คำประพันธ์ไทยประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีทั้งแต่งสลับกับคำประพันธ์ประเภทอื่นและแต่งเพียงลำพัง กาพย์ยานีบทหนึ่งมีสองบาท บาทละ 11 คำ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า กาพย์ยานี 11 กาพย์ยานี มีหลักฐานควรเชื่อว่าได้ชื่อมาจากคาถา ภาษาบาลี สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 – 3 วรรคแรก และคำที่ 3 – 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย
แบบฉันทลักษณ์ของประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี 11
หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 คำ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป
คำประพันธ์ประเภทกาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และการสัมผัส มีลักษณะที่คล้ายกับฉันท์แต่ไม่นิยมมากนัก ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวีได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ การวางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์ และใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า “คำฉันท์” เหมือนกัน
6 ข้อต้องจำลักษณะของการแต่ง คำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี 11 ที่ถูกต้องครบถ้วน
- บทหนึ่งมี 2 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำ จึงเรียกว่า กาพยยานี 11
- สัมผัสมีดังนี้ คำสุดทายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 (เลื่อนมาคำที่ 1 หรือ 3 ก็ได) คำสุดท้าย ของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ถ้าจะแต่งบทตอไป จะต้องให้คำสุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป ซึ่งถือเป็นสัมผัสระหว่างบท ในการแต่งกาพย์ยานี 11 นั้น ถ้าจะให้คำ สุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคที่ 4 ด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้น และในปัจจุบันนิยมให้สัมผัสกันด้วย
- ถ้อยคำที่ใชในวรรคเดียวกันนิยมให้มีสัมผัสในเหมือนกลอนจึงจะไพเราะ
- คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตายหรือคำที่มีวรรณยุกต์ และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ หรือ จัตวา
- กาพย์ยานีนั้น อาจเรียกว่า กาพย์ยานีลำนำ หรือ กาพย์ 11 ก็ได้เหตุที่เรียกกาพย์ยานีนั้นเขาใจว่า เป็นกาพย์ที่แปลงมาจากฉันทบาลีใน “รันตสูตร” ซึ่งขึ้นต้นดวยคำว่า “ยานี” จึงเรียกตามคำขึ้นต้น
- กาพย์ยานี มักนิยมแต่งเป็นบทสวด บทเห่เรือ บทพากย์โขน และบทสรภัญญะที่ใช้ในบทละคร และมักนิยมแต่งเกี่ยวกับตอนที่เป็นบทพรรณนาโวหาร หรือตอนที่ชมสิ่งต่าง ๆ หรือตอนที่โศกเคราคร่ำครวญนั่นเอง
หลักการอ่านออกเสียงคำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี 11
การอ่านบทร้อยกรอง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ อ่านแบบธรรมดา อ่านแบบเจรจา และอ่านแบบทำนองเสนาะ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจการอ่านบทร้อยกรองอย่างลึกซึ้ง บทร้อยกรอง เป็นบทประพันธ์ที่ผู้แต่งคิดประดิษฐ์เรียบเรียงถ้อยคำ แต่ละวรรค แต่ละบท อย่างประณีตบรรจงตามลักษณะกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ ทำให้เกิดเสียง จังหวะ ลีลาที่งดงาม เกิดความไพเราะเพลิดเพลินไปกับน้ำเสียงและเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ
การอ่านกาพย์ยานี 11 เป็นคำประพันธ์ไทย ประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีรูปแบบดังนี้ บทหนึ่งมีสองบาท เรียกว่า บาทเอกและบาทโท บาทละ 11 คำ วรรคหน้ามี 5 คำ แบ่งการอ่านได้ 2/3 วรรคหลัง 6 คำ แบ่งจังหวะการอ่านได้ 3/3 การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11 ในแต่ละครั้ง ควรศึกษาบทร้อยกรองนั้นก่อนเพื่อให้สามารถอ่านได้ถูกต้อง
หลักสำคัญในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง คือจะต้องอ่านออกเสียงให้ชัดเจนและถูกต้องตามอักขรวิธี
มีการอ่านเว้นจังหวะวรรคตอนให้ถูกต้องตามลักษณะของบทร้อยกรองแต่ละประเภท รู้จักทอดจังหวะเอื้อนเสียง หรือหลบเสียง น้ำเสียงในการอ่านต้องชัดเจน นุ่มนวลน่าฟัง เสียงไม่เบาหรือดังมากจนเกินไป การเน้นเสียงแสดงอารมณ์ให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น รัก ร่าเริง โกรธ เศร้า โดยใช้น้ำเสียงให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ จะทำให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับการฟังมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างคำประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี 11 และความหมายของบทประพันธ์
มาลองดูตัวอย่างของคำประพันธ์ประเภทกาย์ยานี 11 กันบ้าง หลาย ๆ คนอ่านเคยอ่านเจอกันมาบ้างแล้ว ตัวอย่างนี้มีที่มาจาก เนื้อหา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ อยู่ในบทเรียนรายวิชาภาษาไทย ซึ่งมีความหมายว่า “จะทำการสิ่งใด ให้ตรึกตรองและคิดให้รอบคอบ เพื่อที่จะทำการนั้นประสบความสำเร็จ หาดประมาณอาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดีขึ้นได้ รวมถึงให้มีสติรู้ตัวอยู่ในทุก ๆ เวลา ไม่ว่าจะเป็น กิน นอน หรือแม้แต่การเดินก็ตาม”
๏ อย่าด่วนครรไล กรกรีดแหวนบรางควร
ทอดตาลิลาจวน สะดุดบาทจักพลาดพลำ
๏ อย่าเดินทัดมาลา เสยเกบควรทำ
จีบพกพลางขานคำ สะกิดเพื่อนสำรวลพลาง
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11 ธรรมชาติ
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11 เพื่อน
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11 อาหาร
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11 ความรัก
ตัวอย่างกาพย์ยานี 11 วันพ่อ
ขอบคุณเนื้อหาเพิ่มเติม : https://www.digitalschool.club/ และ https://th.wikipedia.org/
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม