เกิดเป็นคนไทยและชาวพุทธการบวชหรืออุปสมบทเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพราะคนไทยเชื่อว่านั้นคือการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ให้ได้เกาะชายผ้าเหลืองของลูกขึ้นสวรรค์ ซึ่งช่วงอายุที่จะเริ่มประกอบพิธีคือเบญจเพสหรืออายุ 25 ปีนั้นเอง จึงทำให้หลายครอบครัวตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าเมื่อถึงเวลาลูกจะต้องโกนหัว ห่มผ้าเหลือง จึงให้ความสำคัญกับ ฤกษ์ บวช อย่างมาก บางคนประจวบเหมาะกับช่วงเข้าพรรษาพอดี ก็ถือเป็นเวลาอันเหมาะสมมากมายทีเดียว เพราะเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดฤดูฝนเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ข้อดีของ ฤกษ์ บวช ช่วงเข้าพรรษา
อย่างที่เรากล่าวไปว่า ฤกษ์ บวช ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างมากและทำให้รู้สึกว่าตัวผู้บวชนั้นเป็นดั่งพระสงฆ์เถรวาท เพราะช่วงนี้เองท่านได้อธิษฐานว่าจะพักประจำสักที่ตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือนเต็ม อีกทั้งเหล่าพุทธศาสนิกชนได้ออกมาทำบุญ ฟังเทศน์กันพร้อมหน้า แต่อย่างไรทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ความตั้งใจ การบวชไม่เพียงได้ทำให้ได้ศึกษาคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า บทสวดต่าง ๆ แล้วยังถือเป็นการมุ่งที่จะกำจัดทุกข์ให้หมด พร้อมขัดเกลาจิตใจของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกมากมายสำหรับการบวชช่วงเข้าพรรษา ดังนี้
1.สภาพอากาศเหมาะสมและเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะพระใหม่ยังไม่คุ้นชิ้นกับการนุ่งเหลืองห่มเหลือง สภาพอากาศล้วนส่งผลต่อสมาธิ การใช้ชีวิต หากร้อนมากเกินไปทำให้สภาพร่างกายไม่สบาย ส่งผลต่อสมาธินั้นเอง ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทางโลกและทางธรรมเช่นกัน หากนาวมากเกินไปร่างกายที่ไม่ได้สวมเครื่องนุ่งห่มหนาพออาจจะทำให้หนาวสั่นต้องหาไออุ่นอย่างการผิงไฟ ฉะนั้นฤดูที่เหมาะที่สุดในการบวชคือ ฤดูฝน สภาพอากาศในเวลานั้นเหมาะแก่การศึกษาพระธรรม
2.พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่เป็นครูบาอาจารย์อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา เนื่องจากหากดูตามพระวินัยแล้วพระภิกษุที่เป็นครูบาอาจารย์ห้ามออกไปไหนตลอดพรรษา ดังนั้นหากใครที่เลือก ฤกษ์ บวช เช้าเข้าพรรษาจะพบว่ามีครูบาอาจารย์อยู่ทุกองค์ ส่งผลให้การเรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระภิกษุครูบาอาจารย์เต็มที่มากกว่าทุก ฤกษ์ บวช
3.เป็นค่านิยมของคนไทย ว่าพระใหม่ควรเลือก ฤกษ์ บวช ในช่วงฤดูเข้าพรรษา เพราะsลูกศิษย์จะได้พบพระภิกษุสงฆ์ครูบาอาจารย์อย่างพร้อมหน้า
4.ครอบครัวและญาติโยมได้ร่วมฟังเทศน์ด้วยกันอย่างพร้อมหน้า เพราะเมื่อพระลูกพระหลานของตนได้เข้าพิธีอุปสมบทก็ต้องอยากมาร่วมทำบุญ พร้อมข้าวปลาอาหาร เป็นภาพบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุขทั้งญาติโยมได้ฟังธรรม พระลูกพระหลานได้เข้าศึกษาธรรมะ
ฤกษ์ บวช ปีใหม่ไทยและสากลเดือนแห่งการวมญาติ
ช่วงโอกาสพิเศษเหล่าสาธุชนต่างให้ความสนใจในเรื่องของการทำบุญต้อนรับและเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ซึ่งสำหรับคนไทยมีทั้งหมด 2 ช่วงคือปีใหม่สากลเดือนมกราคมและปีใหม่ไทยเดือนเมษายน มักจะเลือกเป็น ฤกษ์ บวช เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ตามความเชื่อของประเพณีไทย อีกทั้งเหล่าญาติมิตรสหายต่างมารวมตัวกัน เพราะเป็นวันหยุดยาวที่ใคร ๆ ก็ต่างเดินทางกลับบ้านเพื่อมาหาครอบครัว บรรยากาศแห่งความสุขจึงเกิดขึ้นการอุปสมบทจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพราะต่างมีหน้าที่กลับไปทำงานนั้นเอง เราไปดูกันว่าหากต้องจัดงานช่วง 2 เดือนนี้วันไหนบ้างที่เหมาะสม
ฤกษ์ บวช เดือนมกราคม 2566
ปีใหม่สากลเป็นชเดือนที่มี ฤกษ์ บวช หลายวันที่ถือเป็นวันดีมากมาย สามารถเลือกได้ว่าจะเริ่มประกอบพิธีอุปสมบทวันไหน วันนี้เราได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว อย่างไรก็ลองดูกันว่าวันใดเหมาะ หากไม่ถือสามารถเลือกฤกษ์สะดวกได้เช่นกัน ดังนี้
- วันที่ 4 มกราคม 2566 วันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (เฉพาะผู้หญิง)
- วันที่ 9 มกราคม 2566 วันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 10 มกราคม 2566 วันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 18 มกราคม 2566 วันพุธ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (เฉพาะผู้ชาย)
- 19 มกราคม 2566 วันพฤหัสบดี แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (เฉพาะผู้หญิง)
- 21 มกราคม 2566 วันเสาร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 27 มกราคม 2566 วันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนสาม (๓) ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
ฤกษ์ บวช เมษายน 2566
ปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่คนไทยนิยมบวชกัน เพราะเป็นวันหยุดยาวที่เต็มไปด้วยประเพณี พิธีกรรมอันงดงามเกิดขึ้นมากมายทั่วประเทศไทย อีกทั้งญาติพี่น้องได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง การเลือก ฤกษ์ บวช ช่วงนี้จึงมีความน่าประทับใจไม่น้อย ลองเลือกกันว่าหากต้องเข้าพิธีอุปสมบทควรเป็นวันไหน ดังนี้
- 1 เมษายน 2566 วันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบท (ทั้งชาย และหญิง)
- 2 เมษายน 2566 วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (เฉพาะผู้ชาย)
- 10 เมษายน 2566 วันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 11 เมษายน 2566 วันอังคาร แรม ๖ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 19 เมษายน 2566 วันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชาย และหญิง)
- 29 เมษายน 2566 วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชายและหญิง)
- 30 เมษายน 2566 วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีเถาะ ฤกษ์ดีเหมาะแก่การอุปสมบทและลาสิกขา (ทั้งชายและหญิง)
ประโยชน์ของการอุปสมบทที่คนไทยต้องรู้
1.ข้อแรกเลยอย่างที่ทุกคนทราบกันการบวชคือหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ถือเป็นเรียนรู้ศาสนา หลักคำสั่งสอนรวมไปถึงรักษาศาสนาพุทธให้มั่นคง เพราะหลักคำสอนแต่ละข้อของพระพุทธเจ้าล้วนชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้มีสติ ทำความดีและไมเบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งหากมองในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมอยู่กันอย่างสงบนั้นเอง
2.ทำให้คนประพฤติตนในศีลในธรรม ในการบวชไม่ใช่แค่การท่องบทสวดเท่านั้น ยังต้องศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต การบวชหรืออุปสมบทจึงเป็นเหมือนการรักษาพุทธศาสนาให้คงไว้อย่างสง่างาม ซึ่งต้องยอมรับว่าพุทธศาสนาทำให้หลายคนเป็นคนดี มีจิตใจที่เมตตา
3.การเข้าพิธีอุปสมบทคือการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ เพราะตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เชื่อว่าลูกบวชแล้วพ่อแม่จะได้รับบุญมหาศาลนี้ไปด้วย หรือที่เรียกว่าจับชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ หากมองในเรื่องของหลักความเป็นจริง การบวชช่วยให้จิตใจพ่อแม่อิ่มเอม ได้เห็นลุกเข้าวัดบวชเป็นพระตามหน้าที่ของชาวพุทธ ถือเป็นการรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองอีกด้วย
4.การบวชได้ใช้เวลาหนึ่งในการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง ไปจนถึงการพัฒนาชีวิตตัวเองด้วยพฤติกรรมที่ดีทั้งกายวาจาใจ ให้มีทั้งความไม่เบียดเบียนผู้อื่น เข้มแข็ง เป็นสุขได้กับเรื่องง่าย ๆ และมีปัญญาในการแก้ไขปัญหา
วันนี้หากใครที่มีแพลนว่าจะบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ ฤกษ์ บวช ที่เราได้รวบรวมมาไว้ให้สำหรับช่วงปีใหม่สากลและปีใหม่ไทย คงพอทำให้ได้มีแนวทางแล้วว่าควรเลือกช่วงใดจึงจะเหมาะสมและส่งเสริมความเป็นมงคล แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่ที่จิตใจ ความพร้อม ฤกษ์ บวช ไม่อาจฟิกได้หรือการันตีว่าจะทำให้เกิดผลดีหากผู้บวชหรือร่วมพิธีไม่สะดวก สามารถเลือกดูตามความต้องการได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาติดขัดหรือสร้างความไม่สบายใจ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://sites.google.com/site/karbwch/kar-bwch/prayochn-khxng-kar-bwch
- https://www.dhammakaya.net/blog/2012/07/07/บวชเข้าพรรษา-ดีอย่างไ�%A
📕 อ้างอิงรูปภาพ
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม