ที่กล่าวไปว่า ภาษาลู เป็นภาษของตัวแม่นั้น เป็นเพราะ ภาษาลู เป็นภาษาที่นิยมใช้กันในกลุ่ม LGBTQ+ นิยมใช้เวลาจะพูดถึงบุคคลที่สาม หรือใช้เมื่อจะเม้าท์เรื่องต่างๆ การใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาทั่วไปในการสื่อสารของคนบางกลุ่มอาจมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอรรถรส และเพื่อให้คนอื่นเข้าใจภาษาที่ใช้ได้ยากขึ้น เป็นเหมือนการป้องกัน ให้ข้อมูลที่คุยกันในกลุ่มไม่หลุดรั่วออกไป ถือเป็นการใช้ภาษาให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่ง
ภาษาลู เรียนรู้ไว้ ไม่เสียหาย
ปัจจุบันเรามักได้ยินภาษาหรือวลีแปลกๆ บ่อยมากขึ้น เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี มีการรับวัฒนธรรมต่างๆ ผ่านโซเชียลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาษาใหม่ๆ ขึ้นมาได้ง่ายมาก ภาษาลู อีกหนึ่งภาษาที่ไก้รับวัฒนธรรมมาจากกลุ่ม LGBTQ+ จนเกิดความนิยมในวงกว้าง โดยต้นกำเนิดของภาษาของตัวแม่นี้มีที่มาไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นภาษาเก่าแก่ที่มีคนใช้กันมานานแล้วแต่กลับมาได้รับความนิยมในยุคนี้ บ้างก็ว่าเป็นภาษาที่นักโทษไว้ใช้ในเรือนจำเพื่อกล่าวถึงผู้คุม โดยไม่ให้ผู้คุมทราบถึงสิ่งที่คุยกัน อย่างไรก็ตาม ภาษาลู เป็นภาษาที่ค่อนข้างมีหลักการ ไม่ใช่ว่าใครจะนำมาใช้ก็ได้ เพราะวิธีการนั้นยากกว่าการพูดภาษาทั่วไปมาก หลักๆ คือ เป็นการใช้คำควบกล้ำแล้วเติมสระอูแทนสระอื่นๆ โดยมีหลักการอย่างละเอียดดังนี้
คำปกติ มีหลักการดังนี้
- คำ 1 พยางค์ จะต้องแปลงให้เป็นสองพยางค์
- ใช้ ล ลิง แทนพยัญชนะเดิมของพยางค์แรกในประโยคนั้นๆ โดยจะต้องคิดแยกเป็นคำเสียก่อน เช่น คำว่า เซ็ง ให้เพิ่ม ล ลิง เข้าไป จะได้เป็น เ (ล็) ซง
- จากนั้นทำการเติมสระ อู เข้าไปในพยัญชนะจากคำเดิม จะได้เป็น เล็ง ซุง
- ต่อไปคือการคงเสียงวรรณยุกต์และตัวสะกดจากคำเดิมไว้เหมือนเดิม ก็จะได้คำว่า เล็ง ซุง = เซ็ง
คำที่มีพยัญชนะ ร,ล มีหลักการดังนี้
- หากเป็นคำที่มีตัว ร เรือ และ ล ลิง จะใช้ ซ เข้ามาแทนที่ ร เรือ,ล ลิง ในคำนั้นๆ เช่นคำว่า ร้างลา จะได้ว่า ร้าง=ซ้าง,ลา=ซา
- หลังจากที่แปลงพยัญชนะเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการเติม สระ อู ลงในสระเสียงยาว และหากเป็นสระเสียงสั้นจะทำการเติม สระ อุ เข้าไป ที่พยัญชนะเดิม ร้าง = ซ้างรู้ง ลา = ซาลู
- ให้คงรูปเสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดไว้ในรูปเดิม เช่น ร้างลา = ซ้างรู้งซาลู
คำที่มีสระอุ และสระอู มีหลักการดังนี้
- นำ หล แทนที่พยัญชนะเดิมในคำนั้นๆ
- จากนั้นนำ สระอี ไปเติมในพยัญชนะเดิมในสระเสียงยาว และ สระอิ ไปเติมในพยัญชนะเดิมที่มีสระเสียงสั้น
- ให้คงรูปเสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดไว้ในรูปเดิม เช่น สุข = หลุกสิก
คำที่มีทั้ง ร เรือ,ล ลิง และ สระอุ,สระอู มีหลักการดังนี้
- ให้นำ ซ โซ่ แทน ร เรือ,ล ลิง ที่มีสระอุ และสระอูผสมอยู่
- ส่วนคำที่มีทั้ง ร เรือ ล ลิง และสระอู ให้ใช้ สระอี คำที่มีร เรือ ล ลิง และสระอุ ให้ใช้ สระอิ
- ให้คงรูปเสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกดไว้ในรูปเดิม เช่น หนูไม่รู้ = หลู หนี ไล่มู่ ซูรี้
ทั้งหมดเป็นหลักการคร่าวๆ ของ ภาษาลู จะเห็นได้ว่าเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่ง อาจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝนถึงจะใช้ได้คล่อง
สรุป :
ภาษาลู เป็นภาษาที่มีความยากกว่าภาษาทั่วไป หากใครต้องการใช้อย่างคล่องแคล่ว อาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน และใช้อย่างสม่ำเสมอ โดยประโยชน์ของภาษาของตัวแม่นี้คือการที่จะใช้ภาษาพูดในที่สาธารณะโดยไม่อยากให้คนนอกกลุ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องที่เราพูด
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://cdn.pixabay.com/photo/2018/09/26/09/07/education-3704026_960_720.jpg
- https://cdn.pixabay.com/photo/2015/09/05/07/28/writing-923882_960_720.jpg
- https://cdn.pixabay.com/photo/2015/01/08/18/26/man-593333_960_720.jpg
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม