คำประพันธ์ คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามรูปแบบที่กำหนดไว้ให้มีสัมผัสที่ไพเราะ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบและวิธีการประพันธ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งกลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสไม่มีบังคับเอกโทและครุ-ลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์ และวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านนั่นเอง
วันนี้มาลองเปิดใจทำความรู้จักกับกลอดพื้นบ้านที่แต่งง่าย และเป็นลักษณะของคำประพันธ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้อย่าง กลอนดอกสร้อย กันเถอะ
ลักษณะของคำประพันธ์ประเภท กลอนดอกสร้อย
กลอนดอกสร้อยมีรูปแบบคล้ายกับกลอนสุภาพ ฉันทลักษณ์คล้ายกันในเรื่องสัมผัส แตกต่างกันที่วรรคแรกที่มีเพียง 4 คำ สำหรับกลอนดอกสร้อย เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ไว้เพียง 8 วรรค คำที่ 2 ของกลอนสดับมีคำว่า เอย แล้วมีคำต่อเอยอีกไม่เกิน 3 คำ ใช้คำสุดท้ายของกลอนสดับส่งไปยังคำที่ 1,2,3 หรือ 4 คำใดคำหนึ่งของกลอนรับ แล้วคำสุดท้ายของกลอนรับ ส่งไปยังคำสุดท้ายของกลอนรอง คำสุดท้ายของกลอนรองส่งไปยังคำที่ 1,2,3 หรือ 4 ของกลอนส่ง คำสุดท้ายของกลอนส่ง ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนในบทที่แต่งให้จบ และจบลงด้วยคำว่า “เอย” เช่น “วัดเอ๋ย วัดโบสถ์” “แมวเอ๋ย แมวเหมียว” “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” เป็นต้น
บทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทยมาช้านาน มีลักษณะการแต่งเหมือนกับกลอนสุภาพและกลอนสักวาทุกประการ แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการขับร้อง วรรณคดีที่แต่งด้วยกลอนดอกสร้อย ได้แก่ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า มาจากบทกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Writen in a Country Churchyard ของทอมมัส เกรย์ Thormas Gray กวีอังกฤษผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง(กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 Elegy หมายถึงโคลงที่กล่าวไว้อาลัยหรือคร่ำครวญถึงผู้ที่จากไป โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร นิ่ม กาญจนาชีวะ ได้ประพันธ์จากต้นฉบับแปลของเสฐียรโกเศศ เป็นกลอนดอกสร้อยจำนวน 33 บท มุ่งแสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิต โดยเสนอแนวคิดหลักว่า มนุษย์ทุกผู้ทำนามไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือสามัญชนไม่มีผู้ใดหลีกหนีความตายไปได้ ถึงแม้ว่ากลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าจะเป็นวรรณคดีที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ แต่ผู้ประพันธ์ก็ไม่ละทิ้งความเป็นไทย เพราะเนื้อเรื่องได้ถูกปรับให้เข้ากับความเป็นไทยมากที่สุด
ฉันทลักษณ์ของการแต่งกลอน ดอกสร้อย
อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ว่า กลอน ดอกสร้อย มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ แต่ละวรรคใช้คำ 6-8 คำ แต่วรรคแรกจะมี 4 คำ คำที่ 2 ของวรรคแรกใช้คำว่า “เอ๋ย” ส่วนคำสุดท้ายของบทคือวรรคที่ 8 ใช้คำว่า “เอย” บทหนึ่งมี 4 คำกลอน หรือ 8 วรรคดังต่อไปนี้
- วรรคที่ 1 เรียกว่า วรรคสดับ
- วรรคที่ 2 เรียกว่า วรรครับ
- วรรคที่ 3 เรียกว่า วรรครอง
- วรรคที่ 4 เรียกว่า วรรคส่ง
การสัมผัสบังคับของกลอนดอกสร้อย จะมีลักษณะเฉพาะคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5ของวรรคที่ 2 ส่วนคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 และคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่ 4 รวมถึงการสัมผัสระหว่างบทคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6 ด้วย
ตัวอย่างคำประพันธ์ ประเภทกลอนดอกสร้อย
บทที่ 1 : กลอนแมวเหมียว
แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นหนักหนา
ร้องเรียก เหมียว เหมียว เดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู
รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง ค่ำ ค่ำ ซ้ำนั่งระวังหนู
ควรนับว่ามันกตัญญู คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย
บทที่ 2 : ตื่นนอน
ตื่นเอ๋ยตื่นนอน แม่เคยสอน กำชับ ให้พับผ้า
เก็บมุ้งหมอน เรียงไว้ ให้งามตา รีบล้างหน้า กวาดบ้าน ในทันใด
ในยามเช้า แสนสดชื่น จงตื่นเถิด ขอบฟ้าเปิด แสงทอง ผุดผ่องใส
มองน้ำค้าง พร่างขาว พราวพงไพร มีดอกไม้ อากาศ สะอาดเอย.
บทที่ 3 : แปรงฟัน
แปรงเอ๋ยแปรงฟัน แปรงทุกวัน สามครั้ง หลังอาหาร
ยาสีฟัน อย่าลืมนะ พอประมาณ แปรงนานนาน ขึ้นลง ตรงซอกฟัน
ของหวานหวาน หากชอบทาน มักฟันผุ ครูเคยดุ จงเชื่อคำ จำให้มั่น
หากฟันผุ มีกลิ่นปาก ลำบากครัน รีบพบหมอ เร็วพลัน ทันทีเอย
บทที่ 4 : ธงชาติ
ธงเอ๋ยธงชาติ เอกราช อธิปไตย ไทยคงมั่น
สีน้ำเงิน หมายถึงองค์ ทรงราชันย์ สีแดงนั้น ไม่แห้งเหือด เลือดเนื้อไทย
ศาสนา คือสีขาว เรายึดมั่น ไทยรักกัน เป็นสิ่ง ที่ยิ่งใหญ่
เรายืนตรง เชิญธงขึ้น ชุ่มชื่นใจ ร้องเพลงชาติ ก้องไป ทั่วไทยเอย
บทที่ 5 : คุณครู
คุณเอ๋ยคุณครู ให้ความรู้ แก่เราได้ ไม่หน่ายแหนง
เฝ้าสอนศิษย์ ทุกวัน หมั่นชี้แจง รู้เปลี่ยนแปลง รูปแบบ ให้แยบยล
รักศิษย์ ห่วงใย ให้ฉลาด ช่วยสร้างชาติ สร้างเด็กดี มีเหตุผล
มีระเบียบ วินัย ใจอดทน สร้างผู้คน เป็นคนดี ศรีไทยเอย
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม