รวมเนื้อหาความรู้แบบสรุปให้ชัดเจน ในเรื่องของคำนาม หนึ่งในชนิดของคำในภาษาไทย ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะได้รู้แลคำในภาษาไทย สามารถจำแนกได้ 7 ชนิดด้วยกัน คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ในวันนี้เราจะมาเน้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนามกันแบบลึกซึ้ง พร้อมมีตัวอย่างประโยคประกอบรับรองว่าจะต้องสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมให้ได้อย่างแน่นอน
5 ประเภทของคำนามในภาษาไทย ที่ควรรู้
มาทำความรู้จักกับ คำนาม หนึ่งในชนิดของคำนาษาไทยที่ควรรู้ คำนาม หมายถึง ประเภทของคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ สามารใช้ได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต หรือทที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็นต้น และการระบุว่าคำนามเป็นคำนามชนิดไหนได้นั้น ก็ต้องอาศัยบริบท และการดูใจความสำคัญในประโยคที่กำหนดด้วย เนื่องจากคำหนึ่ง ๆ คำ สามารถที่จะทำหน้าที่แตกต่างกันไปในประโยคต่าง ๆ ได้ ซึ่งคำนามสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้เลย
-
สามานยนาม
เรียกว่า คำนามทั่วไป คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน หนังสือ ปากกา เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น : นักเรียนอ่านหนังสือ , แม่ซื้อผลไม้ในตลาด
-
วิสามานยนาม
เรียกว่า คำนามเฉพาะ คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน สัตว์ หรือสถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง ส้มโอท่าข่อย พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม เป็นต้น และข้อสังเกตสำหรับคำประเภทนี้ก็คือ คำวิสามายนามจำนวนมากมักใช้ตามหลังคำสามายนาม เช่น (ประเทศ) ไทย , (เรือพระที่นั่ง) สุพรรณหงส์ , (โรงพยาบาล) ศรีสะเกษ
ยกตัวอย่างเช่น : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการตั้งอยู่จังหวัดสมุทรปราการ , เด็กชายวุฒิชัยได้รับรางวัลเรียนดีเยี่ยม
-
สมุหนาม
คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ เช่น ฝูงผึ้ง กอไผ่ คณะนักทัศนาจร บริษัท พวกกรรมกร เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น : กองทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา , ฝูงนกบินออกหาอาหารในเวลาเช้าตรู่
-
ลักษณะนาม
เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณ ของคำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน เช่น บ้าน ๑ หลัง โต๊ะ ๕ ตัว คำว่า หลัง และ ตัว เป็นลักษณะนาม
- ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น วง หลัง แผ่นผืน บาน ลูก ใบ แท่ง ก้อน คัน ต้น ลำ เครื่อง ดวง กระบอก เส้น ปาก ขึ้น ขี่ แพ รางเม็ด ตับ เป็นต้น
- ลักษณนามบอกจำแนก เช่น กอง พวก เหล่า ฝูง หมวด หมู่ โขลง คณะ นิกาย สำหรับ ชุด ข้อ โรง ครอก ชั้น ฉบับ ระดับ จำพวก อย่าง ชนิด รูปแบบ ประเด็น เป็นต้น
- ลักษณนามบอกปริมาณ เช่น คู่ กุลี บาท ชั่ง กิโลกรัม ชะลอม ขวด หีบ หยด กล่อง ช้อน ถ้อย ลิตร ตุ่ม ไห โยชน์ เป็นต้น
- ลักษณนามบอกเวลา เช่น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ยก รอบ ครั้ง คราว สมัย ยุค หก ที ช่วง ศตวรรษ กะ เป็นต้น
- ลักษณนามบอกวิธีทำ เช่น จีบ มวน มัด ตับ ม้วน กำ ท่อน ห่อ หยิบ จับ ผูก เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น : บ้านหลังนี้ทาสีสวยมาก , ฟันน้ำนมน้องหัก ๒ ซี่
-
อาการนาม
คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง มักมีคำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า เช่น การกิน การเดิน การพูด การอ่าน การเขียน ความรัก ความดี ความคิด ความฝัน เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น : การเดินทางในครั้งนี้ปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง , ความรักทำให้คนตาบอด
รู้หรือไม่ว่าคำนาม มีหน้าที่อย่างไรในประโยคภาษาไทย
เมื่อเราได้รู้จักว่าคำนามคืออะไร และมีกี่ประเภทแล้ว ลองมาทำความรู้จักกันว่า หน้าที่ของคำนามคืออะไร และจะอยู่ส่วนไหนของรูปประโยคได้บ้าง ซึ่งวันนี้เราก็ได้พามารู้ 5 หน้าที่หลักของการใช้คำนามในประโยค
-
หน้าที่เป็นประธานของประโยค
ตัวอย่างประโยค : ประกอบชอบอ่านหนังสือ , นันทาปั่นจักรยานมาโรงเรียนทุกเช้า
-
ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ
ตัวอย่างประโยค : ธนิดาอ่านจดหมาย , สุนัขตัวนั้นกำลังไล่กัดแมวของฉัน
-
ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น
ตัวอย่างประโยค : สมศรีเป็นข้าราชการครู , นายสมศักดิ์ทนายความฟ้องนายปัญญาพ่อค้า
-
ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม
ตัวอย่างประโยค : เขาเป็นตำรวจแต่น้องสาวเป็นพยาบาล , พี่ชายของฉันทำงานเป็นครูที่โรงเรียนใกล้บ้าน
-
ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น
ตัวอย่างประโยค : พ่อของฉันจะเดินทางไปพังงาในวันเสาร์นี้ , รถขายขนมจะมาจอดหน้าโรงเรียนทุกวันเวลาบ่าย 3 โมง
ค้นหาชนิดของคำนาม จากนิทาน กระรอกเจาะมะพร้าว
มีหมู่บ้านเล็กๆ อยู่แห่งหนึ่ง หมู่บ้านนี้มีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่ริมฝั่งคลองคะโน้น ก็เป็นป่า ไม่มีบ้าน ผู้คน มีแต่สัตว์เล็กสัตว์น้อย ไอ้กระรอก กระแต สารพัด วันหนึ่งมีมะพร้าวต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งคลองนี้ เกิดมีลูกดกมากเหลือเกิน
มะพร้าวก็ทนน้ำหนักลูกไม่ไหวก็เลยเอนไป จนยอดมะพร้าวไปจดคลองฝั่งโน่น กระรอกเห็นมะพร้าวเอนมายังของตน หัวหน้ากระรอกตัวหนึ่งก็พูดขึ้นว่า “โอ้โฮ ! วันนี้พวกเราต้องกินมะพร้าวให้อิ่มหน่ำสำราญ เพราะมีมะพร้าวเอนมาฝั่งของเรา”
แล้วพวกกระรอกทั้งหลายก็ชวนกันขึ้นไปกินมะพร้าว จนน้ำมะพร้าวแห้งหมด มะพร้าวก็เลยเอนกลับที่เดิม กระรอกที่ติดอยู่บนต้นมะพร้าวก็เสียใจ ครั้นจะว่ายน้ำข้ามไปก็ว่ายไม่เป็น ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะกลับฝั่งของตนได้ กระรอกทั้งหลายต่างเศร้าโศกเสียใจ นั่งร้องไห้อยู่บนต้นมะพร้าวนั้น
ทีนี้ก็มีกระรอกหัวหน้าอยู่ตัวหนึ่ง ก็บอกว่าไม่ต้องเสียใจหรอก เรามาช่วยกันออก ความคิดเถอะ หัวหน้าก็บอกว่าเราต้องช่วยกันไต่ต้นมะพร้าวลงไปอมน้ำในแม่น้ำแล้วนำมากรอกใส่ใน ลูกมะพร้าวทุกลูก เมื่อมะพร้าวเต็มทุกลูก ต้นมะพร้าวก็จะเอนไปยังฝั่งคะโน้นอีก
จนในที่สุดผลของความเพียรพยายามและความสามัคคีก็มาถึง เมื่อกระรอกช่วยกันอมน้ำไปกรอกในลูกมะพร้าวจนเต็มทุกลูก ต้นมะพร้าวก็โน้มเอนลงไปยังฝั่งที่อยู่ของกระรอกตามเดิม กระรอกทุกตัวต่างก็ดีใจที่ได้กลับมายังฝั่งของตนเองได้อย่างปลอดภัย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม