คำไทยแบ่งออกเป็น 7 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำเพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำและประโยคเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนและการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ซึ่งคำแต่ละคำมีความหมาย ความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย และคำในภาษาไทยมีลักษณะแตกต่างจากภาษาอื่นๆคือ คำคำเดียวอาจทำหน้าที่ได้หลายอย่าง
คำ เป็นเสียงที่เราเปล่งออกมาตั้งแต่ 1 พยางค์ขึ้นไป ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ คำแตกต่างจากพยางค์ตรงที่ พยางค์จะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ แต่คำต้องมีความหมายเสมอ คำในภาษาไทยแบ่งตามหน้าที่ในประโยคได้เป็น 7 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ซึ่งคำทั้ง 7 ชนิดนี้ จะทำหน้าที่ต่างๆ ในประโยค เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง ชัดเจน คำบางคำมีหลายความหมาย และสามารถทำได้หลายหน้าที่ การที่จะรู้ความหมายที่ถูกต้องได้ต้องดูที่หน้าที่ของคำนั้นในประโยค วันนี้เราจะมาเจาะลึก ถึงชนิดของคำอุทานกัน ไปดูกันเลย
คำอุทานคืออะไร ?
สำหรับคำอุทาน คือ คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่นคำว่า อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น คำอุทาน เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ของผู้พูด มักจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับหลังคำอุทานนั้น คำอุทานใช้เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อให้การสื่อสาร มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ
ถ้าจะถามว่าทำไม เราต้องมาทำความรู้จัก หรือเรีนรู้เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย ก็เพื่อให้เราสามารถ ใช้ในการสื่อสารได้อย่าถูกต้อง เพราะการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ชนิดของคำอุทาน แบ่งได้ 2 ชนิด
1. คำอุทานบอกอาการ เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูด เช่น
ตกใจ ใช้คำว่า วุ้ย ว้าย แหม ตายจริง
ประหลาดใจ ใช้คำว่า เอ๊ะ หือ หา
รับรู้ เข้าใจ ใช้คำว่า เออ อ้อ อ๋อ
เจ็บปวด ใช้คำว่า โอ๊ย โอย อุ๊ย
สงสาร เห็นใจ ใช้คำว่า โธ๋ โถ พุทโธ่ อนิจจา
ร้องเรียก ใช้คำว่า เฮ้ย เฮ้ นี่
โล่งใจ ใช้คำว่า เฮอ เฮ้อ
โกรธเคือง ใช้คำว่า ชิชะ แหม
2. คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น เช่น
– เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด
– หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก
– พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ
หน้าที่หลักของคำอุทาน ที่คุณต้องรู้
เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าหน้าที่ของชนิดคำไทย ในหมวดของคำอุทานมีไว้เพื่ออะไร เพื่อที่เราจะได้ใช้อย่างถูกต้องในระหว่างการสื่อสาร เพราะการสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติไปดูกันเลยว่าหน้าที่ของคำอุทานมีอะไรบ้าง
- ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด เช่น
– ตายจริง! ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา
– โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ
– เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
- ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท เช่น
– ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป
– เมื่อไรเธอจะหางงหางานทำเสียที
– เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
- ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์ เช่น
– แมวเอ๋ยแมวเหมียว
– มดเอ๋ยมดแดง
– กอ เอ๋ย กอไก่
การสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียน ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสารต่อไป ซึ่งการสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน นอกจากนี้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ อีกด้วย จากเนื้อหาเรื่องชนิดของคำอุทานข้างต้นนี้ พอจะทำทุกคนได้เข้าใจลักษณะของคำอุทานมากขึ้น และสามารถนำไปสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามหลัก เพื่อให้เกิดความเข้าใจสูงสุด
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม