โดยทั่วไปพุทธศาสนิกชนจะมีสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต และครองตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม หลีกเลี่ยงการพาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ซึ่งนำพามาสู่การสร้างบาปให้เกิดขึ้นได้โดยง่าย ซึ่งสิ่งนั้นก็คือศีล 5 ที่เรียกได้ว่าเป็นหลักธรรมคำสั่งสอนรวมถึงเป็นข้อห้ามปฏิบัติที่ศาสนาพุทธมีการปลูกฝัง รวมถึงสอนให้เด็ก ๆ ได้น้อมนำมาปฏิบัติกันตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะฉะนั้นเมื่อต้องมีกล่าวถึงการรักษาศีลหลายคนก็อาจจะคิดไปถึงแค่ในส่วนของศีลห้าข้อที่รับรู้กันมาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงการรักษาศีลตามข้อปฏิบัติของศาสนาพุทธนั้นยังมีอยู่อีกหลายประเภท หนึ่งในนั้นก็คือการถือศีล 8 นั่นเอง ดังนั้นในบทความนี้เราจะนำเอาเรื่องราวของถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง รวมไปถึงขั้นตอนในการเริ่มถือศีล 8 มาฝากทุกคนกัน
จำให้ขึ้นใจ ถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง
จากที่เราได้เกริ่นไปแล้วว่าหากมีการพูดถึงเรื่องของข้อห้ามและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศีลต่าง ๆ ในศาสนาพุทธนั้น หลายคนก็คงจะคุ้นชินกับ ศีล 5 มากกว่าศีล 8 เนื่องจากเป็นสิ่งที่ท่องจำและถูกปลูกฝังให้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายรุ่นแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นมันจึงไม่แปลกที่ใครหลายคนอาจจะไม่รู้มาก่อนว่าการถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง รวมไปถึงยังไม่รู้ว่าแต่ละข้อห้ามซึ่งถูกกำหนดเอาไว้แล้วนั้นมีรายละเอียดในการปฏิบัติอย่างไร ดังนั้นสำหรับใครที่อยากจะทำความรู้จักกับศีล 8 และเรียนรู้หลักการปฏิบัติในศาสนาพุทธเพิ่มเติมจากที่ทุกคนรู้กันมา ก็สามารถอ่านรายละเอียดที่เรานำมาฝากได้ที่ด้านล่างนี้เลย
ปาณาติปาตา เวรมณี : ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
เป็นข้อห้ามเพื่อให้ผู้ที่ยึดถือปฏิบัติละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ซึ่งถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือเป็นงานงดเว้นจากการทำร้ายและทำลายให้สัตว์ใดก็ตามถึงแก่ความตาย ซึ่งผู้ที่ถือศีล 8 แบบไม่เคร่ง ก็จะยังคงมีการบริโภคเนื้อสัตว์ขนาดเล็กเช่นปลาหรือไข่ได้บ้าง แต่จะไม่ทานเข้าไปเพียงเพื่อความอร่อยและความบันเทิง แต่จะมีการระลึกตลอดจนขอบคุณในการสละชีวิตของสัตว์เหล่านั้นเพื่อให้ตนเองได้อิ่มท้องนั่นเอง ซึ่งข้อห้ามในส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามสำคัญที่ไม่ว่าทุกคนจะถือศีล 5 ศีล 8 หรือพระสงฆ์ซึ่งจะต้องถือศีลเป็นจำนวน 227 ต่างก็มีการระบุหลักการปฏิบัติในข้อนี้เอาไว้เป็นสำคัญด้วยนั่นเอง
อทินนาทานา เวรมณี : ห้ามลักขโมย
ข้อห้ามในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องการถือศีล 8 ที่บ้านและผู้ที่ต้องการถือศีลอย่างเคร่งครัดจะต้องผ่านข้อปฏิบัติในส่วนนี้ให้ได้ ซึ่งก็คือการละเว้นจากการถือเอาของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง หรือก็คือต้องครองตนให้ห่างจากการลักเล็กขโมยน้อยต่าง ๆ รวมไปถึงการฉกฉวยเอาสิ่งที่เป็นของผู้อื่น มาเป็นข้อตนเอง ซึ่งผู้ที่ถือศีล 5 กันเป็นปกติอยู่แล้ว ก็คงพอจะรู้กันมาบ้างว่าหนึ่งในหลักปฏิบัติสำหรับการถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างในข้อนี้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายแต่ก็ละเว้นได้ยากเหมือนกันในกลุ่มคนบางกลุ่ม เนื่องจากความโลภที่เกาะแน่นภายในจิตใจนั่นเอง
อพรหมจริยา เวรมณี : ห้ามประพฤติผิดพรหมจรรย์
สำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับการถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างในข้อนี้ เป็นข้อห้ามที่ทุกคนจะต้องละเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ หรือประพฤติผิดในกาม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการถือศีล 5 ตรงนี้บุคคลทั่วไปซึ่งถือศีล 5 นั้นในข้อห้ามที่ว่าด้วยเรื่องของการประพฤติผิดในกามจะยังสามารถมีคู่ครองของตนเองได้ แต่สำหรับอพรหมจริยา เวรมณี สำหรับผู้ที่ถือศีล 8 นี้จะหมายถึงการละเว้นจากการร่วมประเวณีทั้งปวง ไม่ว่าจะกับใครหรือด้วยวิธีการใดก็ตาม เนื่องจากตามความเชื่อและหลักปฏิบัตินั้นกล่าวเอาไว้ ว่าการกระทำการเพื่อสนองความใคร่ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหนทางที่พาตนเองให้ลุ่มหลงอยู่กับกิเลสและตัณหานั่นเอง
มุสาวาทา เวรมณี : ห้ามพูดโกหก ว่าร้าย นินทา
ผู้ที่จะต้องครองตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ตลอดจนอยากจะถือศีล 8 นั้น จะต้องทำการเรียนรู้ว่าถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างโดยเฉพาะข้อที่กล่าวเอาไว้ว่า ‘มุสาวาทา เวรมณี ’หรือก็คือการเว้นจากการกล่าวเท็จ คำโกหก ส่อเสียด ให้ร้าย นินทา รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะต้องมีการให้ความสำคัญกับการรักษาศีลในข้อนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากกรรมในรูปแบบของวจีกรรมนั้น เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของกรรมที่กระทำได้อย่างง่ายดาย และเป็นเหตุให้ต้องผิดศีลกันได้อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้นผู้ที่จะทำการรักษาศีล 8 จึงจำเป็นจะต้องมีการะมัดระวังการกระทำผิดบาปไม่ว่าจะในรูปแบบของ กายกรรม มโนกรรม หรือวจีกรรมอย่างเข้มงวดนั่นเอง
ห้ามดื่มสิ่งของมึนเมา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : ห้ามดื่มสิ่งของมึนเมา
ถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างในข้อต่อมา ก็คือข้อห้ามซึ่งว่าด้วยเรื่องของการละเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นสาเหตุของความประมาทและเหตุอันนำพาไปสู่การทำผิดศีลข้ออื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยทุกคนก็อาจจะรู้กันมาบ้างอยู่แล้วว่าสุรานั้นคืออะไร และสามารถที่จะหลีกเลี่ยงรวมไปถึงพาตนเองให้ออกห่างจากสุรากันได้ไม่ยาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่เราต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่ามันสิ่งต้องห้ามและเป็นหนึ่งในต้นเหตุของการเกิดกิเลส รวมไปถึงความทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมาย แต่สำหรับเมรัยนั้นหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้กันอย่างแน่ชัดว่าน้ำในลักษณะแบบไหนกันที่จัดว่าเป็นเมรัย ซึ่งหากจะให้อธิบายอย่างง่าย ๆ เมรัยก็คือเครื่องดื่มที่เกิดจากการมักด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น เบียร์หรือไวน์ รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากผลไม้หมักทั้งหลายเป็นต้น
วิกาลโภชนา เวรมณี : ห้ามทานอาหารยามวิกาล
มาในส่วนของใครที่อาจจะส่งสัยว่าการถือศีล 8 กินอะไรได้บ้าง ในหัวข้อนี้เราได้มีคำตอบมาให้แล้ว โดยข้อห้ามในข้อนี้นั้นจะเป็นการกล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ซึ่งทำการรักษาศีล 8 จะต้องละเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เพื่อเป็นการฝึกให้มีความอดทนต่อความทรมานทั้งจากทางร่างและทางจิตใจ (ความหิว) ทั้งยังเป็นการฝึกผู้ปฏิบัติให้รู้จักควบคุมความอยากหรือกิเลสที่เกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นอาหารหรือเครื่องดื่มสำหรับผู้รักษาศีล 8 ที่สามารถทานได้หลังจากพ้นมื้ออาหารปกติไปแล้วก็จะเป็นพวกน้ำปานะ เช่นน้ำผลไม้ที่มีการกรองเอากากใยออกจนหมดแล้ว ส่วนนมหรือไมโล โอวัลติน ที่หลายคนมีความเข้าใจมาตลอดว่าสามารถทานเพื่อดับความกระหายได้เหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นน้ำปานะ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรดื่มกินนั่นเอง
นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี : ห้ามฟ้อนรำ ร้องเพลง
สำหรับอีกหนึ่งหลักการปฏิบัติสำหรับการถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างที่คนทั่วไปอาจจะไม่เคยคิดมาก่อน ว่ามันถูกกำหนดเอาไว้ว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามสำคัญเช่นกัน และอาจจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่าทำไมข้อห้ามดังกล่าวถึงมีการถูกนำเอามาใช้สำหรับผู้ที่ต้องรักษาศีลด้วย ซึ่งข้อห้ามและหลักการปฏิบัติที่กล่าวถึงนั่นก็คือการละเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง เล่นดนตรี ดูการละเล่น หรือแต่งกายด้วยดอกไม้รวมไปถึงของหอมทุกประเภท เนื่องจากผู้ที่ครองตนอยู่ในศีลนั้นจะต้องรักษากิริยาทางท่างอันสงบเสงี่ยม ทั้งยังจะต้องมีความชื่นชมยินดีกับพระธรรมคำสอนมากกว่าความรื่นเริงในทางโลก เพราะฉะนั้นการวางเฉยและไม่ยุ่งเกี่ยวกับความรื่นเริงอันเป็นเหตุของกิเลสจึงเป็นสิ่งที่ผู้รักษาศีลพึงระวัง
อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี : ห้ามนอนบนที่นอนสูงใหญ่
และสำหรับความรู้ในเรื่องของถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้างในข้อสุดท้ายนี้ จะเป็นข้อห้ามที่ว่าเอาไว้ด้วยการละเว้นจากการนั่งหรือการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ รวมไปถึงการนอนบนที่นอนซึ่งมีการประดับตกแต่งเอาไว้อย่างวิจิตรสวยงามจนเกินความจำเป็น เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความนุ่มสบายจนเกินควร และเป็นเหตุให้เกิดความพอใจในสิ่งของ ซึ่งนับว่าเป็นเพียงหนึ่งในสิ่งของนอกกาย อันนำพามาสู่จุดเริ่มต้นของการเกิดกิเลสภายในจิตใจได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ถือศีลจำเป็นจะต้องนอนให้ง่าย และเรียนรู้ความเป็นจริงในสัจจธรรมของมนุษย์ ไม่มีสิ่งใดในโลกจีรัง ทั้งความปวด ความเมื่อย ทุกสิ่งล้วนผ่านมาและผ่านไปทั้งสิ้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าด้วยเหตุผลเช่นนี้การไม่ลุ่มหลงไปกับความสุขสบาย แม้กระทั่งตอนนอนจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำความเข้าใจสัจธรรมที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตนเองก็ได้นั่นเอง
ขั้นตอนการรับศีลสำหรับผู้ที่ต้องการถือศีล 8 ที่บ้าน
หลังจากที่ทุกคนได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง รวมไปถึงได้มาวิเคราะห์กันแบบง่าย ๆ ไปแล้วว่าทำไมข้อห้ามที่ถูกกำหนดเอาไว้นั้นจึงทำให้หลายคนสามารถพาตัวเองออกมาให้ห่างไกลจากกิเลสได้ จึงเกิดความรู้สึกที่ต้องการจะถือศีล 8 บ้าง แต่ก็ไม่ได้สะดวกที่จะเดินทางไปตามสถานที่ปฏิบัติธรรมต่าง ๆ เพราะฉะนั้นในหัวข้อสุดท้ายของบทความนี้เราจะมาแบ่งปันเรื่องราวรวมไปถึงขั้นตอนการรับศีลสำหรับผู้ที่ต้องการถือศีล 8 ที่บ้าน ให้ทุกคนได้ลองนำเอาไปทำตามกันดู
โดยผู้ที่สามารถถือศีล 8 ได้นั้นไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องเป็นใครหรือผู้ที่ประกอบอาชีพใดเป็นพิเศษ เพราะทุกคนสามารถเริ่มที่จะทำการเข้าใกล้พระธรรมและฝึกตนเองเพื่อการทำกรรมดีได้ง่าย ๆ ด้วยการรักษาศีลตามที่เราได้เรียบเรียงเอาไว้ให้แล้วด้านบนว่าถือศีล 8 ห้ามทําอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นใครที่ต้องการถือศีล 8 ที่บ้านก็สามารถยึดตามข้อปฏิบัติเหล่านั้น พร้อมทำตามวิธีการรับศีลที่เราจะแนะนำให้ด้านล่างนี้ได้เลย
- ขั้นตอนแรกให้ทุกคนตั้งมั่นในความต้องการที่จะถือศีลด้วยใจอันบริสุทธิ์ ทำสมาธิให้เกิดความสงบ จากนั้นมห้กล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีล ดังนี้
คำอาราธนาอุโบสถศีล (กล่าวคนเดียว)
อะหังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามิ
ตะติยัม อะหังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามิ
- เมื่อกล่าวบทอาราธนาอุโบสถศีลจบแล้ว ให้ทำการกล่าวคำอาราธนาศีล 8 และบทสมาทานศีล 8 โดยกล่าวตามรายละเอียด ดังนี้
คำอาราธนาศีล 8
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะสะหะ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ
บทสมาทานศีล 8
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมป สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
- เมื่อกล่าวจบแล้วก็ให้ทำการกล่าวบท อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ สามครั้งก็เป็นอันเสร็จสิ้น