ในทุก ๆ ภูมิภาค ล้วนแต่มีภูมิปัญญาและลักษณะการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน จนก่อเกิดความเฉพาะในพื้นที่ ทั้งเรื่องของอาหาร การประกอบอาชีพ การสร้างบ้านเรือน รวมไปถึงภาษาที่ใช้ในการพูดด้วย ซึ่งเราเรียกว่าภาษาถิ่นนั่นเอง เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ และสำเนียง
ความหมายของภาษาท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
สำหรับภาษาถิ่นจะแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ ในทุกเรื่องของกลุ่มคเหล่านั้นทั้งเรื่อง ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่นนั่งเอง และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงฃลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น
ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้
ภาษาถิ่น 4 ภาคน่ารู้
ภาษาถิ่น เกิดจากสาเหตุการย้ายถิ่นฐาน เมื่อกลุ่มชนที่ใช้ภาษาเดียวกันย้ายถิ่นฐานไปตั้งแหล่งใหม่ เนื่องจากเกิดภัยธรรมชาติ มีการรุกรานของศัตรู เมื่อแยกย้ายไปอยู่คนละถิ่นนานาๆ ภาษาที่ใช้จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปเช่น เสียงเปลี่ยนไป คำและความหมายเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาษาถิ่นขึ้น มาลองทำความรู้จักกับการใช้ภาษาถิ่นของไทย ทั้ง 4 ภาคกันดู ว่าแต่ละภูมิภาคที่มีความเป็นอยู่ต่างกัน มีลักษณะของการใช้ภาษาที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
-
ภาษาถิ่นเหนือ
หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง) ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่ เป็นต้น
-
ภาษาถิ่นกลาง
ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
-
ภาษาถิ่นอีสาน
ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
-
ภาษาถิ่นใต้
ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
คุณค่าและความสำคัญของภาษาถิ่น
- ภาษาถิ่นเป็นวัฒนธรรมทางภาษาและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น
- ภาษาถิ่นเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารทำความเข้าใจและแสดงความเป็นญาติ เป็น พวกเดียวกันของเจ้าของภาษา
- ภาษาถิ่นต้นกำเนิดและเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยและวรรณคดีไทย การศึกษาภาษาถิ่นจะช่วยให้การสื่อสารและการศึกษาวรรณคดีได้เข้าใจลึกซึ่งยิ่งขึ้น
- การศึกษาและการใช้ภาษาถิ่น จะช่วยให้การสื่อสารได้มีประสิทธิภาพและสร้างความเป็นหนึ่งของคนในชาติ
6 ลักษณะของการออกเสียงของภาษาถิ่น
- มีการออกเสียงต่างๆ ถิ่น เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ ความห่างไกลขาดการติดต่อสื่อสารกันเป็นเวลานานมากๆย่อมทำให้ออกเสียงต่างกันไป
- การผสมกันทางเชื้อชาติเพราะอยู่ใกล้เคียงกันทำให้มีภาษาอื่นมาปน เช่น ภาษาอีสาน มีภาษากลางและเขมรมาปนเพราะมีเขตแดนใกล้กันทำให้ภาษาเปลี่ยนไปจากภาษากลาง
- การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน ทำให้ภาษาเปลี่ยนจากภาษากลาง
- หน่วยเสียงของภาษาถิ่นมีส่วนคล้ายกันและแตกต่างกัน หน่วยเสียงของภาษากลางมี 21 เสียง ภาษาถิ่นมีหน่วยเสียงตรงกันเพียง 17 เสียง นอกนั้นแจกต่างกัน เช่น ภาษาถิ่นเหนือและอีสานไม่มีหน่วยเสียง ช และ ร ภาษาถิ่นใต้ไม่มีหน่วยเสียง ง และ ร เป็นต้น
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาถิ่น แตกต่างกันไป ภาคใต้มีเสียงวรรณยุกต์ 7 เสียง ภาคเหนือและอีสานมีเสียงวรรณยุกต์ 6 เสียง เป็นต้น
- การกลายเสียงพยัญชนะในภาษาถิ่นเหนือ ใต้ อีสาน นั้นมีส่วนแตกต่างกันหลายลักษณะ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม