บ้านทุกหลังต้องมีพระพุทธรูปประจำบ้านถือเป็นการ ไหว้พระประธาน ซึ่งเป็นพระองค์ใหญ่ที่สุดวางข้างบนสุดอยู่ตรงกลางของหิ้งถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้านั้นเอง ตามด้วยพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำหน้าที่ปกปักรักษาคนในบ้าน สร้างความอุ่นใจไม่น้อย อย่างไรก็ตามจะต้องให้ความสำคัญกับท่านเสมอ เข้าไปกราบไหว้บูชา เปลี่ยนดอกไม้ธูปเทียน ก่อนอื่นเราขอแนะนำการจัดหิ้งก่อนว่าควรทำอย่างไรและในตำแหน่งใดบ้าง
วิธีจัดหิ้งพระพุทธรูป
เรื่องของฮวงจุ้ยไม่เพียงจำเป็นต้องนำมาใช้กับการสร้างบ้านเท่านั้น หิ้งพระเองก็จำเป็นต้องใช้ เพื่อเป็นการส่งเสริมพลังดี ๆ เข้ามาในบ้าน โดยการจัดหิ้งพระในบ้านตามหลักฮวงจุ้ยจะต้องหันไปทางทิศเหนือหรือทางประตูบ้าน เพราะเป็นทิศที่ดีที่สุดและตรงนั้นควรเป็นจุดศูนย์กลาง นั้นคือห้องโถงหรือห้องรับแขก เปรียบเสมือนหัวใจด้านสุขภาพนั้นเอง รวมถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวยและความสุข ยิ่งเป็นบริเวณที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก แต่ไม่ควรให้ที่ตรงนั้นเป็นมุมอับและไม่หันหน้าหิ้งพระเข้าบ้านจะเป็นการลดพลังงานอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ๆ ได้ ที่สำคัญอย่าลืมที่จะทำความสะอาดอยู่เสมอและต้องมีแสงสว่าง ก่อนจะติดตั้งหิ้ง เราไปดูกันว่าควรติดตั้งตรงไหนและดีอย่างไร
1.ทิศเหนือ เชื่อกันว่าเป็นทิศทางสวรรค์ ดังนั้นใครที่กำลังจะติดตั้งต้องเลือกจุดนี้ที่เหนือห้องรับแขก ไม่ใช่แค่การตั้งเพื่อ ไหว้พระประธาน หรือพระพุทธรูปเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ ก็สามารถนำมาวางไว้ได้เช่นกัน
2.หิ้งพระต้องหันไปทางประตู
นอกจากทิศเหนือของบ้านจะเป็นทิศที่ดีที่สุดแล้ว การหันหน้าหิ้งไปชนกับประตูบ้าน ถือเป็นตำแหน่งที่ดีตามหลักฮวงจุ้ยเสริมสิริมงคลให้แก่บ้าน เมื่อมีแขกมาเยือนรวมถึงตัวเจ้าของบ้านด้วยจะต้องแสดงความศรัทธาต่อหิ้งพระก่อนเสมอเป็นอันดับแรก อีกทั้งเป็นความเชื่อด้วยว่าท่านจะช่วยปกปักรักษาคนในบ้านให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
3.หิ้งพระต้องอยู่สูง
เมื่ออยากจะ ไหว้พระประธาน หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มในบ้านจะต้องมีความเคารพศรัทธาต่อสิ่ง ๆ นั้นโดยการให้หิ้งอยู่สูง ๆ กว่าพื้นอย่างน้อย 5 ฟุตและหมั่นทำความสะอาดทั้งพระพุทธรูปและหิ้งพระอยู่เสมอ ที่สำคัญควรให้หิ้งมีความสว่าง โดยการมีไฟติดไว้
4.หิ้งพระจะต้องโล่ง กว้างจึงจะดี
หากสังเกตจะเห็นว่าหิ้งพระส่วนมากจะอยู่ห้องโถงหรือในห้องรับแขก เพราะเป็นที่โล่งกว้าง ผู้คนพบเห็นง่ายและถือเป็นจุดศูนย์กลางของบ้านที่ทุกคนมักมารวมตัวกัน ถือเป็นการสร้างพลังงานหมุนเวียนให้แก่บ้าน ดังนั้นก่อนจติดตั้งหิ้งพระจะต้องคำนึงถึงว่าไม่ควรอยู่ในมุมอับ อย่างห้องน้ำ ห้องนอน ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะจะเป็นการลดพลังของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
5.หิ้งพระหันไม่ควรหันหน้าเข้าบ้าน
เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านอย่างพระพุทธรูปหรือเครื่องราง ของขลัง ยันต์และสัญลักษณ์ที่ถือเป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ส่งเสริมให้พลังของเหล่านั้นรงกล้ามากขึ้น ควรจัดให้หันหน้าออกไป เพื่อให้ฉายพลังงานครอบคลุมไปทั่วบ้าน
ให้ท่านได้ปกปักรักษาคนในครอบครัวนั้นเอง
สิ่งของบูชา ไหว้พระประธาน และพระในบ้าน
- เตรียมธูป 3 ดอกไว้สำหรับบูชาและ ไหว้พระประธาน มีควงามหมายคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
- เทียนจำนวน 2 เล่มหมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
- ดอกไม้เป็นดอกอะไรก็ได้ที่มีความหมายดี ๆ ซึ่งเราจะมาบอกในหัวข้อถัดไป ซึ่งควรให้ความสำคัญเพราะหมายถึง การสักการะพระสงฆ์
- น้ำเปล่าที่ต้องมีไหว้เสมอ เพราะหมายถึง การระลึกถึงน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้า
- ผลไม้และขนมหวานเลือกได้ว่าจะถวายหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ
1.ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปและพระสงฆ์สื่อถึงคุณธรรม ความบริสุทธิ์และความประเสริฐ
2.กุหลาบ เป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความรักและจะนำพามาซึ่งความสุขสมหวัง
3.กล้วยไม้ หมายถึงความสำเร็จ ส่งเสริมให้การงานราบรื่นและพบมิตรภาพที่ดี
4.ดาวเรือง หากนำมา ไหว้พระประธาน จะทำให้พบแต่ความเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา
5.มะลิ ตัวแทนของความรักอันบริสุทธิ์ นำพามาซึ่งความสุขสมบูรณ์
6.ดอกพุด ไหว้พระประธาน สื่อถึงความบริสุทธิ์ นำพามาซึ่งความเจริญมั่นคง
7.ดอกเบญจมาศ เป็นดอกไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมนำมา ไหว้พระประธาน เพราะเป็นตัวแทนของความยั่งยืน
บทสวดบูชาพระในบ้านและ ไหว้พระประธาน
ก่อนเริ่มสวดมนต์แนะนำว่าควรทำจิตใจให้สงบ มีสมาธิกับสิ่งนี้ ตั้งจิตให้มั่น พร้อมกล่าวคาถาบูชา โดยจะต้องเริ่มจากการตั้งนะโม 3 จบ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คําบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ ระตะนัตตะยัสเสวะ
อะภิปูเชมะ อัมหากง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง หิตะสุขาวะหา
โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อิเมหิ สักกาเรหิ สักกัจจัง อะภิปูชะยามิ
ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาธูปเทียน
และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้
จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน
จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส เทอญ ฯ
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
“อะหัง สุขิโต โหมิ”
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
“อะหัง นิททุกโข โหมิ”
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
“อะหัง อะเวโร โหมิ”
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
“อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ”
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
“อะหัง อะนีโฆ โหมิ”
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
“อะหัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ”
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
“สัพเพ สัตตา”
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
“อะเวรา โหนตุ”
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
“อัพพะยาปัชฌา โหนตุ”
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
“อะนีฆา โหนตุ”
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
“สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ”
จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
บทแผ่ส่วนกุศล
“อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข
“อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข
“อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข
“อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
“อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
“อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
“อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา”
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ
คําสวดลาของไหว้
ตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำบูชาว่า
เสสัง มังคะลายาจานิ
ลูกขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล เพื่อยังประโยชน์เพื่อความสุขความเจริญแก่ลูกด้วยเถิด
สำหรับการ ไหว้พระประธาน หรือพระพุทธรูปประจำบ้าน ไม่จำเป็นต้องรอแค่วันพระเท่านั้น สามารถทำได้เป็นประจำทุกวัน เพราะการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์พร้อมกล่าวคำบูชา จะช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิ ใจสงบ ซึ่งส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตดำเนินไปแต่ละวัน อย่างไรก็ตามหากบ้านมีพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์มั่นกราบไหว้ท่านเสมอ เพื่อส่งเสริมความเป็นสิริมงคล
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม