ลักษณะของคำในภาษาไทยจะมีลักษณธที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช้งานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ในการสื่อสารทั้งภาพูดและภาษาเขียนล้วนแต่ต้องใช้คำทั้งนั้น ซึ่งชนิดของคำในภาษาไทยได้แบ่งออกเป็น 7 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ซึ่งคำทั้ง 7 ชนิดนี้ จะทำหน้าที่ต่างๆ ในประโยค เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง ชัดเจน คำบางคำมีหลายความหมาย และสามารถทำได้หลายหน้าที่ การที่จะรู้ความหมายที่ถูกต้องได้ต้องดูที่หน้าที่ของคำนั้นในประโยค ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องของคำสรรพนาม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้
ความหมายและลักษณะของคำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เป็นคำที่เราใช้เรียกแทนคำนาม อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เพื่อเป็นการเลี่ยงการใช้คำนามเดิม ๆ ซ้ำอีก ทำให้เนื้อความมีความสละสลวยยิ่งขึ้น เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร ใคร บ้าง เป็นต้น
การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจหน้าที่และชนิดของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการในการใช้ภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าคำไนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค
ชนิดของคำสรรพนาม
คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด ดังนี้
1. บุรษสรรพนาม คือ คำ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด แบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ
- สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ผม ฉัน ดิฉัน กระผม ข้าพเจ้า กู เรา ข้าพระพุทธเจ้า อาตมา หม่อมฉัน เกล้ากระหม่อม
- สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้ที่เราพูดด้วย เช่น คุณ เธอ ใต้เท้า ท่าน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฝ่าพระบาท พระคุณเจ้า
- สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เขา มัน ท่าน พระองค์
2. ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้
- บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงิน 100 บาท
- ผู้หญิงที่อยู่ในบ้านนั้นเป็นย่าของผม
- ไม้บรรทัดอันวางบนโต๊ะเป็นของเธอ
3. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น
- นี่เป็นกระเป๋าใบที่เธอให้ฉัน
- โน่นเป็นเทือกเขาถนนธงชัย
- นี่เป็นของเธอ นี้เป็นของฉัน
4. อนิยมสรรนาม คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ไหน ได บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ
- ใครจะไปกับคุณพ่อก็ได้
- ผู้ใดเป็นคนชั่ว เราก็ไม่ไปคบค้าสมาคมด้วย
- ไหนๆก็นอนได้
5. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น
– นักเรียน”บ้าง”เรียน”บ้าง”เล่น
– นักเรียน”ต่าง”ก็อ่านหนังสือ
- นักกีฬาต่างดีใจที่ได้ชัยชนะ
- เด็กนักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือ บ้างก็ร้องเพลง
- พี่น้องคุยกัน
6. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ไหน ผู้ใด สิ่งใด ผู้ใด ฯลฯ เช่น
– “ใคร” ทำแก้วแตก
– เขาไปที่ “ไหน”
หน้าที่ของคำสรรพนาม ในประโยคภาษาไทย มี 3 ประการ
- เป็นประธานของประโยค เช่น
– “เขา”ไปโรงเรียน
– “ใคร”ทำดินสอตกอยู่บนพื้น
- ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ) เช่น
– ครูจะตี”เธอ”ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน
– คุณช่วยเอา”นี่”ไปเก็บได้ไหม
- ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์ เช่น
– กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ”เขา”นั่นเอง
– เขาเป็น”ใคร”
๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน เช่น
– ครูชมเชยนักเรียน”ที่”ขยัน
๕. ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม เช่น ฉันแวะไปเยี่ยมคุณปู่”ท่าน”มา
ความสำคัญของการเรียนรู้ ชนิดคำในภาษาไทย
ความสำคัญของการเรียนรู้ คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการใช้งานที่ถูกต้อง คำแต่ละคำมีความหมาย ความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจหน้าที่และชนิดของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ในการใช้ภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าคำไนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค ยิ่งเรามีความเข้าใจมาก การใช้งานก็จะถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนั่นเอง หวังว่าเนื้อหาความรู้ที่เราได้สรุป รวบรวมมาให้ในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่กำลังศึกษาเรื่องราวของ คำสรรพนาม หนึ่งในชนิดของคำในภาษาไทยที่มีความสำคัญไม่แพ้คำอื่น ๆ
📚 อ้างอิง (Reference Sites)
📙 บทความที่เกี่ยวข้อง (Internal Resources)
เรียบเรียงและจัดทำโดย ข้าวตังดอทคอม