โวหารเป็นวิธีการเขียนเรียบเรียงข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง โวหารที่ใช้ในการเขียนเรียงความ ได้แก่ พรรณนาโวหาร บรรยายโวหาร อุปมาโวหาร เทศนาโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหารและอธิบายโวหาร และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบของโวหารประเภทพรรณนาโวหาร ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการเขียนพรรณนาโวหาร หมายถึง การเรียบเรียงข้อความโดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ บุคคล สิ่งของ ธรรมชาติสภาพแวดล้อม ตลอดจนความรู้สึกต่างๆของผู้เขียน โดยเน้น ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับผู้เขียน
ในรูปแบบของการเขียนประเภท พรรณนาโวหาร จริง ๆ แล้วมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ นั่นก็คือต้องการให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่บรรยายอย่างละเอียด ยิ่งผู้อ่านมีความเข้าใจในเนื้อหามากเท่าไร ก็จะยิ่งมองเห็นภาพ และเกิดความรู้สึกซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับเนื้อนั้น ๆ ทำให้ลักษณะงานของการเขียนพรรณนาโวหาร จึงมีความยาวมากกว่าบรรยายโวหารพอสมตวร ที่สำคัญรูปแบบการเขียนพรรณนาวหารมใช้การเล่นคำ เล่นเสียง สัมผัส ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะอ่านได้รสชาติเพื่อสร้างความซาบซึ้งในเนื้อความ
6 ประเภทของโวหารที่ควรรู้
- ประเภทบรรยายโวหาร เป็นลักษณะการโวหารที่ใช้บอกกล่าว และเล่าเรื่อง อธิบายต่าง ๆ รวมถึงบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่างถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งการบรรยายลักษณะนี้ จะชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ทำให้ผู้แ่านเกิดความเข้าใจได้มากขึ้น
- ประเภทอธิบายโวหาร เป็นโวหารที่เน้นการอธิบายเป็นหลัก ทำให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดความกระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้ในงานเขียนทางวิชาการ และเนื้อหาทางด้านตำรา วิชาต่าง ๆ ซึ่งจะมีจุดประสงค์ที่นำประเด็นสงสัย หรือข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ยังสรุปไม่ได้ มาอธิบายให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น การเล่าเรื่องบางตอนถ้ามีประเด็นใดที่เป็นปัญหาก็อาจใช้อธิบายโวหารเสริมความตอนนั้นจนเรื่องกระจ่างชัดเจนขึ้น บางท่านจึงถือว่าอธิบายโวหารเป็นส่วนหนึ่งของบรรยายโวหาร
- ประเภทพรรณนาโวหาร เป็นโวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราวของสถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่างละเอียด โดยมีการสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกลงไปเพื่อเป็นการโน้มน้าวใจของผู้อ่าน ทำให้ผู้รับสารมองเห็นภาพพจน์ และมีอารมณ์คล้อยตามไปกับเนื้อความที่ได้สัมผัส งานเขียนประเภทพรรณนาโวรหารนี้ ส่วนใหญ่จะจะใช้ในการพูดโน้มน้าว อารมณ์ของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการชมเมือง หรือการชมความงามของบุคคล รวมไปถึงกล่าวถึงสถานที่และแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ นั่นเอง
- ประเภทอุปมาโวหาร เป็นลักษณะโวหารที่ใช่้แสดงการเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายระหว่าง 2 สิ่ง หรือมากกว่านั้น งานประเภทนี้มักใช้ประกอบโวหารประเภทเทศนาโวหาร บรรยายโวหาร โดยเฉพาะพรรณนาโวหาร เพราะจะช่วยให้รสของถ้อยคำและรสของเนื้อความไพเราะสละสลวยยิ่งขึ้น เพราะมีการยกตัวอย่างทำให้เนื้อความมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเนื้อความนั้นจะมีลักษณะเป็นนามประธรรม หรือรูปประธรรมก็ตาม ลักษณะของการเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือน หรือคล้าย รวมถึงเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะตรงกันข้ามก็ได้ ถ้าววันนี้คุณกำลังมองหาลักษณะการเขียนบรรยายที่แสดงให้แห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ก็ต้องเลือกใช้งานเขียนประเภทอุปมาโวหารนี้เลย เพราะจะทำให้เนื้อความอ่านเข้าใจง่าย และผู้อ่านก็เกิดความซาบซึ้งได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
- ประเภทสาธกโวหาร เป็นลักษณะของคำโวหารที่มีการมุ่งเน้นแสดงถึงความชัดเจนของเนื้อความโดยการยกตัวอย่าง ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือยกเรื่องราวมาประกอบการอธิบายในเนื้อความนั้น ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระของลักษณะการเขียนประเภทนี้ จะเป็นการเพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆที่ได้กล่าวไปแล้ว ให้มีความชัดเจน หนักแน่น รวมถึงมีความสมเหตุสมผลกันมากขึ้นด้วย จึงทำให้ผู้รับสารเกิดเข้าใจเนื้อหา ในสิ่งที่พูดหรือเขียนอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน และมีความสมจริงด้วย ถ้างานเขียนประเภทนี้อยู่ในหมวดของงานวิจัย ก็จะทำให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นนั่นเอง แม้ว่าตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็นเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ช่วยส่งเสริมให้เนื้อหาทั้งหมดดูมีความสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ได้มีข้อกำหนดว่าลักษณะของงานเขียนประเภทนี้จะใช้ความสั้นยาวที่เท่าไร ยกตัวอย่างเช่น การเล่าเรื่องราวถึงประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตำนาน วรรณคดี เป็นต้น ซึ่งสาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ์ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรืออธิบายโวหาร จนทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้อย่างง่ายดาย
- ประเภทเทศนาโวหาร เป็นงานเขียนโวหารที่ได้มุ่งเน้นไปทางการโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับเนื้อหา แต่จะการกล่าวในเชิงบรรยายอบรม แนะนำสั่งสอน เสนอแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล หลักฐาน ข้อมูล ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและสัจธรรม ต่าง ๆ นำมาแสดงประกอบเนื้อความเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับเชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหารประเภทนี้มักใช้ ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน หรืออธิบายหลักธรรม และคำชี้แจงเหตุผล ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เข้าใจความหมายของ รูปแบบโวหารประเภท พรรณนาโวหารอย่างลึกซึ้ง
เนื้อหาบทความในวันนี้เป็นการสรุปความรู้ในเรื่องของประเภทงานเขียนชนิดโวหาร ลักษณะของพรรณนาโวหาร ซึ่งแน่นอนว่าถ้าคุณอยากที่จะสื่อสารงานเขียนประเภทพรรณนาโวหารออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็ต้องทำความเข้าใจในลักษณะและวิธีการเขียนบรรยายอย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญคุณยังต้องศึกษารายละเอียดว่าควรเขียนอย่างไรถึงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อความได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงเทคนิคในการเขียนที่ทำให้เนื้อความมีความไพเราะจับใจ ก็จะต้องใช้คำที่สละสลวย แต่ต้องไม่เข้าใจยากจนเกินไปด้วย
ถ้าคุณอยากรู้ว่าหลักการเขียนพรรณนาโวหาร ที่จะทำให้เนื้อคว่ำของคุณมีความสมบูรณ์สละสลวย และยังเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้อ่าน วันนี้เรามีหลักการเขียนพร้อมตัวอย่างที่จะมานำเสนอ เพื่อให้คุณได้มีแนวทางในการเขียนงานได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร พร้อมตัวอย่าง
- เลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
- ต้องมีใจความดี มุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
- ใช้อุปมาโวหารในการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
- อาจใช้สาธกโวหารประกอบในการยกตัวอย่าง มักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว จาก นิคม รายวา: คนบนต้นไม้
เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้ำฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซนเข้าจมูกวาบหวิว อยากให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่าจะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมันอย่างเลื่อนลอยทำไมมัน จึงเฉยเมยกับฉัน มันคงรู้แน่ ฉันอยากให้มันเป็นคนจริงๆ ฉันจะต้องกลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล ดวงอาทิตย์สีแดงเข้มกำลังคล้อยลงเหนือยอดไม้ทางทิศตะวันตก
ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง จาก โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
เสนาะเสียงแสนเศร้าดุเหว่าเอ๋ย ไฉนเลยครวญคร่าร่าอยู่ได้
หรือใครทำเจ็บช้ำระกำใจ จึงหวนไห้โหยอยู่มิรู้แล้ว
แวววาบปลาบสายฟ้า ผสานวาตะโชยชาย
เปล่าเปลี่ยวอยู่เดียวดาย วิเวกแว่วคะนึงใน
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม