หลายคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าพยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว และมีการแบ่งแยกออกเป็น 3 หมวดหมู่ ที่เรารู้จักกันในนามอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ วันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกสรุปความรู้ในเรื่องราวของหมวดพยัญชนะอักษรกลาง ที่จะสรุปทั้งความเข้าใจและที่มาของการจัดแบ่งหมวดหมู่ ว่าพยัญชนะไทยมีการจัดแบ่งประเภทของหมวดหมู่อย่างไร แล้วพยัญชนะในอักษรกลางมีอะไรบ้าง รวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องการผันเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะในอักษรกลาง ว่าสามารถผันเสียงใดได้บ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่างคำที่มีพยัญชนะอักษรกลางประกอบ ทำให้คุณเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้น ไปดูกันเลยว่าความรู้ที่เราจะสรุปให้ในวันนี้จะทำให้คุณมีความเข้าใจในเนื้อหาของพยัญชนะอักษรกลางมากขึ้นหรือไม่
ที่มาของพยัญชนะไทย และการแบ่งไตรยางศ์ อักษร 3 หมู่
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักคำว่าไตรยางศ์ และหลายคนก็ยังเข้าใจผิดอยู่ว่าการเขียนไตรยางศ์ สะกดด้วย ค์ หรือ ศ์ วันนี้เราขอบอกเลยว่าถ้าคำว่าไตรยางศ์ ในรูปแบบของพยัญชนะอักษร 3 หมู่ จะสะกดด้วย ศ์ ซึ่งหมายถึงคำที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า สาม รวมกับ องค์ หรือให้เข้าใจกันในความหมายของคำว่าสัดส่วน ดังนั้นคำว่าไตรยางศ์ ซึ่งหมายถึงการจัดแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 3 ส่วนนั่นเอง
ถ้าจะถามว่าพยัญชนะไทยมาจากไหน ? ก็มาจาก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นมาใช้โดยมีชื่อเรียกว่า “ลายสือไทย” ซึ่งในยุคแรกนั้นท่านได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรนั้นสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น และทรงกำหนดให้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดเดียวกับตัวอักษรแบบเดียวกับอักษรโรมัน และที่สำคัญทรงได้คิดค้นให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยทำให้เป็นเอกลักษณธอันโดดเด่นของภาษาไทยตราบจนถึงทุกวันนี้ และได้มีการแบ่งประเภทหมวดหมู่ออกเป็น 3 หมู่หรือไตรยางศ์ ที่เราเพิ่มทำความรู้จักไปเมื่อสักครู่ โดยประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ โดยใช้พื้นเสียงหรือระดับการออกเสียง (เสียงระดับสูงกลางต่ำ)เป็นตัวแบ่ง ซึ่ง อักษรสูง ประกอบไปด้วยพยัญชนะ 11 ตัว อักษรกลาง ประกอบไปด้วยพยัญชนะ 9 ตัว อักษรต่ำคู่ ประกอบไปด้วยพยัญชนะ 14 ตัว และ อักษรต่ำเดี่ยว ประกอบไปด้วยพยัญชนะ 10 ตัว ด้วยกันรวมทั้งสิ้น 44 ตัวครบถ้วน
อักษรกลางมีพยัญชนะตัวไหนบ้าง ? และมีวิธีการท่องจำอย่างไร ?
อักษรกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ซึ่งหลักการจำตัวพยัญชนะในหมวดหมู่นี้ก็ไม่ยากเลย สามารถท่องจำคำว่า ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง เพิ่ม ฎ กับ ฏ เท่านี้ก็รู้แล้วว่าในอักษรกลางมีพยัญชนะอะไรบ้าง
การผันเสียงวรรณยุกต์ ในพยัญชนะอักษรกลาง ผันได้อย่างไร
การอ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลาง ผันได้ 5 เสียง คือ มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้ตรี เป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา และ การมารยาทในการเขียนเป็นคุณลักษณะที่ดีของการสื่อสาร
หลักการผันวรรณยุกต์ในอักษรกลาง
- เมื่ออักษรกลาง + สระเสียงยาว ในแม่ ก กา จะผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง
- เมื่ออักษรกลาง + ตัวสะกด ด้วย แม่ กง กน กม เกย เกอว (คำเป็น) จะผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา พูดง่ายๆก็คือผันได้ครบนั้นเอง
ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา พูดง่ายๆก็คือผันได้ครบนั้นเอง
- อักษรกลาง + สระเสียงสั้น ในแม่ ก กา จะผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง
- อักษรกลาง + ตัวสะกด ด้วย แม่ กก กด กบ (คำตาย) จะได้ผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง ได้แก่ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา เท่านั้น
จุดสังเกตการผันวรรณ์ยุกต์ของอักษรกลาง
ถ้า อักษรกลาง รวมกับ คำเป็น จะผันได้ ครบทั้ง 5 เสียง คือเสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา แต่ถ้า อักษรกลาง รวมกับ คำตาย จะผันได้ เพียงแค่ 4 เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา เท่านั้น
6 ตัวอย่าง คำที่มีพยัญชนะอักษรกลางประกอบ
- จรวด หมายถึง อาวุธ หรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมากโดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองที่บรรทุกไปด้วยเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้ายจนเกิดแรงฉุดขับดันตัวจรวดให้หลุดพ้นแรงโน้มถ่วงของโลกออกสู่อวกาศได้ เชื้อเพลิงที่ใช้มีทั้งชนิดแข็ง และชนิดเหลว
- ตลาด หมายถึง ชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ
- เจ็บป่วย หมายถึง ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่น ที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น เจ็บไข้ได้ป่วย
- ลายกนก หมายถึง เป็นลายพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญของลายไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง อาจมีตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป
- สารปรอท หมายถึง เป็นโลหะหนักสีขาวมันวาวคล้ายเงินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ของเหลว ของแข็ง หรือแก๊สไม่มีสี โดยมักถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
- เต่า หมายถึง ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ดแข็งและที่เป็นแผ่นหนัง ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กันทั้งในน้ำและบนบก
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม