ใคร ๆ ก็เคยเห็น ตัวการันต์ ใช่หรือไม่ ? แล้วรู้หรือไม่ว่าคำที่ใช้ตัวการันต์ คำไหนใช้ผิด และคำที่ถูกหลักเป็นอย่างไร วันนี้เราจะทุกคนมาทำความรู้จักกับคำไทย ที่ต้องใช้ตัวการันต์ที่ถูกต้องกัน พยัญชนะที่มีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับอยู่ ซึ่งตัวการันต์สามารถอยู่ระหว่างคำหรือท้ายของคำก็ได้ซึ่งเราจะไม่ออกเสียงพยัญชนะที่มีตัวการันต์ ศัพท์ที่มีตัวการันต์นั้น โดยมากมักจะมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต หรือมิฉะนั้นก็เป็นศัพท์ในภาษาตระกูลยุโรป ศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้ ในภาษาเดิมเขามักจะออกเสียงเป็นหลายพยางค์ แต่เมื่อเรานำมาใช้ในภาษาไทย โดยเหตุที่เราพูดช้ากว่าเขา เราจึงต้องการคำที่น้อยพยางค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้เอาพยางค์หลังมาเป็นตัวสะกดเสียบ้าง เป็นตัวการันต์เสียบ้าง ครั้นจะทิ้งตัวการันต์เสีย ก็เกรงว่าจะเสียรูปศัพท์เดิม อันจะเป็นเหตุให้ความหมายคลาดเคลื่อนไป
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคงต้องใช้การเขียนเพื่อการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของอีเมล์ บทความ ก็แล้วแต่ และหากคุณคือคนที่ต้องทำการเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นด้วยตัวเองแล้ว คุณคงพบกับอาการที่เขียนไม่แล้วไม่มั่นใจว่าการเขียนและภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเขียนนั้นดีพอแล้วหรือยัง นอกจากนี้ คุณเองก็คงเคยพบกับการที่การเขียนที่ไม่ว่าจะมาจากผู้จัดการ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งลูกน้องของคุณนั้นดูสั้น กระชับ ได้ใจความ และดูหน้าดึงดูดตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้อ่าน การใช้สะกดคำที่ถูกต้องจึงยังถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
ตัวการันต์ คือ อะไร
บางคนคิดว่า การันต์ เป็นอย่างเดียวกับ “ทัณฑฆาต” ความจริง “การันต์” หมายถึง ตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง ถ้าเป็นคำบาลีและสันสกฤต คำว่า “การันต์” หมายถึง เสียงที่อยู่พยางค์สุดท้ายของคำ เพราะคำว่า “การันต์” เกิดจากการนำคำว่า “การ” ซึ่งแปลว่า “ตัวอักษร” กับ “อันต” ซึ่งแปลว่า “ที่สุด” มาสนธิเข้าด้วยกัน เช่น คำว่า “ชายา” เป็นอาการันต์ เพราะพยางค์สุดท้ายลงเสียง อา “ราชินี” เป็น อีการันต์ คือคำลงท้ายด้วยเสียงอี ส่วนทัณฑฆาต หมายถึงเครื่องหมาย “ ์ ” ซึ่งใช้เขียนไว้บนตัวอักษร หรือตัวการันต์สำหรับบังคับไม่ให้ออกเสียง หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ “การันต์” หมายถึง ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ ตัวการันต์นี้เป็นพยัญชนะตัวเดียวก็มี เป็นอักษรควบหรือนำก็มีอักษร ๒ ตัว หรือ ๓ ตัว เรียงกันก็มี มีรูปสระกำกับอยู่ด้วยก็มี ถ้าหากเราไม่ต้องการออกเสียงคำใด ก็ใส่ไม้ทัณฑฆาตบนอักษรตัวนั้น เพื่อเป็นการฆ่าเสียง
ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงไร เราก็จะสังเกตุได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อนเวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วจะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้งไม่กำกวม เป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับฐานะของบุคคล
ข้อสังเกตุกรใช้ การันต์ ที่ควรรู้
- พยัญชนะตัวเดียว ถ้าไม่ต้องการให้เป็นตัวสะกด หรืออ่านเป็นอีกพยางค์หนึ่งแล้วก็นับว่าเป็นตัวการันต์ ซึ่งจำต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตลงไป เช่น “ต้นโพธิ์” การันต์ที่ตัว “ธิ” ก็อ่านว่า “ต้น-โพ” ถ้าต้องการออกเสียงเป็นตัวสะกด ก็ไม่ต้องมีไม้ทัณฑฆาต เช่น “อำเภอศรีมหาโพธิ” ก็อ่านว่า “อำ-เพอ-สี-มะ-หา-โพด”
- อักษรควบทั้งปวง ต้องนับว่าเป็นตัวสะกดทั้งคู่ เว้นแต่อักษรควบไม่แท้ ที่มีเสียงตัวหน้าอ่อน คือ ร ควบกับตัวอื่น ถ้าต้องการเอาตัว ร สะกดตัวเดียว เช่น ธรรม์ (ม การันต์) สรรค์ (ค การันต์) สรรพ์ (พ การันต์) ฯลฯ อย่างนี้ตัวหน้า คือตัว ร เป็นตัวสะกด ตัวหลังคือ ม ค พ เป็นตัวการันต์ อย่างนี้ต้องใส่ไม้ทัณฑฆาต
- อักษรนำทั้งปวง ตัวนำเป็นตัวสะกด ตัวตามหลังถ้าไม่เป็นพยางค์ต่อไป ต้องนับว่าเป็นตัวการันต์ เช่น ยักษ์ สัตว์ สงฆ์ อย่างนี้ ตัว ก ต ง เป็นตัวสะกด ตัวหลัง คือ ษ ว ฆ เป็นตัวการันต์
ลักษณะของคำที่มีตัวการันต์
- ตัวการันต์ที่อยู่ท้ายพยางค์ เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น
- สัตว์ อ่านว่า สัด
- มนุษย์ อ่านว่า มะ-นุด
- รถยนต์ อ่านว่า รด-ยน
- นารายณ์ อ่านว่า นา-ราย
- สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน
- ตัวการันต์ที่อยู่ท้ายพยางค์ เป็นพยัญชนะสองตัว เช่น
- จันทร์ อ่านว่า จัน
- ปัญหาเชาวน์ อ่านว่า ปัน-หา-เชา
- วิทยาศาสตร์ อ่านว่า วิด-ทะ-ยา-สาด
- สัญลักษณ์ อ่านว่า สัน-ยะ-ลัก
- ตัวการันต์ที่อยู่ท้ายพยางค์ เป็นทั้งพยัญชนะและสระ เช่น
- เกียรติศักดิ์ อ่านว่า เกียด-ติ-สัก
- บริสุทธิ์ อ่านว่า บอ-ริ-สุด
- เปรมปรีดิ์ อ่านว่า เปรม-ปรี
- กาฬสินธุ์ อ่านว่า กาน-ละ-สิน
- พืชพันธุ์ อ่านว่า พืด-พัน
- ตัวการันต์ที่อยู่กลางพยางค์ เช่น
- กอล์ฟ อ่านว่า กอฟ
- คอนเสิร์ต อ่านว่า คอน-เสิด
- ชอล์ก อ่านว่า ช้อก
- ฟอร์ม อ่านว่า ฟอม
- สาส์น อ่านว่า สาน
การติดต่อสื่อความหมายในสังคมให้เป็นที่เข้าใจกันด้วยการฟังผู้อื่นพูดบ้าง ให้ผู้อื่นฟังบ้าง อ่านสิ่งที่ผู้อื่นเขียน และเขียนบางสิ่งบางอย่างให้ผู้อื่นอ่านบ้าง นอกจากจะติดต่อกับบุคคลในสมัยเดียวกันแล้ว อาจติดต่อกับคนในอดีตหรืออนาคตได้ การติดต่อกับคนในอดีตคือ อ่านข้อความหรือเรื่องราวที่มีผู้เขียนไว้ในหนังสือ เอกสาร หลักฐานในสมัยต่าง ๆ ก็ทำให้มีโอกาสได้รับทราบ เข้าใจในความคิดของบุคคลนั้น ๆ แม้ว่าเขาจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ส่วนการติดต่อกับบุคคลในอนาคตนั้น คือ ติดต่อด้วยการเขียนหนังสือไว้ให้ชนรุ่นหลังอ่าน หรือบันทึกเสียงพูดไว้ให้ชนรุ่นหลังฟัง ดังนั้นควรที่จะใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้องตามหลักคำในภาษาไทย เพื่ออนุรักษ์ให้สืบต่อไปถึงคนรุ่นหลัง
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม