ในช่วงวัยที่กำลังเรียนอยู่นั้น การเรียนภาษาไทยนับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตัว อักษรสูง อักษรกลาง ตัวอักษรต่ำ ที่เป็นส่วนที่จะช่วยให้การอ่านวรรณยุกต์และการเขียนวรรณยุกต์ที่ถูกต้องได้โดยง่าย และสามารถใช้ภาษาไทยได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาอธิบายเกี่ยวกับ อักษรกลาง ว่าอักษรกลางมีอะไรบ้าง มีวิธีจำแบบไหน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
ตัว อักษรกลาง ในภาษาไทยมีอะไรบ้าง
สำหรับตัวอักษรจะประกอบไปด้วย : ก จ ด ต ฏ บ ป อ
เทคนิคในการจำตักอักษรระดับกลาง
วิธีการจำอย่างง่าย : ไก่ (ก) จิก (จ) เด็ก (ด) ตาย (ต , ฏ) บน (บ) ปาก (ป) โอ่ง (อ)
การผันวรรณยุกต์ด้วยตัว อักษรกลาง สามารถทำได้อย่างไร
สำหรับการผันวรรณยุกต์ของตัวอักษรชนิดนี้ ถือว่าเป็นอะไรที่จำง่ายที่สุด เพราะตัวอักษรที่เป็นคำเป็นจะสามารถออกเสียงได้ทั้งหมด 5 เสียง และคำตายจะสามารถออกเสียงได้ทั้งหมด 4 เสียง ซึ่งการที่จะอธิบายให้เข้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้นสามารถอ่านรายละเอียดตามด้านล่างนี้ได้เลย
คำเป็น คือ คำที่มีการออกเสียงสระยาว และคำที่มีการสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว (จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้) โดยหลักการผันวรรณยุกต์จึงสามารถออกได้ 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
คำตาย คือ คำที่มีการออกเสียงสระสั้น และคำที่มีการสะกดในแม่ กก กด กบ (จะเป็นเสียงสั้นหรือยาวก็ได้) โดยหลักการผันวรรณยุกต์จึงสามารถออกได้ 4 เสียง ได้แก่ เอก โท ตรี จัตวา โดยวรรณยุกต์เสียงเอก จะมีรูปวรรณยุกต์เป็นสามัญ
สำหรับ อักษรกลาง เมื่อเวลาผันออกเสียงตามวรรณยุกต์ก็จะออกเสียงตามนั้นและใช้วรรณยุกต์ตามนั้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของวรรณยุกต์ใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ ที่สามารถฝึกไล่ผันวรรณยุกต์ตามการอ่านได้เลย
ตัวอย่างการใช้ อักษรกลาง ในการผันวรรณยุกต์
ในส่วนนี้จะเป็นการมาแนะนำตัว อักษรกลาง ที่จะใช้ในการผันวรรณยุกต์ที่ต้องบอกว่าง่ายมาก ๆ ซึ่งในการจะรู้ว่าตัวไหนต้องใช้วรรณยุกต์ก็คือตัวอักษรของคำแรกนั้น ๆ หรือหากมีสระอยู่ด้านหน้าก็จะเป็นตัวอักษรตัวถัดไปนั่นเอง โดยตัวอย่างในการใช้งานมีดังต่อไปนี้
กินนอน = ก คือคำแรกของคำจะอยู่ในหมวดอักษรกลาง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงสามัญ
จานข้าว = จ คือคำแรกของคำจะอยู่ในหมวดอักษรกลาง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงสามัญ
เด้งดึ๋ง = ด ตัวแรกคือที่อยู่ในหมวดอักษรกลาง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงโท และ ด ตัวที่สองคือที่อยู่ในหมวดอักษรกลาง และมีการผันวรรณยุกต์ในรูปแบบเสียงจัตวา
ก็จบกันไปแล้วสำหรับการเรียนรู้ภาษาไทยในเรื่องของ อักษรกลาง ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เข้าใจภาษาไทยได้มากยิ่งขึ้น และถ้าหากจำได้ทั้ง อักษรสูง อักษรกลาง ตัวอักษรต่ำ ก็จะยิ่งเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล้วมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียน ล้วนเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้น สุดท้ายก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเรียนภาษาไทยอยู่ไม่มากก็น้อย
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
📘 อ้างอิงเนื้อหา (External links)
- https://sites.google.com/site/30piyadaphimpha/lesson/bth-thi-2
- https://www.dekteen.com/สรุปภาษาไทย-อักษรกลาง.html/
📕 อ้างอิงรูปภาพ
- https://www.pexels.com/photo/children-sitting-in-the-classroom-10646410/
- https://www.pexels.com/photo/close-up-shot-of-a-girl-in-school-uniform-10638081/
- https://www.pexels.com/photo/two-students-standing-on-a-basketball-court-10643683/
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม