รู้หรือไม่ว่าเครื่องหมายวรรคตอนมีความสำคัญอย่างไร ? ในชีวิตประจำวันหรือการสื่อสารของภาษาเขียน หลายคนคงเคยเห็นเครื่องหมายวรรคตอนผ่านตากันมาบ้าง แต่ก็อาจจะไม่คุ้นกับชื่อเรียกที่ถูกต้อง วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับชื่อเรียกของเครื่องหมายวรรคตอนที่สำคัญ และยังได้รับความนิยมในการใช้ในยุคปัจจุบัน ว่ามีเครื่องหมายอะไรบ้าง และมีรูปแบบการใช้งานอย่างไร ซึ่งต้องบอกเลยว่าเครื่องหมายที่ใช้เขียนกำกับคำ กลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความให้เด่นชัดเพื่อให้อ่านได้ถูกต้อง และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ชัดเจนขึ้น ในภาษาไทยมีเครื่องหมายวรรคตอนใช้อย่างหลากหลาย
โลกออนไลน์ในทุกวันนี้ นอกจากการสะกดคำให้ถูกต้องแล้ว เพื่อน ๆ ยังต้องให้ความสำคัญกับการ “เว้นวรรค” กันด้วยนะครับ เพราะเว้นวรรคจะช่วยให้ประโยคสามารถอ่านได้อย่างไหลลื่นมากยิ่งขึ้น! แต่ในภาษาไทยเรานั้นมีเครื่องหมายและคำจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เราเกิดความสับสนงงงวยกันไม่ใช่น้อย ว่าเราควรจะเว้นวรรคด้านหน้าคำหรือหลังคำดีนะ วันนี้เราได้ได้รู้กัน
เครื่องหมายวรรคตอนคืออะไร และมีการใช้งานเหมือนหรือแตกต่างกัน
เป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยกันว่าเครื่องหมายวรรคตอนมีรูปแบบการใช้งานที่เหมือนกันหรือไม่ เพราะเป็นเครื่องหมายที่ใช้ขั้นระหว่างพยัญชนะ แต่จริงๆแล้วการใช้เครื่องหมายวรรคตอนมีลักษณะเฉพาะของแต่ละเครื่องหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วก็จะมีความหมายของการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้น ๆ จะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน
สำหรับเครื่องหมายวรรคตอน ในภาษาไทยก็มีหลากหลายรูปแบบ และแต่ละชนิดมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้มีการเว้นวรรคที่แตกต่าง โดยแบ่งเป็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
- เว้นวรรคหน้าและหลังเครื่องหมาย ให้เว้นวรรค 1 เคาะ ทั้งหน้าและหลังเครื่องหมาย ได้แก่ ไม้ยมก (ๆ) ไปรยาลใหญ่ (ฯลฯ) ทวิภาค (:) และเครื่องหมายเสมอภาคหรือเท่ากับ (=)
- เว้นวรรคหลังเครื่องหมาย ให้เว้นวรรคโดยการเคาะ 1 ครั้งหลังเครื่องหมาย ได้แก่ จุลภาค หรือลูกน้ำ (,) อัฒภาค หรือจุดครึ่ง (;) ไปรยาลน้อย (ฯ) และ มหัพภาค หรือจุด (.)
- เว้นวรรคหน้าและหลังข้อความในเครื่องหมาย ให้เว้นวรรคโดยการเคาะ 1 ครั้งหน้าเครื่องและหลังข้อความในเครื่องหมาย ได้แก่ อัญประกาศ (“ ”) และ วงเล็บ ( )
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง ถูกตำแหน่งก็จะช่วยให้ประโยคนั้น ๆ มีความสมบูรณ์และง่ายต่อการทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเครื่องหมายวรรคตอนถือว่ามีความสำคัญมากในภาษาเขียน เพื่อให้การสื่อสารเป็นเรื่องที่เข้าใจ และผู้อ่านสามารถที่จะรับสารได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องมานั่ง งง เพราะตัวหนังสือที่เรียงติดกันยาว ๆ
มาทำความรู้จักเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้ในยุคปัจจุบันนี้
รู้หรือไม่ว่าเครื่องหมายวรรคตอนที่เราใช้กันในทุกวันนี้มีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง บอกคนรู้จักชื่อตามลักษณะของสัญลักษณ์ ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการและถูกต้อง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับชื่อที่ถูกต้องของเครื่องหมายวรรคตอน และรู้จักวิธีใช้ให้ถูกหลักไวยกรณ์ จะมีเครื่องหมายใดบ้างไปดูกันเลย
- มหัพภาค . เป็นเครื่องหมายรูปจุด ใช้เขียนหลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นคำย่อ เช่น พุทธศักราช = พ.ศ. ใช้เขียนตำแหน่งแสดงจุดทศนิยม เช่น ๐๙.๓๐ น. และใช้เขียนหลังตัวเลขกำกับข้อย่อย เช่น 1. 2. 3. เป็นต้น
- เสมอภาค = เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดแนวนอนสองเส้นขนานกัน เขียนอยู่กลางบรรทัด ปกติใช้เพื่อแสดงความเทียบเท่ากันของสิ่งที่อยู่ทางซ้ายและทางขวา
- จุลภาค , ใช้เขียนคั่นคำเพื่อแยกข้อความออกจากกัน เช่น ผลไม้หลากชนิด เช่น มะม่วง , มังคุด , ละมุด , ลำไย หรือ ใช้คั่นตัวเลข เช่น 2,000 บาท
- วงเล็บ นขลิขิต (…) เป็นเครื่องหมายวงเล็บ ใช้เขียนคร่อมข้อความเพื่ออธิบายคำที่อยู่ข้างหน้า เช่น พระเนตร (ตา )
- ยัติภังค์ – เป็นเครื่องหมายแยกพยางค์ เช่น สวรรคต อ่านว่า สะ – หวัน – คด
- อัญประกาศ “…. ” เครื่องหมายคำพูด ใช้คร่อมข้อความที่ต้องการเน้น เช่น แม่บอกว่า “ ลูกต้องเป็นเด็กดี ” เพื่อเน้นข้อความให้เด่นชัดขึ้น
- ปรัศนี ? เป็นเครื่องหมายคำถาม ใช้เขียนหลังประโยคคำถาม เช่น เธอจะไปไหน ?
- อัศเจรีย์ ! เครื่องหมายตกใจ ใช้หลังคำอุทาน เช่น โอ๊ย ! หรือใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น ปัง!
- ไม้ยมก หรือ ยมก ๆ ใช้เขียนหลังคำเพื่อออกเสียงอ่านซ้ำ เช่น ต่างๆ อื่นๆ
- ไปยาลน้อย ฯ เป็นเครื่องหมายละข้อความนั้นๆให้สั้นลง เช่น กรุงเทพฯ
- ไปยาลใหญ่ ฯลฯ เป็นเครื่องหมาย ละ ข้อความ ใช้เขียนหลังข้อความที่ยังไม่จบ แสดงว่า ยังมีข้อความประเภทเดียวกันอีกมาก เช่น บ้านฉันปลูกดอกไม้หลายชนิด เช่น มะลิ กุหลาบ ชบา ฯลฯ
- สัญประกาศ …….. เครื่องหมายขีดเส้นใต้ ใช้ขีดใต้ข้อความเพื่อให้สังเกตได้ชัดเจน เช่น ฉันไม่ต้องการอะไรมากไปกว่า ปัจจัยสี่
- บุพสัญญา ” เป็นเครื่องหมาย ละ ใช้แทนคำหรือข้อความบรรทัดบน เพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก เช่น มะม่วง กิโลกรัมละ 30 บาท
มังคุด ” 35 บาท
- ทับ / เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย ใช้แบ่งคำออกเป็นสองส่วน อ่านว่า ทับ เช่น บ้านเลขที่ 543/78
- ทวิภาค : เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นจุดสองจุดเรียงตามแนวตั้ง ใช้บ่งบอกว่ากำลังจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แยกไว้เป็นข้อ ๆ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม