สระในภาษาไทยมีมากมายหลายตัว แต่รู้หรือไม่ว่าการแยกเสียงของสระ แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว แล้วตัวไหนบ้างที่เป็นสระเสียงสั้น อ่านไปอ่านมาแล้วงงใช่หรือไม่ ? นนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของสระในภาษาไทยกันให้เกิดเข้าใจแจ่มแจ้งในบทความนี้เลย สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ สระมีกี่รูป มีกี่เสียง ใช้สระอย่างไร? วางสระในตำแหน่งไหน? ไปดูกันเลย
21 รูป 32 เสียงสระ ในภาษาไทย
ตามหลักการใช้สระในภาษาไทย สระ 21 รูปสามารถเข้ามาประกอบกันเป็นเสียงสระได้ 32 เสียง เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปลงออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกดขึ้นได้นั้น ก็จะตองอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำใหเกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก ริมฝปาก ปุมเหงือก ฟน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก กลองเสียง หลอดลม และปอดโดยสะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว จึงแบ่งสระตามอัตราเสียงเป็น 2 จำพวก ได้แก่
- สระเสียงสั้น หรือ รัสสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
- สระเสียงยาว หรือ ทีฆสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
เสียงสระในภาษาไทย แบ่งได้ 3 ชนิด ดังต่อไปนี้
- เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ – สระ
- ประสม มีจำนวน ๓ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
ข้อสังเกต แต่เดิม จะมี สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย
- เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี 21 เสียง 44 รูป
- เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี 5 เสียง
9 ตัวอย่างคำที่มีสระเสียงสั้น
สระเสียงสั้น หรือสามารที่จะเรียกอีกอย่างว่า รัสสระ คือสระที่ออกเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ มีทั้งหมด 18 สระ ดังนี้ อะ / อิ / อึ / อุ / เอะ / แอะ / โอะ / เอาะ / เออะ / เอียะ / เอือะ / อัวะ / ฤ / ฦ / อำ / ใอ / ไอ / เอา ลองไปดูกันว่าคำที่มีสระเสียงสั้นยกตัวอย่างคำใดได้บ้าง
- ผึ้ง หมายถึง ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มี ปีกบางใส 2 คู่ คู่แรกใหญ่กว่าคู่หลังเล็กน้อย ปากแบบกัดดูด ด้านข้างเป็นฟันกัด ตรงกลางเป็นงวงดูดน้ำหวาน ตามองเห็นสีต่าง ๆ ได้เกือบเหมือนคน ลำตัวปกคลุมด้วยขนละเอียด เป็นแมลงสังคมอยู่รวมกันเป็นฝูง
- กำไร หมายถึง ผลที่ได้มากกว่าต้นทุน ผลตอบแทนธุรกิจสร้างขึ้นมาได้ และ กำไรจะกลับคืนมาสู่ผู้ประกอบการธุรกิจผ่านการจ่ายเงิน “ปันผล” คืนแก่เจ้าของธุรกิจ
- วัด หมายถึง คำเรียกศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดพุทธมนต์ การทำสมาธิ
- แว่น หมายถึง สิ่งที่เป็นแผ่นมีขอบเขตเป็นวงกลม ๆ หรือ สิ่งที่ทำด้วยแก้วหรือวัสดุใสสำหรับสวมตา เพื่อช่วยแก้ไขสายตาให้มองเห็นชัดขึ้น หรือช่วยกันแดด
- โต๊ะ หมายถึง เครื่องเรือนมีขาตั้ง พื้นราบ ทำด้วยไม้พลาสติก หินอ่อน เป็นต้น รูปทรงต่างกันไปเช่น ทรงกลม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม เรียกชื่อตามประโยชน์ใช้สอย
- เงาะ หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกผลมีขนโค้งยาว เมื่อแก่สีเขียวเมื่อสุกสีออกแดง
- เคาะ หมายถึง ลักษณะของการใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่, ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู เคาะระฆัง
- ผมโก๊ะ หมายถึง ผมที่ไว้เป็นหย่อมหรือปอยคล้ายผมแกละ แต่ไม่ได้ถักเปียอย่างผมเปียเพียงแต่ผูกไว้ไม่ให้รุงรัง จนสร้างความรำคาญให้แก่เด็ก พิธีโกนจุก
- ค่ำ หมายถึง คำที่ใช้เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นค่ำหนึ่ง ขึ้น 2 ค่ำ เวลามืดตอนต้นของกลางคืน ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้นของกลางคืน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม