
ตั้งนะโม 3
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นโม พุทธายะ พระพุทธะไตรรัตนญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะ-ธา-พุท-โม-นะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวะลี จะ มะหาเถรัง
อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
บทสวดเชิญพระเข้าตัว แผ่กุศลปรับภพภูมิ
สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส
คำอธิษฐานจิต เผื่อแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
พุทธัง อธิฏฐามิ ธัมมัง อธิฏฐามิ สังฆัง อธิฏฐามิ
ความหมายของคาถามหาจักรพรรดิ
คาถามหาจักรพรรดิ นั้นมีความหมายสื่อถึงการสรรเสริญพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระศรีอริยเมตไตรย การกล่าวบูชาพระรัตนตรัย พระสีวลีเถระเจ้า รวมถึงการกล่าวนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในพระพุทธศาสนา
สิ่งที่ได้รับจากการสวดคาถามหาจักรพรรดิ
ผู้ที่ได้ทำการสวดคาถามหาจักรพรรดิประจำ จะเป็นผู้ที่มีปัญญา จิตใจเกิดความสงบผ่องใส ไม่ฝันร้าย ช่วยลดเคราะห์กรรมที่เกิดจากเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ชีวิตเกิดแต่ความสงบสุข ทำสิ่งใดก็ราบรื่นประสบความสำเร็จในชีวิต อันเป็นผลจากการแผ่ส่วนบุญและทำการอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ทั้ง 3 ภพภูมิด้วยจิตที่มีเมตตา
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎