พยัญชนะไทยมีมาตั้งแต่โบราณ และได้รับความนิยมแพร่หลายมาจนถึงในยุคปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็นอักษร 3 หมู่ หรือที่เราเรียกกันว่าไตรยางศ์นั่นเอง ไตรยางค์ คือ การแบ่งพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว ออกเป็น 3 ส่วน โดยอักษรสามหมู่ประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำหลาย ๆ คนต้องเคยได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำกันมาบ้าง และวันนี้เราจะมาสรุปความเข้าใจให้จำง่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพยัญชนะที่อยู่ในหมวดหมู่ของอักษรสูง หรือวิธีการท่องจำ รวมไปถึงการผันเสียงวรรณยุกต์ของพยัญชนะในกลุ่มนี้ด้วย
การแบ่งพยัญชนะไทย แบบไตรยางศ์ อักษร 3 หมู่
การแบ่งอักษรเป็นสามหมู่ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปผันคำ ทั้งนี้เพราะอักษรแต่ละหมู่มีความสามารถในการผันคำได้แตกต่างกัน พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว นอกจากจะสามารถแบ่งออกเป็นสามหมู่ หรือที่เรียกว่าไตรยางค์ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ซึ่งในอักษรต่ำ ซึ่งมีทั้งหมด 24 ตัว ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น อักษรคู่ และอักษรเดี่ยวได้อีกด้วย
อักษรสูงมีอะไรบ้าง และมีวิธีการท่องจำอย่างไร ?
อักษรสูงมีทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่ตัว ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ซึ่งเราสามารถที่จะใช้หลักในการท่องจำพยัญชนะอักษรสูงง่าย ๆ ก็คือ เศรษฐี ฝาก ถุง ผ้า ห่อ ไข่ ส่ง ให้ ฉัน เพิ่ม ฃ อีก 1 ตัว ซึ่งประโยคนี้จำไม่ยาก รับรองจำได้แม่น หรือหลาย ๆ คนอาจจะจำรูปประโยค ผี ฝาก ถุง ข้าว สาร ให้ ฉัน ก็ได้เช่นกัน แต่ในอักษรพยัญชนะเสียงสูงหนึ่งเสียง สามารถหมายถึงพยัญชนะมากกว่า 1 ตัวอักษร ยกตัวอย่างเช่น
- คำจำว่า ถุง พยัญชนะ ถ อ่านว่า ถอ ซึ่งหมายถึงอักษรสูง ในตัวพยัญชนะ ถ และ ฐ
- คำจำว่า ข้าว พยัญชนะ ข อ่านว่า ขอ ซึ่งหมายถึงอักษรสูง ในตัวพยัญชนะ ข และ ฃ
- คำจำว่า สาร พยัญชนะ ส อ่านว่า สอ ซึ่งหมายถึงอักษรสูง ในตัวพยัญชนะ ส ษ และ ศ
การผันเสียงวรรณยุกต์ อักษรสูง ผันได้กี่เสียงกันแน่นะ ?
การออกเสียงพยางค์ที่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน และสระเสียงเดียวกัน แต่เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป การแบ่งอักษรเป็นสามหมู่ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปผันคำ ทั้งนี้เพราะอักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ มีพื้นเสียง และวิธีการผันคำที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ คำเป็นและคำตาย ก็ยังมีวิธีการผันคำที่แตกต่างกันอีกด้วย
อักษรสูง คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว หาม ถาง ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอก จะได้เสียงเอก เช่น ข่าว ฝ่า ส่ง เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้าว ฝ้า ส้ง จะเห็นได้ว่า “ อักษรสูง คำเป็น” ผันได้ ๓ เสียง คือ เสียงเอก โท ตรีและจัตวา
อักษรสูง คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขด ผด ขบ ดังนั้น เมื่อผันด้วยวรรณยุกต์โท จะได้เสียงโท เช่น ข้ด ห้ก จะเห็นได้ว่า “ อักษรสูง คำตาย” ผันได้ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และโท
จุดสังเกตการผันวรรณยุกต์ อักษรสูง
- ถ้าอักษรสูง รวมกับ เสียงสั้น แม่ ก กา หรือ รวมกับคำตาย จะผันได้ 2 เสียง คือ เสียงเอก และ เสียงโท
- ถ้าอักษรสูง รวมกับ เสียงยาว แม่ ก กา หรือ รวมกับคำเป็น จะผันได้ 3 เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงจัตวา
9 ตัวอย่างคำ และความหมายที่มีพยัญชนะต้น เป็นอักษรสูง
สำหรับใครที่ยังจำไม่ได้ว่าอักษรสูงมีพยัญชนะตัวไหนบ้าง ลองมาฝึกจำตัวอย่าง 9 คำต่อไปนี้เป็นคำที่เราใช้ และพบเห็นกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน
- ขนม หมายถึง น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล
ของหวาน ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
- ฝรั่ง หมายถึง ชนชาติผิวขาว คําประกอบชื่อสิ่งของบางอย่างที่มาจากต่างประเทศ
ซึ่งมีลักษณะคล้ายของไทย เช่น ขนมฝรั่ง ละมุดฝรั่ง มันฝรั่ง ตะขบฝรั่ง
ผักบุ้งฝรั่ง แตรฝรั่ง และหมายถึงชื่อไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด
- ผัก หมายถึง พืชต่าง ๆ ที่ใช้จิ้มหรือปรุงเป็นอาหาร, พืชจำพวกหนึ่งโดยมากต้นเล็กๆ
ใช้เป็นอาหารหรือทำยา เช่น ผักกาด
- เฉลี่ยวฉลาด หมายถึง มีปัญญาและไหวพริบดี หรือเรียกอีกอย่างว่า ฉลาดเฉลียว
- สงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ คือประเพณีฉลองวันปีใหม่ของไทยเรา ประชาชนมักทำ
ความสะอาดบ้าน ทำบุญ ทำทาน มีการระเล่นพื้นบ้าน และที่สำคัญ ขาดไม่ได้คือ การเล่นน้ำสงกรานต์
- ถังดับเพลิง หมายถึง เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันซึ่งบรรจุน้ำ
หรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ, พร้อมมือจับ, ไกเปิด/ปิด , สลักนิรภัย, และสายฉีด ออกแบบไว้สำหรับการดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม
- หงส์ หมายถึง ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด
เช่น หงส์ขาว นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์
- ศิลาจารึก หมายถึง เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบน
เนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์
- ขบวนรถไฟ หมายถึง รถไฟที่มีการจัดเป็นแนวเป็นแนว หรือเป็นหมวดหมู่ รถไฟ เป็นกลุ่ม
ของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราง 2 เส้นขนานกัน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม