สระในภาษาไทย หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักของภาษา สระมีความสำคัญมาก เพราะพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระ จึงจะสามารถอ่านออกเสียงได้ ตลอดจนทำให้คำ ๆ นั้นมีความหมายขึ้นมายกตัวอย่างเช่น สระประสม เป็นการออกเสียงที่ใช้ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนกลาง และลิ้นส่วนหลังทำหน้าที่ออกเสียงร่วมกัน เสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นเสียงประสม ซึ่งไม่ว่าจะสระใดก็ล้วนเกิดขึ้นจากการออกสียงทั้งนั้น เพราะเสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
เสียงสระ สามารถแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้ดังต่อไปนี้
ในบางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง คือไม่รวมสระเกินทั้ง 8 เสียง เนื่องจากถือว่าเป็นพยางค์ ซึ่งมีหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้นทั้ง 3 เสียง คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และสระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น มาดูกันว่าเสียงสระ 5 เสียงที่เราจะพามารู้จักวันนี้มีอะไรบ้าง
- สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
- สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
- สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
- สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัว ปัจจุบันเสียงสระประสม มี 3 เสียง คือ สระเอีย สระเอือ สระอัว เนื่องจากสระเอียะ สระเอือะ สระอัวะ มีใช่น้อยมากหรือไม่พบการใช้สระประสมเหล่านี้ ได้แก่
- เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
- เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
- เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
- เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
- อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
- อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
- สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
- ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
- อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
- ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
- เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด
การจัดวางตำแหน่งของสระ มีผลต่อการออกเสียง
สระภาษาไทย ต่าง ๆ เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่งการจัดวางตำแหน่งดังต่อไปนี้
- ไม่ปรากฏรูปสระ ได้แก่ สระอะเมื่อมีตัว ร สะกด (-รร) สระโอะเมื่อมีตัวสะกด (โ–ะ) และสระออเมื่อมีตัว ร สะกด (-ร) เช่น สรร คน รก จง พร
- ข้างหน้าพยัญชนต้น ได้แก่สระอะเมื่อมีตัว ว สะกด (โ-ว) สระเอ (เ-) สระแอ (แ-) สระโอ (โ-) สระเออที่มีตัว ย สะกด (เ-ย) สระใอ (ใ-) และสระไอ (ไ-) เช่น โสว เก เซ เข แล แพ แก โต โพ โท เนย ใกล้ ใคร ใหญ่ ไป ไซ ไส
- ข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอะ (-ะ) สระอา (-า) สระออ (-อ) และ ร หัน (-รร) เช่น กะ จะ ปะ มา กา ตา ขอ รอ พอ ธรรม
- ไว้ข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอือเมื่อมีตัวสะกด (-ื) สระอิ (-ิ) สระอี (-ี) สระอึ (-ึ) และไม้หันอากาศ (–ั) เช่น บิ สิ มิ ปี ดี มี หึ สึ หัน กัน ปัน
- ข้างล่างพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอุ (-ุ) และสระอู (-ู) เช่น ผุ มุ ยุ ดู รู งู
- ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะ (เ-ะ) สระแอะ (แ-ะ) สระโอะ (โ-ะ) สระเอาะ (เ-าะ) สระเออะ (เ-อะ) สระเออ (เ-อ) และสระเอา (เ-า) เช่น เละ เตะ เกะ และ แพะ แกะ โปะ โละ เลอะ เถอะ เจอะ เจอ เธอ เรอ เกา เผา เรา
- ไว้ข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอะเมื่อมีตัวสะกด (เ–็) สระแอเมื่อมีตัว ร สะกด (เ—็ร) สระแอะเมื่อมีตัวสะกด (แ–็) สระเออะสระเออเมื่อมีตัวสะกด (เ–ิ) และสระเออะที่มีตัว ย สะกด (เ—็ย)
- ข้างบนและข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระอืเมื่อไม่มีตัวสะกด (-ือ) สระอัวะ (-ัวะ) สระอัว (-ัว) สระอำ (-ำ) สระเอา (เ-า) และสระเอาะเมื่อมีตัวสะกด (–็อ) เช่น มือ ถือ ลือ ผัวะ ยัวะ ตัว รัว หัว รำ ทำ จำ
- ข้างหน้า ข้างบน และข้างหลังพยัญชนะต้น ได้แก่ สระเอียะ (เ-ียะ) สระเอีย (เ-ีย) สระเอือะ (เ-ือะ) และสระเอือ (เ-ือ) เช่น เผียะ เพียะ เกียะ เสีย เลีย เปีย เสือ เรือ เจือ\
หวังว่าวันนี้น้อง ๆ หนู ๆ คงจะเข้าใจในเนื้อหาความหมายลักษณะของสระในภาษาไทยมากยิ่งขึ้น เพราะเราได้สรุปและยกตัวอย่างให้แบบจัดเต็มกันเลยทีเดียว ความฝึกฝนตนเองเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เราจะพบว่า มนุษย์เรานี้สามารถแสดงการมหัศจรรย์ต่างๆ ได้ เพราะการได้ฝึกฝนด้วยตนเองมาแล้วด้วยดี ดังนั้นถ้าอยากมีชีวิตที่ดี และประสบความสำเร็จต้องรู้จักใฝ่รู้ปละหมั่นศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมอยู่เสอ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม