สำหรับนักเรียนไทยสิ่งที่ต้องเรียนเมื่ออยู่ในช่วงประถม นั่นก็คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับตัว อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ ที่เป็นเนื้อหาส่วนสำคัญที่จะช่วยการฝึกฝนการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนได้อย่างดี เพราะเรื่องพวกนี้จะเกี่ยวกับการใช้วรรณยุกต์ในการสร้างคำในภาษาไทยขึ้นมา ซึ่งหากใช้ไม่ถูก หรือใช้อย่างผิด ๆ ความหมายของคำก็อาจจะเปลี่ยนไปได้ ดังนั้นทางข้าวตังจึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง อักษรสูง กัน
ตัว อักษรสูง ในภาษาไทยมีอะไรบ้าง
สำหรับตัวอักษรจะประกอบไปด้วย : ผ ฝ ฐ ถ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ
เทคนิคในการจำตักอักษรระดับสูง
วิธีการจำอย่างง่าย : ผี (ผ) ฝาก (ฝ) ถุง (ฐ,ถ) ข้าว (ข,ฃ) สาร (ศ ษ ส) ให้ (ห) ฉัน (ฉ)
การผันวรรณยุกต์ด้วยตัว อักษรสูง สามารถทำได้อย่างไร
ในการผันวรรณยุกต์ชนิดนี้จะยากกว่าอักษรกลางนิดหน่อย เพราะตัวอักษรเสียงสูงมีหลายตัวอักษรมาก ๆ ก็คือมีทั้งหมด 11 ตัวเลยทีเดียว และการใช้ก็ยังมีความทับซ้อนกับอักษรต่ำด้วย ในกรณีที่อยากจะผันวรรณยุกต์ให้ได้ 5 เสียง แต่ถ้าจะเอาแค่ อักษรสูง ก็จะมีหลักการในการผันวรรณยุกต์ดังต่อไปนี้
คำเป็น คือ คำที่มีการออกเสียงสระยาว และคำที่มีการสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว (จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้) โดยหลักการผันวรรณยุกต์จึงสามารถออกได้ 3 เสียง เอก โท จัตวา (อยู่ในรูป)
คำตาย คือ คำที่มีการออกเสียงสระสั้น และคำที่มีการสะกดในแม่ กก กด กบ (จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้) โดยหลักการผันวรรณยุกต์จึงสามารถออกได้ 2 เสียง ได้แก่ เอก โท
ในการจดจำตัวอักษรสูงและตัวอักษรกลางได้ จะช่วยในเรื่องของการผันวรรณยุกต์ได้เป็นอย่างดี แนะนำว่าให้ท่อง 2 อย่างนี้ให้ได้อันไหนเสียงสูง อันไหนเสียงกลาง เพราะถ้าจำ 2 อันนี้ได้ แสดงว่าอักษรที่เหลือจะเป็นอักษรต่ำนั่นเอง
ตัวอย่างการใช้ อักษรสูง ในการผันวรรณยุกต์
ในเนื้อหาส่วนต่อมาก็จะเป็นการยกตัวอย่างการใช้ อักษรสูง ในการผันวรรณยุกต์ ที่จะมีการใช้เสียงในการผันเพียงแค่ 3 เสียง คือ เอก โท จัตวา ถ้าการผันนอกเหนือจากนี้ส่วนมากจะใช้ในอักษรต่ำในการผันวรรณยุกต์ให้ครบทั้ง 5 เสียง แต่เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการผันแค่เสียงสูงเท่า โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ไข่ขาว = ข ตัวแรกคือที่อยู่ในหมวดอักษรสูง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงเอก และ ข ตัวที่สองคือที่อยู่ในหมวดอักษรสูง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงจัตวา
ฝากของ = ฝ ตัวแรกคือที่อยู่ในหมวดอักษรสูง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงจัตวา และ ข ตัวที่สองคือที่อยู่ในหมวดอักษรสูง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงจัตวา
สำหรับการใช้ อักษรสูง จะมีความซับซ้อนมากกว่าการใช้อักษรกลางเป็นอย่างมาก แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะจดจำไว้ให้ดี เพราะเป็นตัวอักษรเสียงสูงที่ถือว่ามีพยัญชนะไทยที่เยอะมาก ๆ และอย่างที่ได้กล่าวไปว่ามีส่วนสำคัญในการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนเป็นอย่างมาก ถ้าหากใช้ผิด ๆ ถูก ๆ การสื่อสารหรือการสื่อความหมายอาจผิดเพี้ยนไปได้ ดังนั้นก็เป็นอีกเรื่องที่ควรจะเรียนรู้ให้ดีในหมวดวิชาภาษาไทย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://119.46.166.126/digitalschool/p4/th4_1/lesson3/content2/more/01.php
- https://www.dekteen.com/สรุปไทย-อักษรสูง.html/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pexels.com/photo/thai-school-girls-in-uniforms-studying-by-desks-10643478/
- https://www.pexels.com/photo/school-boys-in-uniforms-studying-by-desks-10643474/
- https://www.pexels.com/photo/students-using-computers-10638067/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม