สังคมไทยในปัจจุบันมีคำเรียกเกี่ยวกับครูมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรือจ้าง หรือแม่พิมพ์ของชาติ แต่หน้าที่ หลักก็คือการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้มีความรู้ และสามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย ซึ่งหลักในการ ใช้ชีวิตจะต้องมีทั้งเนื้อหาในตำราและนอกตำรา ดังนั้นครูผู้สอนถือว่าเป็นคนสำคัญที่จะคอยชี้นำแนวทางในการใช้ ชีวิตให้กับลูกศิษย์ และสิ่งที่จะทำให้ลูกศิษย์ซึมซับมากที่สุด ก็คือการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ที่ดี ทั้งทางด้าน สติปัญญา และบุคลิกภาพ
ฉะนั้นผู้ที่ดำเนินอาชีพเป็นครูจึงต้องรู้จักที่จะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีการปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา รู้จักที่จะก้าวทันโลกทันเหตุการณ์ในปัจจุบันเสมอ เพื่อที่จะเข้าใจ ความรู้สึก และความต้องการของผู้เรียนได้อย่างลึกซึ้ง และเป็นแบบอย่างสมบูรณ์แบบของลูกศิษย์ครูที่ดีไม่ใช่เพียง สอนดี สอนเก่ง หรือสอนให้ลูกศิษย์เข้าใจ แต่ครูเป็นผู้ให้ และชี้แนะให้ลูกศิษย์ได้เติมโตเป็นคนดีของสังคม
จรรยาบรรณสำคัญของคนเป็นครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครูคือกฎแห่งความประพฤติสา หรับสมาชิกวิชาชีพครูซึ่งองค์กรวิชาชีพ ครูเป็นผกู้า หนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่มีวิถีทางแห่งปัญญาในการบริการ มีเสรีภาพทางวิชาการและ ได้รับการยกย่องจากสังคมทั่วไป เช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่น ๆ เช่น แพทย์วิศวกร ทนายความ สถาปนิก วิชาชีพเหล่านี้ ต่างก็ต้องมีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ เช่นกัน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง และเกิดประโชน์สูงสุดนั่นเอง
และเป็นการสร้างความเชื่อถือให้เกิดในวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้าน วิชาชีพบุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่ โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ครูต้องประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ ครูต้องไม่กระทำตน เป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกายสติปัญญา จิตใจอารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจ และเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์ จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นใน ระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคี ในหมู่คณะ
- จรรยาบรรณต่อสังคม : ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่นใน การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
คุณลักษณะของการเป็นครูที่ดี
ในปัจจุบันนี้มีแนวคิดและทัศนคติเกี่ยวกับครูมากมาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของครูที่ดีตามคำสอนใน พระพุทธศาสนา คือการทำตัวเป็นที่รักต่อศิษย์และบุคคลทั่วไป การที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้ ก็ควรตั้งตนอยู่ใน พรหมวิหาร 4 มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา หรือลักษณะของครูที่ดีตาม แนวความคิดแบบการศึกษาตะวันตก คือ ครูจะต้องพัฒนาและสามารถความเชื่อมั่นในตนเองโดยการสั่งสม ประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสอนให้มากที่สุด และครูจะต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองสอน
รวมไปถึงลักษณะของการเป็นครูตามผลวิจัยในยุคปัจจุบัน เช่นการเป็นครูที่ความเข้าใจเด็ก และเอาใจใส่ ความรู้สึกของเด็ก รวมเป็นถึงการหมั่นเพิ่มเติมความรู้ทางด้านวิชาการ และความรู้รอบตัวอยู่เสมอ ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแต่มุ่งเน้นพัฒนาให้ครูมีทั้งบุคลิกภาพและจิตใจที่ดี เพื่อเป็นผู้ชี้นำแบบอย่างให้กับลูกศิษย์ คุณลักษณะของครู ที่ดีนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องมีความตั้งใจและความมุ่งมั่นเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครูทุกคนสามารถฝึกฝนและปรับปรุงตนเองให้เป็นครูที่ดีได้ด้วยความพากเพียรและ สม่ำเสมอ
มาดูกันว่า 4 ปัจจัยของการพัฒนาบุคลิกภาพครูผู้สอนมีอะไรบ้าง
สำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของครูผู้สอนมีอยู่ 4 ปัจจัยที่เป็นหลักสำคัญ นั่นก็คือปัจจัยทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญานั่นเอง โดยบุคลิกภาพหมายถึงลักษณะส่วนรวมของพฤติกรรมแต่ละบุคคลในด้าน ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานหรือการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งครูถือว่าเป็นบุคคลต้นแบบจึงควร ที่จะวางตัวให้เหมาะสม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี บุคลิกภาพที่ดีของครูทางกาย ครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพเป็นปกติและน่าศรัทธา น่านับถือ
ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย ได้แก่
1) รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม สวมใสเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่าง เพศ วัย และ ผิวพรรณ
2) มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ร่างกายสะอาด ผิวพรรณสดใส ใบหน้าแจ่มใส
3) มีการแสดงออกทางวาจา การพูดด้วยน้ำเสียงที่แฝงด้านเมตตา ปรารถนาดี นุ่มนวล การพูดด้วยลีลาที่ เหมาะสม
4) ควรมีพฤติกรรมให้เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่ คุณวุฒิและวัยวุฒิของตน
บุคลิกภาพที่ดีของครูด้านอารมณ์
การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นทางสี หน้า แววตา ท่าทาง และวาจาให้ผู้เรียนได้รับรู้ได้ดังนั้นครูควรที่จะจัดการควบคุมอารมณ์ได้ดีมีความกระตือรือร้น ที่จะรับรู้หรือถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
บุคลิกภาพที่ดีของครูด้านสังคม
ในด้านของสังคม หมายถึงบุคลิกภาพที่แสดงออกให้ผู้อื่นพบเห็นได้ในสังคม การเข้าวางตัวให้เหมาะสมเมื่ออยู่ ในที่สาธารณะถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น
1) การวางตัวให้ความเป็นผู้นำ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ชุมชน และสังคม
2) ความมีระเบียบวินัย สำรวมระวังความประพฤติตนอยู่ในระเบียบแบบแผน เพื่อแบบอย่างที่ดี
3) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
บุคลิกภาพที่ดีของครูด้านสติปัญญา
ครูควรที่จะมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สติปัญญาในการสอน หรือการแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ควรมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม มีการตัดสินใจที่ดีเด็ดขาด ด้วยการยึดหลักเหตุผลและความถูกต้องเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย
ครู คือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตา ครูย่อมอยู่ในฐานะของผู้ให้มิใช่ผู้รับ มือของครูจึงเป็นมือบน มิใช่มือ ล่าง เป็นมือที่ประเสริฐและมีเกียรติ ครู มิใช่เป็นผู้เติมเต็มเฉพาะความรู้เท่านั้นแต่ครูจะต้องเติมเต็มประสบการณ์ ให้แก่ศิษย์ด้วย ประสบการณ์ที่ครูถ่ายทอดให้แก่ศิษย์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และอาจมากกว่าความรู้ด้วยซ้ำไป ครูจึงไม่ควรหวงประสบการณ์ แต่ควรเติมในส่วนที่ศิษย์ยังขาดอยู่ และศิษย์ก็มีส่วนช่วยเติมในส่วนที่ครูขาดอยู่ เช่นเดียวกัน “ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย”
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม