เดิมทีการสวดมนต์ไหว้พระก็เป็นกิจวัตรที่ไม่ใช่เพียงพระสงฆ์เท่านั้นที่พึงกระทำ แต่ปุถุชนผู้เลื่อมใสในพุทธศาสนาก็สามารถกระทำได้เช่นกัน ซึ่งมีคำกล่าวว่าผู้ใดที่หมั่นสวดมนต์และรู้จักการกำหนดจิตของตนเองอยู่เป็นประจำ จะทำให้เกิดอานิสงค์อันดีต่อบุคคลผู้นั้น ดังนั้น เราจึงได้รู้จักบทสวดมนต์ต่าง ๆ ที่เป็นรูปแบบของคำสอนของพระศาสดาที่ถูกส่งต่อมาในยุคปัจจุบัน หนึ่งในบทสวดมนต์ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยอย่าง ชินบัญชร ก็เป็นที่นิยมในการยกมาเป็นบทสวดประจำบ้าน แต่ถึงอย่างนั้นก็คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบที่ไปที่มาของบทสวดนี้ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่นำสาระน่าสนใจมานำแบ่งปันกัน
ต้นกำเนิดบทสวด ชินบัญชร
บทสวด ชินบัญชร ที่เรารู้จักและใช้สวดกันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลงานการปรับแก้มาจากต้นฉบับแรกเริ่มโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ซึ่งบทสวดฉบับเริ่มต้นนั้นเป็นคาถาที่ถูกประพันธ์ขึ้นมาโดยพระเถระที่ไม่ได้ระบุนามจำนวน 14 รูปของแผ่นดินเมืองลังกา จุดประสงค์ในการสร้างนั้นก็เพื่อใช้เป็นคาถาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เภทภัยต่าง ๆ ที่เกิดแก่เชื้อพระวงศ์ของแผ่นดินลังกา ต่อมาคาถาที่ว่านี้ก็ถูกส่งต่อและเผยแพร่ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เพราะพบคาถานี้ถูกใช้ในแผ่นดินพม่าด้วย ในส่วนของแผ่นดินไทยนั้นก็มีการนำคาถานี้มาใช้ในงานราชพิธีของราชวงศ์มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
สำหรับบทสวด ชินบัญชร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตได้ทำการปรับปรุงให้เข้าใจง่ายและสิ้นลง ถือว่าเป็นฉบับสมบูรณ์ที่ถูกใช้ในประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพราะเป็นบทสวดที่ถูกบรรจุเอาไว้ในหนังสือสวดมนต์ทุกเล่มก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นบทสวดที่กล่าวกันว่าให้ผลดีในทางพุทธคุณต่อผู้ภาวนา จะหนุนนำให้ชีวิตห่างไกลอันตราย บันดาลให้ข้ามผ่านอุปสรรคโดยง่าย และเสริมสิริมงคลให้คนผู้นั้นด้วย จึงมีคนนิยมสวดคาถานี้มากทีเดียว
บทสวด ชินบัญชร ฉบับเต็ม
ผู้ที่ก่อนจะเริ่มต้นสวดบท ชินบัญชร ให้เริ่มจากการสวดบทนมัสการพระรัตนตรัย 3 จบพร้อมระลึกถึงสมเด็จพุฒาจารย์ผู้แต่งบทสวดนี้ก่อนเสมอ ซึ่งต้องทำเช่นนี้ทั้งการสวดฉบับเต็มและแบบย่อ
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
บทที่ 1
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
บทที่ 2
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา
บทที่ 3
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
บทที่ 4
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
บทที่ 5
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
บทที่ 6
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
บทที่ 7
กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร
บทที่ 8
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
บทที่ 9
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
บทที่ 10
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
บทที่ 11
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
บทที่ 12
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา
บทที่ 13
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
บทที่ 14
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
บทที่ 15
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ
บทสวด ชินบัญชร ฉบับย่อ
ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา
แปลว่า ขอพระชินบัญชรปริตต์ จงคุ้มครองรักษาข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
คาถา ชินบัญชร ควรสวดกี่ครั้งจะเกิดผลดี
สำหรับการสวด ชินบัญชร ที่แก้ไขโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีด้วยตนเองนั้น มีคำแนะนำว่าควรสวดให้ได้ที่ 9 จบและต้องสวดต่อเนื่องเป็นประจำ แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นสวดอย่างจริงจังหากสามารถสวดได้อย่างน้อยวันละ 3 จบก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว เพราะคาถาที่มีผลทางพุทธคุณทุกบทจะเกิดอานิสงค์ตามที่หวังหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของผู้สวดเป็นหลัก ไม่เพียงแค่การต้องหมั่นสวดคาถานี้เป็นประจำแล้ว ยังต้องวางตัวให้อยู่ในขอบเขตของศีลธรรมด้วย เพราะอานิสงค์ที่จะบังเกิดแก่ตัวผู้สวดก็มาจากการคิดดีปฏิบัติดีร่วมกับการภาวนาด้วย
สวดคาถา ชินบัญชร ได้เพราะไม่มีบารมีจริงหรือไม่
สำหรับการสวดคาถา ชินบัญชร บางคนเคยตั้งคำถามทำนองว่าทำอย่างไรก็ไม่สามารถจำคาถานี้ได้ขึ้นใจแล้วคิดเอาเองว่าไม่มีบารมีมากพอ กับความเชื่อแบบนี้เกรงว่าจะผิดต่อกุศโลบายของการสวดมนต์ไปพอสมควร เพราะการสวดคาถานี้สามารถทำได้ทุกคน เพียงแค่จะสามารถจำได้ขึ้นใจได้ในเวลาอันสั้นหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้สวดว่ามีจิตจดจ่ออยู่กับคาถานี้หรือไม่ อีกทั้งมีความเข้าใจต่อบทสวดที่ท่านยกมาหรือยัง เพราะบทสวดทุกบทเป็นคำสอนที่พระอาจารย์ต่าง ๆ แนะนำให้เหล่าพุทธศาสนิกชนได้นำใช้เพื่อพิจารณาจิตใจตน หากท่านเข้าใจหลักการนี้ก็จะสวดทุกคาถาได้อย่างลื่นไหล
การจะเริ่มสวดคาถา ชินบัญชร ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ จะต้องเริ่มจากการสวดบทนมัสการพระรัตนตรัยก่อนเสมอ และระหว่างการสวดคาถาให้ครบทุกจบจะต้องพึงระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ โตด้วย ระหว่างที่สวดคาถาแต่ละบทก็ต้องพิจารณาความหมายของบทสวดแต่ละส่วนนั้นไปพร้อมกันด้วย เพื่อจะได้เข้าถึงแก่นแท้ของบทสวดอย่างแท้จริง อีกทั้งจะได้ทราบว่าบทสวดที่กล่าวถึงอยู่นี้ต้องการสื่อสารอะไรกับผู้นำไปใช้ภาวนาด้วย
การสวดคาถา ชินบัญชร ย่อมให้ผลดีต่อผู้สวดทุกคนอย่างแน่นอน สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นกับการสวดคาถานี้อย่าเพิ่งด่วนท้อใจไป ค่อย ๆ เรียนรู้ให้เข้าถึงใจความสำคัญของบทสวดนี้อย่างถ่องแท้ แม้จะเสียเวลาไปมากแต่ก็ไม่ถือว่าเสียหายอะไร อีกทั้งต้องไม่ลืมการประพฤติตนให้อยู่ในขอบเขตความดีเสมอ รู้จักการให้ทาน ไม่เบียดเบียนใคร เชื่อว่าอานิสงค์ที่ได้จากการสวดคาถานี้ก็จะบังเกิดแล้วช่วยคุ้มภัยให้แก่ท่านเสมอ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม
แสดงความคิดเห็นกันหน่อย 😎